กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

คุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ยารักษาอาการไมเกรนปลอดภัยหรือไม่

เผยแพร่ครั้งแรก 18 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 22 ก.พ. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
คุณแม่ตั้งครรภ์ใช้ยารักษาอาการไมเกรนปลอดภัยหรือไม่

หญิงตั้งครรภ์ควรใช้ยารักษาอาการไมเกรนอย่างระมัดระวัง สารบรรเทาอาการปวดที่รับรู้กันว่ามีความเสี่ยงต่ำ ได้แก่ ยาอะเซตามีโนเฟน (Acetaminophen) หรือพาราเซตามอล (Paracetamol) ก็มีประวัติว่าปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มายาวนาน แต่ยาตัวอื่นที่นำมาใช้รักษาอาการไมเกรนส่วนใหญ่ยังคงไม่น่าไว้วางใจนัก

ข้อมูลที่จะยืนยันถึงความปลอดภัยของยารักษาอาการไมเกรนสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ยังมีไม่มากพอ นั่นเพราะยังมีการศึกษาวิจัยจำนวนน้อยที่ทำกับคุณแม่ตั้งครรภ์โดยตรง เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับกลุ่มยาทริปแทน (เช่น ยาที่มีชื่อทางการค้าว่า Imitrex หรือ Maxalt)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ฝากครรภ์ คลอดบุตรวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 79 บาท ลดสูงสุด 65%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม มียารักษาอาการไมเกรนบางชนิดที่คุณแม่ควรหลีกเลี่ยง ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) และยาต้านการอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) อื่นๆ เป็นยาที่ไม่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะช่วงสามเดือนสุดท้ายก่อนคลอด
  • หลีกเลี่ยงยาที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีน แม้ว่าโดยปกติแล้วคาเฟอีนมักถูกนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของยารักษาไมเกรน เพราะคาเฟอีนในยาแต่ละเม็ดนั้นมีความเข้มข้นเท่ากับกาแฟหนึ่งถ้วย และหากใช้ยามากกว่า 2 เม็ดต่อวัน นั่นหมายความว่าคุณแม่จะรับคาเฟอีนมากกว่าที่แพทย์แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงยาฟีโอรินอล (Fiorinal) ซึ่งปกติแล้วแพทย์มักสั่งให้ผู้มีอาการไมเกรน เนื่องจากยาตัวนี้ไม่ได้มีส่วนประกอบเพียงคาเฟอีนเท่านั้น แต่ยังมีตัวยาบาร์บิทูเรต (Barbiturate) ที่มีฤทธิ์เสพติด และเป็นอันตรายกับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงยา Depakote หรือที่ทั่วไปเรียกว่าไดวาลโปรเอกซ์ (Divalproex sodium) เนื่องจากมีผลข้างเคียงทำให้เกิดกลุ่มภาวะหลอดประสาทไม่ปิด เช่น ภาวะบกพร่องของกระดูกไขสันหลัง (Spina bifida)
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มเบตาบล็อกเกอร์ (Beta-blockers) ระหว่างตั้งครรภ์ เพราะมันจะไปลดการไหลเวียนของเลือดสู่รกและลูกน้อยในครรภ์ นอกจากนี้ การกินยากลุ่มนี้ทุกวันอาจส่งผลต่อการเกิดภาวะทารกโตช้าในครรภ์ (IUGR) ได้ด้วย

ทางที่ดี คุณควรปรึกษาษาแพทย์ก่อนการใช้ยาใดๆ ระหว่างตั้งครรภ์ เพื่อให้แน่ใจว่ายานั้นปลอดภัยทั้งต่อตัวคุณเองและลูกน้อย


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่
ทารกมีอัตราการเต้นของหัวใจช้า อันตรายหรือไม่

เรื่องง่ายๆ ที่คุณแม่ทุกคนต้องใส่ใจเพราะอัตราการเต้นของหัวใจสัมพันธ์กับความปลอดภัยของลูกน้อย

อ่านเพิ่ม
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?
อะไรคือสัญญาณการฉีกขาดในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก?

เรียนรู้สัญญาณการตั้งครรภ์นอกมดลูกก่อนที่มันจะฉีกขาด

อ่านเพิ่ม
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม