สาระน่ารู้จากการตรวจเลือด
วัตถุประสงค์
เพื่อจะทราบว่าเมื่อผิวหนังของร่างกายเกิดบาดแผลจนมีเลือดไหลออกมาจะใช้เวลานานกี่นาทีเลือดจึงจะสร้างลิ่มเลือดจนทำให้หยุดไหล
คำอธิบายอย่างสรุป
1. Bleeding Time ได้จากการทดสอบง่ายง่ายแต่ผู้ทำการทดสอบต้องเป็นผู้ทำงานในสายการแพทย์หรือการพยาบาลเท่านั้น โดยกรรมวิธีในการทดสอบอาจกระทำดังนี้
ก. ผู้ถูกทดสอบจะต้องถูก 1000 แขนด้วยแผ่นยางอัดลม (ที่ใช้วัดความดันเลือด) ณ บริเวณท่อนแขนส่วนบนตรงที่ใช้วัดความดันเลือดแล้วอัดลม จนมีความดันขึ้นไปที่ 40 มิลลิเมตรปรอท
ข. ภายหลังจากนั้นจึงเรื่อง. บริเวณที่จะเจาะเลือดที่แขน ท่อนล่างโดยทำความสะอาดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคให้แน่ใจว่าแขนปลอดเชื้อเสียก่อน
ค. ใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็กจอดลงใต้ผิวหนังลึกประมาณ 1 มิลลิเมตรเมื่อเลือดไหลจึงเริ่มจับเวลาพร้อมกับผ่อนลมแผ่นยางรัด
ง. เมื่อเลื่อนไหลออกจากผิวหนังก็ให้เช็ดด้วยผ้าหรือกระดาษกรองซับเลือดที่ปราศจากเชื้อโรคทุกๆ 30 วินาทีจนกว่าผ้าหรือกระดาษซับไม่ติดเลือดซึ่งแสดงว่าเลือดหยุดไหล
จ. เมื่อเลือดหยุดไหลเมื่อใดก็ตรวจดู เวลาว่าผ่านไปเป็นเวลากี่นาทีนับตั้งแต่ได้เริ่มจับเวลา
ฉ. จำเป็นต้องใช้เข็มเจาะกระทำซ้ำอีกหนึ่งแห่งเพื่อจับเวลาอย่างเดียวกัน
ช. นำเวลาที่เป็นนาทีทั้งสองครั้งมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยทั้งนี้เวลาตามผลลัพธ์ที่คำนวณได้คือ Bleeding Time
2. สรุปว่า Bleeding Time คือช่วงเวลาที่เลื่อนเริ่มไหลจากการถูกเจาะผิวหนังด้วยวิธีมาตรฐานจนกว่าจะหยุดไหลเอง
3. องค์ประกอบที่จะทำให้เลือดหยุดไหลก็คือ จำนวนหรือค่าของเกล็ดเลือดในระดับปกติ
ค่าปกติ
1. ให้ยึดถือตามข้าที่ระบุไว้ในใบรายงานแสดงผลเลือด (ถ้ามี)
2. ค่าปกติทั่วไป
Bleeding Time : 3 – 6 min |
1. ในทางน้อย อาจแสดงผลว่า ร่างกายมีเกล็ดเลือดมากเกินไป
2. ในทางมาก อาจแสดงผลว่า
ก. ร่างกายมีเกล็ดเลือดต่ำเกินไป (thrombocytopenia)
ข. อาจขาดวิตามินซี
ค. ไขกระดูกอาจทำงานบกพร่อง ทำให้ผลิตเกล็ดเลือดออกในเกณฑ์ต่ำเกินไป
ง. อาจกำลังเกิดโรคมะเร็งในไขกระดูก
ฉ. อาจเกิดสภาวะม้ามทำงานเกิน (hypersplenism) หรือม้ามโตจึงทำลายเกล็ดเลือดมากกว่าปกติ
ช. อาจเกิดโรคตับอย่างร้ายแรง
Clotting Time...min
วัตถุประสงค์
เพื่อจะทราบเวลาเป็นนาทีว่าเมื่อเลือดออกมาพ้นจากร่างกายแล้วจะเกิดสภาวะการแข็งตัว (clotting) ด้วยช่วงเวลานานเท่าใด
ฉะนั้น Clotting Time จึงมีความหมายอย่างสรุปว่าช่วงเวลาที่เลือดแข็งตัว
คำอธิบายอย่างสรุป
1. Clotting Time มักใช้ทดสอบร่วมกันกับ "Clot Retraction" (การยุบตัวของก้อนเลือดนับตั้งเเต่เริ่มเเข็งตัว)
2. กรรมวิธีในการทดสอบก็กระทำคล้ายคลึงกับการใช้เลือดทั่วไป ด้วยการดูดจากหลอดเลือดดำ (เหมือนการตรวจผลเลือดอย่างอื่น) โดยนำเลือดใส่ลงในหลอดเลือดที่หล่อน้ำไว้ด้วยอุณหภูมิเท่าอุณหภูมิร่างกาย คือ 98.6 องศาฟาเรนไฮต์ (37 องศาเซนติเกรด) ก่อนที่จะรีบนำส่งห้องปฏิบัติการ
3. เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ (laboratory) จะเอียงคว่ำหลอดเลือดกลับไปกลับมาทุกๆ 30 วินาที จนกว่าเลือดจะหมดสภาพจากการเป็นของเหลวทั้งนี้ โดยการเริ่มต้นจับเวลาจนกว่าเลือดจะแข็งตัวและจัดจับเวลาอีกครั้งนับตั้งแต่เลือดแข็งตัวไปจนกว่าจะยุบตัวลงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ (เห็นได้จากข้างหลอดแก้ว)
ค่าปกติของ Clotting Time
Clotting Time : 5 - 8 min |
ในกรณีมีการทดสอบ Clot Retraction (การยุบตัวของก้อนเลือด) ด้วยค่าปกติทั่วไปของ Clot Retraction คือ
50% Clot Retraction in 1 hour |
ค่าผิดปกติ : Clotting Time นานมากกว่าค่าปกติ (8 นาที) อาจแสดงผลว่า
1. ร่างกายอาจขาดองค์ประกอบที่ทำให้เลือดจับตัวเป็นก้อน (coagulation factors) อย่างร้ายแรง เช่น ค่าโปรตีนรวมในเลือดอาจต่ำเกินไปหรือค่าแคลเซียมในเลือดมีน้อยเกิน ไปทั้งนี้หากวิตามิน เค ในร่างกายมีต่ำเกินไป ก็ล้วนแต่จะทำให้ผลต่อการจับตัวของเลือดทั้งสิ้น
2. อาจมียาละลายลิ่มเลือด (anticoagulants) ตกค้างอยู่ในกระแสเลือด เช่น ยาแอสไพริน หรือยาเเก้ปวด ชนิด "NSAID" (nonsteroidal antiinflammatory drugs)
Hb Typing
วัตถุประสงค์
เพื่อจะทราบชนิดของเฮโมโกลบิน (Hb) ว่า ชนิดใดที่โดดเด่นเป็นหลักและอาจจะแสดง จำนวนของชนิดอื่นเป็นเปอร์เซ็นต์ให้เห็นโดยครบถ้วนด้วยก็ได้
จำนวนเปอร์เซ็นต์ของ Hb แต่ละชนิด อาจช่วยแสดงให้เห็นถึงความผิดปกติอันเป็นพยาธิสภาพของโรคเลือดโดยตรง
คำอธิบายอย่างสรุป
1. โดยเครื่องมือวิทยาศาสตร์การแพทย์รุ่นใหม่ที่เรียกว่า "Hemoglobin Electrophoresis" ซึ่งสามารถวัดขนาดอนุภาคของสารที่แขวนลอยในของเหลวได้ จึงทำให้สามารถตรวจแยกให้เห็นความแตกต่างของเฮโมโกลบินแต่ละชนิดจากเลือดที่มีความไม่ปกติหลายประเภทซึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากพันธุกรรมได้
2. ชนิดของเฮโมโกลบิน (Hb) ที่สำคัญ ซึ่งอาจตรวจพบได้มี 6 ชนิดดังนี้
