กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ยังตั้งครรภ์ได้ไหม

รู้และเข้าใจเหตุผลทั้งดีและไม่ดีเมื่อมีเพศสัมพันธ์ขณะตั้งครรภ์
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 11 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ยังตั้งครรภ์ได้ไหม

คำถามสุดฮิตและเป็นสิ่งที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่อาจจะต้องเจอเหตุการณ์เหล่านี้แน่นอน เพราะตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ที่ยาวนานถึง 9 เดือนนั้น เชื่อได้ว่าสามีตัวดีนั้นคงจะต้องมีวันที่อยากจะกุ๊กกิ๊กกับภรรยาแน่นอน แต่คำถามที่ค้างคาใจกันมานานก็คือว่า แล้วถ้ามีเพศสัมพันธ์กันในช่วงที่ฝ่ายหญิงกำลังตั้งครรภ์อยู่ จะอันตรายหรือส่งผลอะไรต่อทารกในครรภ์หรือเปล่า วันนี้มาไขข้อข้องใจกัน

ในช่วงตั้งครรภ์นั้น ฝ่ายคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะมีน้ำมีนวลมากขึ้น เต้านมจะขยายใหญ่ขึ้น นอกจากนั้นยังมีความรู้สึกที่ไวขึ้นกว่าปกติ นั้นทำให้ผู้หญิงหลายคนถึงจุดสุดยอดได้บ่อยกว่าตอนที่ยังไม่ตั้งครรภ์ด้วย นอกจากนั้นหากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ได้ถึงจุดสุดยอด สารแห่งความสุขจะส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ ทำให้ทารกในครรภ์มีความสุขไปด้วย ทั้งนี้อย่าไปกังวลแทนว่าทารกในครรภ์จะรู้สึกไม่ดีที่พ่อมามีเพศสัมพันธ์กับแม่ เพราะทารกในครรภ์ยังไม่สามารถแยกแยะได้หรอก แต่ทารกจะสามารถรับรู้ความรู้สึกที่แม่รู้สึกได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ทั้งนี้ก็มีคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อีกหลายรายที่กลับมีความรู้สึกไม่สบายตัว และไม่ค่อยมีความรู้สึกถึงการอยากมีเพศสัมพันธ์นัก แต่ก็มีอีกหลายรายที่ฝ่ายหญิงนั้นกลับเปลี่ยนแปลงและมีความรู้สึกต่อการมีเพศสัมพันธ์มากขึ้น แต่บางคนกลับต้องการน้อยลง

แต่โดยทั่วไปแล้ว ร้อยละ 54 ของหญิงที่กำลังตั้งครรภ์จะมีความต้องการทางเพศน้อยลงในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากจะรู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาจมีการแพ้ท้อง ตึงคัดเต้านม เป็นต้น อาการเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนภายในร่างกาย แต่เมื่อหลังจากเดือนที่ 3 ไปแล้ว ความรู้สึกทางเพศจะดีขึ้นเป็นลำดับ

หลายคนสงสัยว่าในช่วงที่ตั้งครรภ์นั้นสามีและภรรยายังคงสามารถมีเพศสัมพันธ์กันเหมือนเดิมได้มั้ย ในทางการแพทย์ยังคงสนับสนุนให้ทำได้ตามปกติ แต่มีข้อห้ามสำหรับคนเพียงบางกลุ่มที่มีภาวะเสี่ยงสูง หรือบางกรณีแพทย์อาจจะต้องห้ามไม่ให้มีเพศสัมพันธ์ตลอดการตั้งครรภ์เลย หรือบางคนอาจแค่ถูกห้ามไม่ให้ถึงจุดสุดยอดหรือห้ามสอดใส่อวัยวะเพศชาย เป็นต้น ซึ่งจะห้ามแบบไหนนั้นก็แล้วแต่กรณีไป ดังนั้นคู่สมรสจะต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้ว่าควรจะปฏิบัติตัวเองอย่างไร

แล้วคุณหมอที่ดูแลครรภ์จะสั่งงดการมีเพศสัมพันธ์กรณีใดบ้าง

  • มีเลือดออกทางช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • มีประวัติเคยแท้งบุตรมาก่อน โดยจะงดเพียงแค่ช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์
  • มีประวัติเคยคลอดก่อนกำหนด โดยจะงดเพียง 8 - 12 สัปดาห์สุดท้ายก่อนถึงกำหนดคลอด
  • มีการรั่วหรือแตกของถุงน้ำคร่ำ
  • การตั้งครรภ์ที่มีรกต่ำ ใกล้ปากมดลูก การมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้มีเลือดออกและรกลอกตัวได้
  • การตั้งครรภ์แฝด ควรงดเว้นมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนถึงกำหนดคลอด

การจะมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่คุณแม่กำลังตั้งครรภ์นั้น ควรที่จะเลือกใช้ท่าที่ไม่เกิดการกระทบกระเทือนในส่วนของท้อง โดยอาจจะเลือกใช้ท่านอนตะแคงด้านข้าง ไม่ควรใช้ท่าที่อาจเกิดแรงกดหรือกระแทกที่ท้องโดยตรง

อย่างไรก็ตามหากไม่มั่นใจว่าคู่นอนปราศจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ก็ควรใช้ถุงยางทุกครั้ง เนื่องจากหากติดโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น เชื้อHIV หูด เริม อาจส่งผลต่อทารกได้


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Sex during pregnancy (https://www.babycentre.co.uk/s...)
Sex During and After Pregnancy (https://www.webmd.com/baby/gui...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม