คำถาม: การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำนั้นส่งผลต่อระดับคอเลสเตอรอลและไขมันในเลือดอย่างไร?
คำตอบ: โดยทั่วไปแล้วอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำนั้นจะช่วยทำให้ค่าไขมันในเลือดดีขึ้น โดยเฉพาะ
Triglycerides
Triglycerides เป็นไขมันประเภทหนึ่งที่สะสมในร่างกาย (ไขมันในร่างกายส่วนมากมาจาก triglycerides) เมื่อเราพูดถึงระดับ triglycerides ของแต่ละคน เราก็มักจะหมายถึงระดับ triglycerides ที่พบอยู่ในกระแสเลือดเมื่อทำการทดสอบ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การมีระดับ triglycerides ในเลือดสูงนั้นเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคเส้นเลือดสมองอุดตัน ภาวะที่มี triglycerides ในเลือดสูงเรียกว่า hypertriglyceridemia
มีการศึกษาหลายชิ้นที่พบว่าอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำนั้นจะทำให้ระดับ triglycerides ที่สูงนั้นลดต่ำลงได้ ในความจริงแล้ว ผลนี้ค่อนข้างคงที่และลดลงอย่างเห็นได้ชัด ปรากฏการณ์ที่ triglycerides ในเลือดลดลงนี้จัดว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ และมีแพทย์หลายคนที่แนะนำให้ลดการรับประทานคาร์โบไฮเดรตเป็นอย่างแรกเมื่อต้องการป้องกันภาวะ triglycerides ในเลือดสูง นอกจากนั้นแพทย์บางคนยังมีการแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารสูตรที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำและติดตามด้วยการตรวจ triglycerides ในเลือดเพื่อดูว่าพวกเขารับประทานอาหารตามนั้นอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
High Density Lipoprotein Cholesterol (HDL) – “คอเลสเตอรอลชนิดดี”
HDL cholesterol นั้นเป็นปัจจัยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ และหากมีระดับต่ำจะกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจแทน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า HDL cholesterol นี้จะช่วยนำคอเลสเตอรอลกลับไปที่ตับเพื่อย่อยสลาย
นอกจากนั้นยังมีหลักฐานว่าบางส่วนของ HDL cholesterol นั้นยังมีส่วนในปฏิกิริยาตอบสนองเบื้องต้นของร่างกายเมื่อเกิดอันตรายหรือการเจ็บป่วยขึ้นกะทันหัน และผู้ที่มีระดับ HDL cholesterol สูงนั้นจะมีการฟื้นตัวที่ดีขึ้น
อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำนั้นมักจะเพิ่มระดับ HDL cholesterol ดังนั้นนี่จึงเป็นสิ่งที่ดี
Low Density Lipoprotein Cholesterol (LDL) – คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี
สำหรับ LDL cholesterol นั้นเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ แม้ว่ายังคงมีข้อถกเถียงในปัจจุบันก็ตาม
ขนมปัง "ไร้แป้ง ไร้น้ำตาล อิ่มนาน ไปรตีนสูง" อยากคุมน้ำหนัก แบบไม่อด ต้องลอง พร้อมโปร 5 ฟรี 1
ซื้อผ่าน HD ประหยัดกว่า / ราคาพิเศษสำหรับ นศ. / ผ่อน 0% / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!
ความสัมพันธ์ระหว่างการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำกับ LDL cholesterol นั้นซับซ้อนมากกว่า triglycerides และ HDL cholesterol มีการศึกษาบางชิ้นที่พบว่าการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำนั้นจะช่วยลดระดับ LDL cholesterol ในขณะที่บางการศึกษาพบว่าค่านี้ไม่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มขึ้นได้ แต่สิ่งหนึ่งที่การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตทำก็คือมันทำให้ปริมาณของคอเลสเตอรอลเกิดการเปลี่ยนแปลง
แล้วขนาดของคอเลสเตอรอลนั้นเกี่ยวอะไรด้วย ?
มีหลักฐานที่พบว่าขนาดของ คอเลสเตอรอลนั้นมีความเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โดยพื้นฐานแล้วยิ่งขนาดอนุภาพนี้เล็กลงมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงมากขึ้นเท่านั้น เชื่อว่าการที่ขนาดอนุภาคเล็กลงอาจจะทำให้สะสมในผนังหลอดเลือดได้ง่ายขึ้น
ข่าวดีก็คือมีการศึกษาที่พบว่าการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำนั้นจะช่วยทำให้ขนาดอนุภาคของ คอเลสเตอรอลนั้นใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ตาม ขนาดอนุภาคที่ใหญ่ขึ้นจะทำให้น้ำหนักของอนุภาคมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้นการที่ระดับ LDL cholesterol เพิ่มขึ้นระหว่างที่รับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำนั้นอาจเกิดจากคอเลสเตอรอลที่มีอนุภาคใหญ่เหล่านี้เนื่องจากวัดค่าโดยการวัดน้ำหนัก
(ตัวอย่างเช่น การบอกว่ามีค่าคอเลสเตอรอลรวมเท่ากับ 200 นั้นหมายถึง 200 mg/dl)
ในอีกด้านหนึ่งนั้น การรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำอาจจะเพิ่มอนุภาคคอเลสเตอรอลขนาดเล็กในบางคน ดังนั้นจึงทำให้ค่า LDL cholesterol นั้นต่ำลง (อนุภาคมีขนาดเล็กลง ค่าที่วัดได้จึงเบาขึ้น) ดังนั้น แม้ว่าค่านี้อาจจะลดลงแต่ก็อาจหมายความว่าคนกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้
วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับความเสี่ยงเหล่านี้คืออะไร ? ขนาดของ LDL cholesterol นั้นมีความเกี่ยวข้องกับระดับ triglyceride (การมีระดับ triglycerides สูงนั้นสัมพันธ์กับขนาดคอเลสเตอรอลที่เล็ก) ดังนั้นหากระดับ triglyceride ของคุณต่ำ แสดงว่าขนาดของ LDL cholesterol ของคุณนั้นน่าจะใหญ่
โดยสรุป
การลดคาร์โบไฮเดรตในอาหารนั้นให้ผลรวมในแง่บวกสำหรับค่า HDL, LDL และ triglycerides อย่างไรก็ตามยังมีหลายเหตุผลที่ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลสูงในแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเกิดจากความแตกต่างในแต่ละคน พันธุกรรมอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าไขมันในเลือดและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