ก. Hb A1 เป็นเฮโมโกลบินส่วนใหญ่ที่แสดงคุณสมบัติให้เห็นถึงความเป็นปกติของเม็ดเลือดแดง (RBC)
ข. Hb A2 เป็นเฮโมโกลบิน ส่วนน้อย (2-3 %) ในกรณีที่แสดงค่าว่ามีจำนวนน้อยจริง ซึ่งอาจจะนำว่าเป็นความผิดปกติของเฮโมโกลบินทั้งหมดของเลือด
ค. Hb F เป็นเฮโมโกลบินของทารก (Fetus = ทารกที่ยังอยู่ในครรภ์) ซึ่ง จะยังคงมีในผู้ใหญ่ด้วยจำนวนที่ไม่มากนักแต่หากจำนวน Hb F มีมากกว่า 2 เปอร์เซ็นต์ในร่างกายผู้ใดที่อายุเกิน 3 ขวบจะได้รับการวินิจฉัยว่าเฮโมโกลบินในเลือดมีความผิดปกติ
ง. Hb S เป็นเฮโมโกลบินที่มีลักษณะไม่ปกติแสดงสภาวะเสี่ยงที่จะเกิดโรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงเป็นรูปเคียว (sickle cell anemia) นับเป็นความผิดปกติที่เม็ดเลือดแดงควรจะมีรูปร่างเป็นจานกลมแบน (biconcave disk)
จ. Hb C เป็นเฮโมโกลบินที่ผิดรูปแบบอีกชนิดหนึ่งที่มักจะเกิดมีในบุคคลที่มีบรรพบุรุษข้ามสายพันธุ์ เช่น ชาวอเมริกันผิวดำในเม็ดเลือดแดงที่มี Hb C จะมีอายุสั้นกว่าปกติ (เม็ดเลือดแดงปกติจะมีอายุประมาณ 120 วัน) และเม็ดเลือดแดง Hb C ยังมีโอกาสแตกสลายง่ายกว่าเม็ดเลือดแดงปกติ
ฉ. Hb H เป็นเฮโมโกลบินที่ผิดปกติค่อนข้างร้ายแรงอีกชนิดหนึ่งเพราะมีอินชนิดแอลฟา 1 ตัวและชนิดบีตาจำนวน 3 ตัวแทนที่จะมีแอลฟา (α) 2 ตัว และบีตา (β) 2 ตัว ตามที่ควรจะมีปกติของ Hb A1 โดยทั่วไป ดังนั้น ผู้ที่มี Hb H โดดเด่น จึงเสี่ยงที่จะเป็นโรคโลหิตจางชนิด "H disease"
ช. ข้อความที่พ่วงต่อท้ายจากหัวข้อ Hb Typing ว่า "EDTA Blood จุกสีม่วง"
EDTA คือ น้ำยาที่ระบุให้เติมลงในเลือดเพื่อป้องกันมีให้เลือดแข็งตัว
จุกสีม่วง คือ ฝาครอบหลอดเลือดแสดงรหัสว่าจะตรวจสอบเลือดในเรื่องใด
ค่าปกติของเฮโมโกลบินแต่ละชนิด (ที่ควรตรวจพบ)
ผู้ใหญ่/ผู้สูงอายุ มีตัวเลขโดยประมาณ ดังนี้
Hb A1 : 95 - 98 %
Hb A2 : 2 - 3 %
Hb F : 0.8 - 2 %
Hb S : 0 %
Hb C : 0 %
เด็ก (พิจารณาเฉพาะ Hb F)
แรกเกิด Hb F : 50 - 80 %
< 6 เดือน Hb F : < 8 %
> 6 เดือน Hb F : 1 - 2 %
ค่าที่ผิดปกติ แต่ละชนิดของ Hb
อาจแสดงผลว่าเกิดโรคเลือดชนิดต่างๆจากการพิเคราะห์ค่า Hb ของผลตรวจเลือดดังนี้
1. โรค Sickle Cell Disease
ก. ในผลเลือดอาจแสดงค่า Hb ดังนี้
Hb S 80 - 100 %
Hb A1 0 %
Hb A2 2 - 3 %
Hb F 2 %
ข. คำอธิบายโดยย่อ
1) เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างคล้ายเคียว (เกี่ยวข้าว) ทำให้พาออกซิเจนไปได้น้อยกว่าปกติ จึงเกิดโรคโลหิตจางชนิดที่เรียกว่า "Sickle Cell Anemia"
2) เม็ดเลือดแดงรูปร่างคล้ายเคียว (ไม่กลมแบน) จึงผ่านหลอดเลือดขนาดเล็กด้วยความขลุกขลักและอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดการอุดตันทำให้เนื้อเยื่อบางแห่งขาดเลือดไปเลี้ยงหากเกิดที่จอดเลือดหัวใจหรือสมองอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต
3) อาจเกิดอาการเจ็บปวดมีแผลเน่าเปื่อย ขามีแผลเรื้อรัง ทุกสาเหตุเพราะเลือดไปไม่ถึง
4) Sickle Cell Disease อ่าติดต่อผ่านทางพันธุกรรมโดยมีหลักการย่อๆ ว่า
-หากบิดาหรือมารดาคนหนึ่งคนใดเป็น "Sickle Cell Anemia" และอีกคนหนึ่งก็เป็น "Sickle Cell Trait" กรณีอย่างนี้บุตรทุกคนที่เกิดมา 50 เปอร์เซ็นต์ (หรือ1 คนใน 2 คน) จะเกิดโรค Sickle Cell Anemia หรือ Sickle Cell Trait อย่างใดอย่างหนึ่ง
-หากทั้งบิดาและมารดา ล้วนเป็น Sickle Cell Trait ด้วยกันทั้งคู่จะมีผลทำให้บุตรที่เกิดมาอีก 25 เปอร์เซ็นต์ (หรือ 1 คนใน 4 คน) มีโอกาสเป็น Sickle Cell Disease
2. โรค Sickle Cell Trait
ก. ในผลเลือดอาจแสดงค่า Hb ดังนี้
Hb S 20 - 40 %
Hb A1 60 - 80 %
Hb A2 2 - 3 %
Hb F 2 %
ข. คำอธิบายโดยย่อ
1) ต้นเองไม่เกิดอาการเจ็บป่วยใดๆ คงมีสุขภาพปกติเช่นคนทั่วไป
2) แต่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมให้แก่บุตรในลำดับถัดไป
3. โรค Hemoglobin C Disease
ก. ในผลเลือดอ่ะแสดงค่า Hb ดังนี้
Hb C 90 - 100 %
Hb A1 0 %
Hb A2 2 - 3 %
Hb F 2 %
ข. คำอธิบายโดยย่อ
1) Hb C Disease มีต้นกำเนิดมาจากชนเชื้อสายแอฟริกันตะวันตกปัจจุบันจึงมักปรากฏร่องรอยโรคนี้อยู่ในกลุ่มชาวอเมริกันผิวดำ
2) อาการทั่วไปของโรคมักไม่ร้ายแรงนักเพียงแต่เสนอให้เห็นโรคโลหิตจางอ่อนๆ (mild anemia) โดยมีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าระดับปกติมีน้ำขนาดใหญ่และอาจมีนิ่วในถุงน้ำดี (gallstone)ร่วมด้วย
3) Hb C Disease อาจมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรมคล้ายครึ่งกับ Hb S Disease
4. โรค Hemoglobin H Disease
ก. ในผลเลือดอาจแสดงค่า Hb ดังนี้
Hb A1 65 - 90 %
Hb A2 2 - 3 %
Hb H 5 - 30 %
ข. คำอธิบายโดยย่อ
1) อาจเกิดจากยีนของ Hb ที่ผิดปกติไปถึง 3 ตัวในจำนวน 4 ตัวจึงทำให้เกิดโรคโลหิตจางในระดับปานกลางไปจนถึงร้ายแรง
2) มักมีอาการเหนื่อยอ่อนมากกว่าปกติ
3) หากแอลฟายีนที่มีเหลือเพียงตัวเดียว มีโครงสร้างทางเคมีที่เกาะกันเป็นสายยาวกว่าปกติ ก็จะเรียกโรคนี้ว่า "Hemoglobin H-constant Spring Disease" ซึ่งจะแสดงอาการของโรคโลหิตจางที่หลายแรงมากขึ้น พร้อมๆ กับแสดงอาการดีซ่าน (jaundice) ผิวเหลือง ตาเหลือง มีม้ามโต อาจเกิดนิ่ว ในถุงน้ำดี (gallstone)
