หลอดเลือดแดงอุดตัน (Arterial Thrombosis)

หลอดเลือดแดงอุดตัน (Arterial Thrombosis)
เผยแพร่ครั้งแรก 16 เม.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
หลอดเลือดแดงอุดตัน (Arterial Thrombosis)

โรคหลอดเลือดแดงอุดตันคืออะไร อาการ สาเหตุ วิธีการรักษา และวิธีการป้องกัน

โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน (Arterial Thrombosis) คือภาวะที่มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหลอดเลือดแดงซึ่งอาจเป็นภาวะอันตราย เพราะลิ่มเลือดสามารถเข้าไปอุดกั้นหรือทำให้การไหลของเลือดไปสู่อวัยวะสำคัญอย่างสมองหรือหัวใจชะงักลงได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

หากลิ่มเลือดทำให้การไหลของเลือดไปสู่หัวใจเกิดการตีบแคบ ยังทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เรียกว่าอาการแน่นหน้าอก (Angina)

อาการของโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน

อาการของโรคขึ้นอยู่กับลิ่มเลือดเกิดขึ้นที่ตำแหน่งใดของร่างกาย โดยการเกิดลิ่มเลือดที่หลอดเลือดแดงอาจทำให้เกิดอาการดังนี้ได้

  • หัวใจวาย (Heart Attack) : เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดเข้าไปอุดกั้นการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงที่ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจอย่างสมบูรณ์ ทำให้มีอาการ เช่น
    • อาการเจ็บปวดรุนแรงกลางอกหรือไม่สบายกลางอกชนิดไม่รุนแรง
    • หายใจลำบาก
    • เหงื่อออก, ผิวเย็น, และผิวซีด
    • วิงเวียน
    • คลื่นไส้และอาเจียน
  • ภาวะหลอดเลือดสมอง (Stroke) : หากลิ่มเลือดเกิดขึ้นบนหลอดเลือดแดงที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง อาจทำให้เกิดอาการเหล่านี้โดยกะทันหันได้
    • ชาหรืออ่อนแรงที่ด้านใดด้านหนึ่งของร่างกาย จนอาจถึงขั้นเป็นอัมพาตครึ่งซีก
    • ชาบนใบหน้าจนอาจทำให้ปากไม่สามารถรองรับน้ำลายจนไหลออกจากปากได้
    • วิงเวียน
    • พูดจาและทำความเข้าใจคนอื่นพูดลำบาก
    • มีปัญหาด้านการประสานงานของอวัยวะและการทรงตัว
    • กลืนลำบาก
  • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (Peripheral Vascular Disease) : หากมีการตีบแคบของหลอดเลือดที่ส่งเลือดไปยังขาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง อาจมีอาการดังนี้
    • มีโอกาสเกิดลิ่มเลือดมากขึ้น
    • มีความเจ็บปวดขณะออกกำลังกาย มักจะเกิดกับส่วนล่างของขา
    • มีความเจ็บปวดที่เกิดกับขาทั้งสองข้าง แต่จะเกิดกับขาข้างเดียวก่อน
    • มีผิวซีดและเย็น กับมีอาการชาที่ขาข้างหนึ่ง

สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน

โรคหลอดเลือดแดงอุดตัน (Arterial Thrombosis) เกิดขึ้นเมื่อมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นภายในหลอดเลือดแดงจนเข้าไปชะลอหรือยับยั้งการไหลเวียนของเลือด

เลือดประกอบด้วยเซลล์เกล็ดเลือดและโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัว โดยองค์ประกอบทั้งสองนี้ทำให้เกิดกลไกการเกาะเป็นลิ่มของเลือด เมื่อหลอดเลือดถูกตัดขาด เกล็ดเลือดกับสารก่อลิ่มเลือดจะรวมตัวเข้าด้วยการบนบาดแผล จนกลายเป็นลิ่มเลือดแข็ง ๆ ที่ใช้หยุดการไหลของเลือดลง

โดยปรกติแล้วกลไกการสร้างลิ่มเลือดนี้จะเกิดขึ้นเมื่อหลอดเลือดเสียหายหรือมีเลือดออก แต่บางกรณีเลือดภายในก็อาจเกาะกันเป็นลิ่มได้ แม้ว่าหลอดเลือดจะไม่ได้รับความเสียหายก็ตาม

ส่วนมากภาวะลิ่มเลือดอุดตัน มักเกิดจากการที่หลอดเลือดแดงได้รับความเสียหายจากโรคหลอดเลือดแข็ง (Atherosclerosis) ที่ทำให้มีไขมันสะสมบนผนังหลอดเลือดแดง จนทำให้ผนังหนาตัวและตีบแคบลง ซึ่งอาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • การรับประทานอาหารไขมันสูง
  • การสูบบุหรี่
  • การบริโภคแอลกอฮอล์ปริมาณมากเกินไป
  • ภาวะอ้วน (Obesity)
  • การไม่ออกกำลังกาย
  • เบาหวาน (ทั้งเบาหวานประเภท 1 และ 2)
  • ภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน

