การใช้ชีวิตหลังเป็นโรคมะเร็ง

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การใช้ชีวิตหลังเป็นโรคมะเร็ง

การเริ่มต้นฟื้นฟูร่างกาย

เมื่อคุณเริ่มไปโรงพยาบาลน้อยครั้งลงและเริ่มฟื้นตัวจากผลข้างเคียงของการรักษาโรคมะเร็ง คุณอาจเริ่มรู้สึกโล่งใจและมีความหวังมากขึ้น ในช่วงแรกของการฟื้นฟูคุณอาจจำเป็นต้องค่อยๆ เริ่มทำกิจกรรมต่าง ๆ และในการเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ ที่คุณทำก่อนการรักษาโรคมะเร็งอาจช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้

เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าการป่วยเป็นโรคมะเร็งจะทำให้คุณรู้สึกไม่แน่ใจเกี่ยวกับอนาคตของตัวคุณเอง และเป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกแบบนี้ต่อเนื่องไปแม้ว่าจะรักษาโรคมะเร็งสิ้นสุดลงแล้ว การพยายามควบคุมบางสิ่งบางอย่างที่คุณสามารถทำได้จะช่วยในเรื่องของความรู้สึกดังกล่าวได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

ความรู้สึกอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่ การรู้สึกแยกตัว หรือความเหงาโดดเดี่ยว, การสูญเสียความมั่นใจ หรือความโกรธ คุณอาจพบว่าคุณมีอาการต่างๆ เหล่านี้ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน และในบางวันคุณอาจรู้สึกว่าคุณแข็งแกร่งมากกว่าคนอื่น ๆ ก็ได้

การพูดคุยถึงความรู้สึกของคุณกับคนใกล้ชิดจะทำให้คุณสามารถรับมือกับสภาวะทางอารมณ์ดังกล่าวได้ง่ายมากขึ้น

การเริ่มกลับสู่สภาวะปกติ

ช่วงเวลาภายหลังการรักษาสิ้นสุดลงมักเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลง ในช่วงนี้คุณอาจค้นพบการเปลี่ยนแปลงซึ่งเป็นสิ่งใหม่สำหรับคุณ ให้เวลากับตัวคุณเองที่จะค้นพบและปรับตัวกับสิ่งเหล่านี้ คุณจะพบการเปลี่ยนแปลงบางอย่างทั้งสิ่งที่คุณสามารถทำได้ และสิ่งที่คุณไม่สามารถทำได้

สิ่งต่อไปนี้สามารถช่วยให้คุณกลับสู่สภาวะปกติได้:

  • ก้าวต่อไปข้างหน้า คุณสามารถใช้พลังงานของคุณไปกับการทำกิจกรรมที่คุณต้องการทำและเป็นสิ่งสำคัญสำหรับตัวคุณ
  • บอกครอบครัวและเพื่อนของคุณว่าพวกเขาสามารถช่วยเหลือคุณได้อย่างไรบ้าง
  • พยายามรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเพื่อช่วยในการฟื้นตัว
  • ใช้ความคิดเกี่ยวกับวิธีในการลดความเครียดลง
  • รักษาสมดุลของการพักผ่อนและทำงานร่างกายให้กระฉับกระเฉง – การนอนหรือนั่งนานเกินไปจะทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลียกว่าปกติ
  • พูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวคุณ และหากคุณต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติม โปรดติดต่อกลุ่มสนับสนุนหรือปรึกษาแพทย์หรือทีมแพทย์ที่ดูแลคุณ ซึ่งพวกเขาสามารถส่งต่อคุณไปพบผู้ที่สามารถให้การช่วยเหลือกับคุณได้

การจะกลับไปทำกิจกรรมประจำวันได้รวดเร็วเพียงใดขึ้นกับชนิดของโรคมะเร็งที่เป็น, ชนิดของการรักษาที่ได้รับ และขึ้นกับสภาวะทางสุขภาพโดยรวมของตัวคุณเอง

ระหว่างการฟื้นฟูร่างกาย อย่ารีบร้อน ค่อยๆ ดูการฟื้นตัวตามเป้าหมายแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งคุณสามารถจัดการและค่อยๆ ทำได้ ตัวอย่างเช่น เป้าหมายในระยะแรกคือการเดินเป็นระยะทางสั้นๆ หลายๆ วันต่อสัปดาห์ หรือพยายามรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพหลายๆ วันต่อสัปดาห์ เป็นต้น และการทำตามเป้าหมายควรยืดหยุ่นได้ ในการตั้งเป้าหมายไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายใหญ่หรือเป้าหมายเล็ก หากคุณสามารถทำตามเป้าหมายนั้นได้ จะช่วยให้คุณเห็นประโยชน์ที่แตกต่างกันไป และทำให้คุณรู้สึกควบคุมตัวเองได้มากยิ่งขึ้นอีกด้วย

เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะพบว่าตัวเองเริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามกิจวัตรประจำวันได้แล้ว สำหรับสิ่งอื่นๆ ที่เกิดขึ้นรวมถึงโรคมะเร็งจะเป็นสิ่งที่คุณให้ความสนใจน้อยลง คุณอาจออกจากบ้านไปพบเพื่อนฝูงได้มากขึ้น, ไปเที่ยวพักผ่อน, กลับไปออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมที่ชอบ หรือกลับไปทำงานได้ดังเดิม

ประสบการณ์เกี่ยวกับการเป็นโรคมะเร็งอาจเปลี่ยนวิถีชีวิตของคุณ หรือคุณอาจต้องคิดถึงสิ่งที่แตกต่างจากสิ่งที่เคยทำมาก่อน บางคนตัดสินใจว่าอะไรสำคัญสำหรับพวกเขา และจัดลำดับความสำคัญเสียใหม่ คุณอาจพบสิ่งที่คุณสนใจใหม่ มีการเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตเพื่อให้สุขภาพโดยรวมในระยะยาวดีขึ้นหรือทำให้ชีวิตเครียดน้อยลง

เวลาภายหลังการรักษาโรคมะเร็งคือช่วงเวลาที่ดีในการกลับไปควบคุมชีวิตได้ดังเดิม และการคิดถึงสถานที่ที่คุณอยากไปในอนาคตต่อจากนี้


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Life After Cancer. Harvard Health. (https://www.health.harvard.edu/cancer/life-after-cancer)
Life after cancer: Tips for finding your new normal. NIH MedlinePlus Magazine. (https://magazine.medlineplus.gov/article/life-after-cancer-tips-for-finding-your-new-normal)
Cancer Survivors: Life After Cancertwitter. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/cancer/survivors/life-after-cancer/index.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง
5 หนังสือทำอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็ง

การทำอาหารง่าย ๆ ที่มีโภชนาการที่เหมาะสมระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง

อ่านเพิ่ม
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง
การต่อต้านภัยมะเร็ง มีสีอะไรบ้าง และแต่ละเดือนมีอะไรบ้าง

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการซื้อสินค้าเพื่อการต่อต้านภัยมะเร็ง

อ่านเพิ่ม