4) สิ่งที่เป็นของแสลงหรือเป็นพิษสำหรับโรค Hb H disease ก็คือ ลูกเหม็น(mothball, ใช้ไล่แมลงสาบ) และถั่วฟาว่า (fava bean)
5) กรดฟอลิก (folic acid) อาจใช้กินเพื่อเยียวยาโรคนี้ได้บ้าง
5. โรค Thalassemia Major
ก. ในผลเลือดอาจแสดงค่า Hb ดังนี้
Hb A1 5 - 20 %
Hb A2 2 - 3 %
Hb F 65 - 100 %
ข. คำอธิบายโดยย่อ
1) โดยธรรมดาในฮีโมโกลบินของเม็ดเลือดแดงจะปรากฏยีน (gene) ชนิดแอลฟา 2 ตัว และบีตา 2 ตัว ที่เป็นปกติอยู่ร่วมกันได้4 ตัวอย่างสมดุล
ในบุคคลผู้ใดซึ่งมียีนชนิดใดก็ตามที่ผิดปกติไปถึง2 ตัวหรือมากกว่า จะมีผลทำให้เกิดโรค Thalassemia Major
2) หากยีนที่ผิดปกติ 2 ตัวนั้นเป็นชนิดบีตายีนทั้งคู่ก็อาจจะได้ชื่อให้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "Cooley's anemia"
3) Thalassemia เป็นโรคที่ได้รับการสืบทอดจากทางพันธุกรรม
4) Thalassemia Major ถือว่าเป็นโรคโลหิตจางชนิดร้ายแรงและจะปรากฏอาการภายหลังคลอดประมาณ 2 ปีอาการสำคัญที่อาจสังเกตเห็นด้วยตาโดยง่าย เช่น
ก) อาการดีซ่าน (jaundice) ผิวเหลือง ตัวเหลือง ตาเหลือง
ข) เหนื่อยหอบง่าย
ค) ม้ามโต
ง) เฉยเมย
จ) ฟันขึ้นไม่เป็นระเบียบ
ฉ) เจริญเติบโตช้า
ช) หายใจสั้นและถี่
ซ) มีปัญหาโรคตับ
ฌ) มีอาการของโรคหัวใจ
ฯลฯ
5) หนทางแก้ไขที่สำคัญอย่างหนึ่งซึ่งแพทย์มักช่วยผู้ป่วยก็คือการให้ (ถ่าย) เลือด (blood transfusion) แต่วิธีการนี้ก็อาจมีปัญหาที่ติดตามมาคือ การตกค้างสะสมของธาตุเหล็กในร่างกายซึ่งจะเป็นอันตรายต่อหัวใจและตับจำเป็นต้องได้รับยาขับธาตุเหล็กต่อไป
6. โรค Thalassemia Minor
ก. ในผลเลือดอาจแสดงค่า Hb ดังนี้
Hb A1 50 - 85 %
Hb A2 4 - 6 %
Hb F 1 - 3 %
ข. คำอธิบายโดยย่อ
1) ในจำนวนยีนทั้ง 4 ตัวของเฮโมโกลบิน (แอลฟา2 ตัวและบีตา 2 ตัว) หากเกิดความผิดปกติที่ยีนตัวใดตัวหนึ่งเพียง 1 ตัวก็จะมีผลให้เกิดโรคที่เรียกว่า "Thalassemia Minor"
2) หากยีนตัวที่ผิดปกติ 1 ตัวนั้น เป็นชนิดบีตาก็อาจปรากฏอาการของโรคโลหิตจางอย่างอ่อนและอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่บุตรหลานได้เช่นเดียวกัน
เฉพาะกรณีนี้อาจเรียกชื่อโลกนี้ได้อีก 2 ชื่อหรือ โรค "beta thalassemia trait" หรือโรค "beta thalassemia minor"
หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติมสามารถสนับสนุนผู้แต่ง (พลเอกประสาร เปรมะสกุล) ได้โดยการซื้อหนังสือ (คู่มือแปลผลการตรวจเลือด)