การทดสอบที่ใช้วินิจฉัยลิ่มเลือดภายในหลอดเลือดแดง ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดขึ้น แต่โดยทั่วไปจะเลือกใช้ 3 วิธีนี้

  1. การตรวจคลื่นหัวใจไฟฟ้า (Electrocardiogram (ECG)) : ผู้ที่มีอาการแน่นหน้าอกแบบไม่คงที่ กับภาวะหัวใจวายจะถูกวินิจฉัยด้วยการใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ทุกครั้งที่หัวใจเต้นจะมีสัญญาณทางไฟฟ้าขนาดเล็กแสดงออกมาบนกระดาษที่จะเป็นข้อมูลให้แพทย์พิจารณาว่าตำแหน่งที่ไม่ได้รับเลือดระหว่างที่มีอาการหัวใจวายบ้าง
  2. การตรวจเลือด : แพทย์อาจนำเลือดไปวัดระดับโปรตีน Troponin ที่ปล่อยออกมาเมื่อกล้ามเนื้อหัวใจได้รับความเสียหายจากภาวะหัวใจวาย
  3. การสแกน : ผู้ที่มีภาวะหลอดเลือดสมอง จะถูกวินิจฉัยด้วยการสแกนสมองด้วยวิธีสแกนคอมพิวเตอร์ (Computed Tomography (CT) sScan) หรือการถ่ายภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic Resonance Imaging (MRI) Scan)

การรักษาโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน

การรักษาภาวะหลอดเลือดแดงอุดตันมีอยู่ 2 วิธีหลัก ดังนี้

  • การใช้ยา : ยาที่ใช้จะเข้าไปสลายลิ่มเลือด และฟื้นฟูการไหลเวียนของเลือดไปยังสมองหรือหัวใจให้กลับมาดังเดิม
  • การผ่าตัด : การผ่าตัดรักษาภาวะหลอดเลือดแดงอุดตัน จะดำเนินการด้วยการผ่าเข้าไปยังหลอดเลือดที่มีอาการ และจะรักษาด้วยวิธีการเหล่านี้
    • การขยายหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angioplasty) : คือหัตถกรรมสำหรับภาวะหัวใจวายที่นิยมดำเนินการกันมากที่สุด การผ่าตัดนี้จะมีการใช้ท่อโลหะสอดเข้าไปดามเส้นเลือดแดงเพื่อไม่ให้เกิดการตีบตันอีกครั้ง
    • การผ่าตัดทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ ในบางกรณีแพทย์จะดำเนินการผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Bypass Graft (CABG)) กับคนไข้ที่มีภาวะหัวใจวาย โดยนำหลอดเลือดจากส่วนอื่นของร่างกายมาทำทางเบี่ยงบายพาสข้ามจุดที่เกิดการอุดตันไป
    • การผ่าตัดเปิดหลอดเลือดคอไปเลี้ยงสมอง การผ่าตัดรักษาโรคหลอดเลือดแดงอุดตันอีกวิธีคือการเปิดหลอดเลือดคอไปเลี้ยงสมอง (Carotid Endarterectomy) ซึ่งจะดำเนินการในกรณีที่คุณมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นในหลอดเลือดแดงที่คอ ที่สาเหตุของภาวะหลอดเลือดสมอง

การป้องกันโรคหลอดเลือดแดงอุดตัน

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอย่างสมบูรณ์แบบ แต่ก็มีหลายวิธีที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดได้ เช่น

  • การใช้ยา หากคุณเคยประสบกับภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดแดง คุณอาจต้องใช้ยาป้องกันการเกิดภาวะเดิมซ้ำอีกครั้ง โดยยาที่สามารถใช้ได้มีดังนี้
    • สแตติน (Statins) : ยาลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด
    • ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) : เช่นวอร์เฟริน (Warfarin)
    • ยาต้านเกล็ดเลือด (Antiplatelet) : เช่นแอสไพรินปริมาณต่ำ หรือ Angiotensin-Converting Enzyme (ACE) Inhibitors (ใช้ในการรักษาภาวะความดันโลหิตสูง)
  • การใช้ชีวิต การมีสุขภาพที่ดีสามารถลดผลกระทบของภาวะเหล่านี้และโรคอื่น ๆ ได้ เพียงแค่ปฏิบัติดังนี้
    • เลิกสูบบุหรี่
    • ลดการบริโภคแอลกอฮอล์
    • รับประทานผักและผลไม้ในสัดส่วน 5 กับปลาอีก 2 ต่อสัปดาห์ ( เหลือแค่ 1 ส่วน สำหรับปลาไขมันสูง)
    • ออกกำลังกายด้วยกิจกรรมที่มีความเข้มข้นปานกลาง เช่น การเดินหรือปั่นจักรยานอย่างน้อย 30 นาที ในระยะเวลาอย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์



9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Risk factors for venous and arterial thrombosis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3096855/)
Arterial embolism: MedlinePlus Medical Encyclopedia (https://medlineplus.gov/ency/article/001102.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)