การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ เรื่องที่คุณแม่ควรรู้!

เผยแพร่ครั้งแรก 10 มี.ค. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
การติดเชื้อขณะตั้งครรภ์ เรื่องที่คุณแม่ควรรู้!

ในตลอดช่วงชีวิต คนเราต่างก็สัมผัสกับไวรัสและแบคทีเรียหลากชนิด ซึ่งร่างกายของมนุษย์มีกลไกป้องกันสิ่งเหล่านี้ ด้วยวิธีการสร้างแอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมาช่วยต่อสู้กับการติดเชื้อ หากคุณมีแอนติบอดีช่วยจัดการกับไวรัสหรือแบคทีเรียที่เฉพาะเจาะจง นั่นเท่ากับว่าคุณมีภูมิคุ้มกัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

เชื้อโรคที่คุณแม่ตั้งครรภ์อาจติดได้ ความอันตราย และวิธีปฏิบัติตัวเมื่อติดเชื้อ มีดังนี้

  • เชื้อ CMV CMV เป็นไวรัสทั่วๆ ไปในกลุ่มเดียวกับเริม สามารถทำให้เกิดแผลพุพองและทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส ทั้งนี้การติดเชื้อสามารถทำให้เกิดปัญหาแก่ทารกในครรภ์ เช่น ทำให้สูญเสียการได้ยิน ทำให้เกิดปัญหากับการมองเห็นหรือตาบอด เรียนรู้ได้ช้า หรืออาจเป็นโรคลมบ้าหมู

    CMV จะยิ่งเป็นอันตรายต่อทารกมากขึ้น หากคุณแม่ไม่เคยติดเชื้อมาก่อนในช่วงชีวิตที่ผ่านมา แม้ว่าการติดเชื้อ CMV ไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่สามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
    • ล้างมือเป็นประจำโดยใช้สบู่และน้ำร้อน โดยเฉพาะหากคุณทำหน้าที่เปลี่ยนผ้าอ้อม หรือทำงานในเนิร์สเซอรี หรือศูนย์รับเลี้ยงเด็ก
    • ไม่จูบเด็กเล็กที่ใบหน้า
    • ไม่รับประทานอาหารหรือใช้อุปกรณ์ร่วมกับเด็กเล็ก หรือดื่มน้ำจากแก้วเดียวกัน
  • เชื่อ GBS หรือ Group B Streptococcus หรือ Group B Streep ความจริงแล้วคนกว่า 30% ติดเชื้อแบคทีเรีย GBS แต่แทบจะไม่มีอาหารหรือเป็นอันตรายใดๆ

    เราสามารถพบแบคทีเรียดังกล่าวในลำไส้และช่องคลอดของผู้หญิง และไม่ทำให้เกิดปัญหาในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่

    อย่างไรก็ดี เด็กในท้องบางคนก็สามารถติดเชื้อนี้ได้ แม้จะมีจำนวนไม่มากนัก ซึ่งการติดเชื้อดังกล่าวมักเกิดขึ้นก่อนหรือระหว่างการตั้งครรภ์ ส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยที่ร้ายแรงได้

    ในกรณีที่คุณติดเชื้อทางเดินปัสสาวะชนิดเชื้อ Group B Streptococcus ในระหว่างตั้งครรภ์ แพทย์ก็อาจให้ยาปฏิชีวนะเช่นกัน ทั้งนี้ทารกมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อ GBS หากคุณแม่ติดเชื้ออยู่ก่อนแล้ว คุณแม่คลอดก่อนกำหนด น้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด หรือเป็นไข้ระหว่างคลอดลูก

    หากคุณแม่รู้สึกกังวลเรื่องนี้ให้ปรึกษาแพทย์ แพทย์จะประเมินว่าคุณจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะระหว่างคลอดลูกเพื่อปกป้องเด็กจากการติดเชื้อหรือไม่ ทั้งนี้การตรวจหา GBS ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ก็ยังเป็นเรื่องที่เป็นไปได้
  • เชื้อ HIV การตรวจหา HIV เป็นส่วนหนึ่งของการฝากครรภ์ ผลเลือดเป็นบวก (Positive) หมายถึงติดเชื้อ ซึ่งแม้ว่าติดเชื้อ คุณแม่ก็อาจยังดูมีสุขภาพดีได้ อย่างไรก็ตาม เชื้อ HIV สามารถแพร่จากแม่ไปสู่ลูกในระหว่างที่ตั้งครรภ์ ตอนคลอด หรือตอนให้นมลูก แต่หากได้รับการดูแลจัดการจากแพทย์ โอกาสที่เชื้อจะแพร่จากแม่สู่ลูกก็จะน้อยลง
  • เชื้อพาร์โวไวรัส B19 การติดเชื้อพาร์โวไวรัส B19 (Parvovirus B19) นั้นพบได้ทั่วไปในเด็ก โดยมักทำให้เกิดผื่นแดงบนใบหน้า จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “Slapped Cheek Syndrome”

    แม้ว่าผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีภูมิคุ้มกันเชื้อดังกล่าว แต่ก็ไม่ควรวางใจ เนื่องจากเชื้อพาร์โวไวรัสสามารถส่งต่อไปสู่ทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นหากคุณแม่รู้ตัวว่าได้สัมผัสใครก็ตามที่ติดเชื้อ ก็ควรไปพบแพทย์ เพื่อให้ทำการตรวจเลือดทดสอบว่าคุณมีภูมิคุ้มกันเชื้อนี้หรือไม่
  • เชื้อ Hepatitis เชื้อนี้เป็นไวรัสที่ทำให้ตับติดเชื้อ หลายคนที่ติดแล้วไม่มีอาการเจ็บป่วย แต่สามารถเป็นพาหะนำโรค และอาจทำให้คนอื่นติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย รวมถึงการสัมผัสกับเลือด หากคุณแม่คนใดมีเชื้อไวรัส Hepatitis B หรือติดเชื้อในระหว่างตั้งครรภ์ คุณสามารถแพร่เชื้อให้ทารกได้ตอนที่เขาเกิด


การตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อ Hepatitis ถือเป็นส่วนหนึ่งของการฝากครรภ์ เด็กที่ตกอยู่ในความเสี่ยงควรได้รับการฉีดวัคซีน Hepatitis ตอนเกิดเพื่อป้องกันการติดต่อ และโรคตับที่ร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง การสร้างภูมิคุ้มกันตอนเกิดช่วยป้องกันไม่ให้ทารกติดเชื้อ Hepatitis ในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิผล 90-95%

  • โรคอีสุกอีใส ผู้หญิงประมาณ 95% มีภูมิคุ้มโรคอีสุกอีใส แต่หากคุณไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส ไม่แน่ใจว่าตัวเองเคยเป็นมาก่อนหรือไม่ หรือไปสัมผัสกับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เป็นโรคดังกล่าวมาแล้วเกิดอาการผิดปกติที่สงสัยได้ว่าอาจเป็นโรคนี้ คุณควรรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากการเกิดโรคอีสุกอีใสในระหว่างตั้งครรภ์สามารถเป็นอันตรายทั้งต่อคุณแม่และเด็กในท้อง
  • โรคเริม เริมเป็นโรคที่ติดต่อด้วยการสัมผัส ดังนั้นไม่ว่าจะมีเพศสัมพันธ์ด้วยอวัยวะสืบพันธุ์ หรือทำออรัลเซ็กส์ ก็ทำให้เชื้อโรคติดต่อได้ และเมื่อติดเชื้อเริมที่อวัยวะเพศ ก็ยังทำให้เกิดอันตรายต่อทารกแรกคลอดอีกด้วย

    อาการของเริมในช่วงเริ่มต้นคือ เกิดตุ่มน้ำที่ทำให้รู้สึกเจ็บหรือเป็นแผลเปื่อยบนอวัยวะเพศ ความรุนแรงของอาการมักจะลดลงในอีกหลายปีต่อมา

แพทย์สามารถรักษาโรคเริมที่เกิดขึ้นครั้งแรกกับคุณแม่ขณะตั้งครรภ์ได้ หากคุณติดเชื้อครั้งแรกในช่วงท้ายๆ ของการตั้งครรภ์หรือระหว่างคลอดลูก แพทย์อาจแนะนำให้ใช้วิธีผ่าคลอด เพื่อลดความเสี่ยงที่เชื้อจะแพร่ไปยังทารก

วิธีปฏิบัติหากคุณหรือคนรักเป็นโรคเริมได้แก่ ใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์ เลี่ยงการมีเซ็กส์รวมถึงการทำออรัลเซ็กส์ โรคนี้เมื่อเป็นแล้วสามารถเป็นซ้ำได้อีก หากเกิดอาการควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

  • โรคหัดเยอรมัน โรคนี้สามารถทำให้เกิดปัญหาร้ายแรง ไม่ว่าจะเป็นแท้ง หรือทำให้ทารกแรกคลอดพิการ ดังนั้นหากสัมผัสกับใครก็ตามที่มีเชื้อนี้เข้า ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจเลือดหาว่าได้รับเชื้อหรือเปล่า โรคหัดเยอรมันมีวัคซีนป้องกัน อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้คุณแม่รับวัคซีนขณะตั้งครรภ์ ควรฉีดไว้ก่อนตั้งแต่วางแผนตั้งครรภ์ และคุมกำเนิดไว้หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือน

  • โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคเหล่านี้มักไม่มีอาการบอกให้ทราบ แต่มีหลายโรคที่สามารถส่งผลต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ ที่พบได้บ่อยที่สุดคือโรคหนองในเทียม หากสงสัยว่าตัวเองหรือคู่รักอาจเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรไปพบและขอคำแนะนำจากแพทย์โดยเร็วที่สุด

ข้อควรปฏิบัติเพื่อเลี่ยงการติดเชื้อโรคจากสัตว์

สัตว์ เป็นพาหะห่างหนึ่งที่มาสามารถนำเชื้อมาติดสู่คนได้ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้าน สัตว์ที่อาจอยู่ในสิ่งแวดล้อมของที่ทำงาน หรือคุณแม่ที่ชอบไปเที่ยวฟาร์มก็อาจพบกับความเสี่ยงได้มากขึ้น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  • แมว ในอุจจาระของแมวอาจมี “ท็อกโซพลาสมา” ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตทำให้เกิดโรคท็อกโซพลาสโมซิส และสามารถทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กในท้อง คุณแม่สามารถลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อด้วยวิธีต่อไปนี้
    • หลีกเลี่ยงการทำความสะอาดกระบะทรายแมวขณะตั้งครรภ์ หรือหากจำเป็น ให้สวมถุงมือแบบยางชนิดใช้แล้วทิ้งในขณะที่ทำความสะอาด
    • ทำความสะอาดกระบะทรายแมวทุกวัน และนำไปแช่น้ำร้อน 5 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อ
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแมวที่ป่วย
    • สวมถุงมือเมื่อทำสวน ต่อให้คุณไม่ได้เลี้ยงแมวเอง เพราะหากในละแวกที่อยู่อาศัยมีแมว ในดินบ้านคุณอาจปนเปื้อนไปด้วยอุจจาระของแมวเหล่านั้น
    • ล้างมือและถุงมือหลังจากทำสวน
    • หากบังเอิญสัมผัสอุจจาระแมว ให้ล้างมือให้สะอาด
  • แกะ ทั้งลูกแกะและแกะตัวเต็มวัยสามารถเป็นพาหะของเชื้อคลามีเดีย ซิทตาชี (Chlamydia Psittaci) ซึ่งทำให้เกิดภาวะแท้งในแกะตัวเมียที่โตเต็มที่ได้ นอกจากนี้พวกมันยังเป็นพาหะของท็อกโซพลาสมา ทางที่ดีคุณแม่ควรเลี่ยงการอยู่ใกล้กับแกะที่กำลังคลอดหรือให้นม และไม่สัมผัสกับลูกแกะแรกคลอด หากจำเป็นหรือบังเอิญสัมผัสแกะ แล้วมีอาการเหมือนกับเป็นไข้หวัดใหญ่ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
  • หมู มีงานวิจัยที่กำลังศึกษาว่า หมูสามารถเป็นพาหะของเชื้อเฮปาทิทิส อี (Hepatitis E) ซึ่งการติดเชื้อดังกล่าวอันตรายต่อผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ดังนั้นคุณแม่ควรเลี่ยงการสัมผัสกับหมูและอุจจาระของหมู แต่ทั้งนี้การรับประทานผลิตภัณฑ์ที่ทำจากหมูปรุงสุก ไม่ได้ทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อเฮปาทิทิส อี


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Infections and Pregnancy | Antibiotics. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/infectionsandpregnancy.html)
Infections in pregnancy that may affect your baby. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/pregnancy-and-baby/pregnancy-infections/)
Infections in pregnancy and how they affect the baby. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322210)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

ภาวะติดเชื้อในมดลูกจัดเป็นภาวะที่รุนแรง

อ่านเพิ่ม