รวมโรคหรืออาการยอดฮิตของแอร์โฮสเตส

เผยแพร่ครั้งแรก 14 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
รวมโรคหรืออาการยอดฮิตของแอร์โฮสเตส

“แอร์โฮสเตส” เป็นอาชีพที่มักได้ท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่างๆ ขณะพักทำงาน กล่าวได้ว่าเป็นการเปิดโลกทัศน์ที่กว้างไกล นอกเหนือจากการได้ค่าตอบแทนสูงและมีสวัสดิการดีเลิศ จึงนับว่าเป็นอาชีพที่เป็นความใฝ่ฝันของสาวๆ หลายคน แต่ในงานที่ดูเลิศหรูเหล่านี้ ยังมีภัยเงียบจากอาการหรือโรคร้ายที่แฝงอยู่กับอาชีพนี้หลายโรคเลยทีเดียว

อาการเจ็ทแลก (Jet Lag)

ภาวะเมาอากาศมักเกิดกับแอร์โฮสเตสที่ต้องบินในระยะทางไกลๆ ใช้เวลานาน เป็นอาการผิดปกติของร่างกายที่ยังไม่สามารถปรับจังหวะเวลาให้เข้ากับสภาวะหรือสิ่งแวดล้อมใหม่ที่มีเวลา (Time zone) แตกต่างไม่ได้ ร่างกายจึงยังคงมีความชินกับสภาพแวดล้อมเดิมๆ เพราะช่วงเวลานอนหรือการใช้ชีวิตประจำวันเปลี่ยนไป โดยมักจะมีอาการซึมเศร้า วิตกกังวล อ่อนล้า มีความผิดปกติของกระเพาะอาหารหรือลำไส้ รู้สึกมึนงง หรือประจำเดือนมาผิดปกติ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผิวพรรณไม่สดใสและผิวแห้งง่าย

การขึ้นไปอยู่บนอากาศที่สูงเหนือพื้นดินมากๆ จะทำให้มีออกซิเจนเจือจาง ซึ่งอากาศที่แห้งมากเหล่านี้จะส่งผลให้ผิวพรรณของแอร์โฮสเตสแห้งง่าย ไม่ผุดผ่อง หรือมีน้ำมีนวล ดังนั้นผู้ที่ประกอบอาชีพแอร์โฮสเตสจำเป็นต้องดูแลผิวพรรณและดื่มน้ำมากๆ ให้เพียงพอจึงจะช่วยได้อีกทางหนึ่ง

ระบบย่อยอาหารไม่ดี

ด้วยพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างเร่งด่วนขณะปฏิบัติงาน รวมทั้งการรับประทานอาหารผิดเวลาอยู่เป็นประจำ จึงทำให้อาหารไม่ย่อยจนกระทั่งเกิดอาการท้องอืดและท้องเฟ้อได้

โรคท้องผูกเรื้อรัง

เนื่องจากอาชีพแอร์โฮสเตสมีช่วงเวลานอนหลับพักผ่อนและรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ส่งผลให้ระบบการขับถ่ายไม่เป็นเวลาไปด้วย จึงก่อให้เกิดอาการท้องผูกได้นั่นเอง

โรคเครียด

ด้วยลักษณะเนื้องานของอาชีพแอร์โฮสเตสที่ต้องเจอลูกค้าหลากหลายประเภท บางรายอาจมีเรื่องจุกจิกและต้องการการให้บริการอย่างดี จนทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ที่แอร์โฮสเตสต้องคอยแก้ปัญหาในระหว่างเที่ยวบิน หรือการที่ต้องคอยรองรับอารมณ์ของลูกค้า ส่งผลให้เกิดความเครียดอย่างมากมายจนบางรายเป็นโรคไมเกรนกันเลยทีเดียว

เซลล์สมองเสื่อม

อาชีพแอร์โฮสเตสต้องอยู่ในเครื่องบิน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณอากาศน้อยกว่าปกติทั่วไปและมีแรงกดอากาศที่ไม่ปกติ ทำให้เซลล์สมองขาดออกซิเจนแล้วเกิดภาวะขี้หลงขี้ลืม โดยมีโอกาสเป็นโรคเซลล์สมองเสื่อมได้

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

อาชีพแอร์โอสเตสเป็นอาชีพที่ต้องให้บริการกับลูกค้า นั่นคือหากต้องมีการใช้ห้องน้ำระหว่างแอร์โฮสเตสกับลูกค้า ก็จะต้องเสียสละให้ลูกค้าเข้าก่อนเสมอๆ ทำให้มีการอั้นหรือกลั้นปัสสาวะไว้นาน และเมื่อปัสสาวะถูกแช่ค้างในกระเพาะปัสสาวะ จะส่งผลให้เชื้อโรคในกระเพาะปัสสาวะเจริญเติบโตได้ดีจนกลายเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคกล้ามเนื้ออักเสบ

เกิดจากการใช้กล้ามเนื้อหรือเคลื่อนไหวร่างกายหนักมากเกินไปจากการทำงาน ทำให้มีอาการปวดอักเสบและระบมที่กล้ามเนื้อเพียงจุดเดียวหรือระบมไปทั่วร่างกายก็ได้ เนื่องจากอาชีพแอร์โฮสเตสเป็นอาชีพที่ต้องยกของหนัก เช่น ยกของ ยกถาดอาหาร เข็นรถเข็นที่ใส่อาหารเครื่องดื่ม ช่วยผู้โดยสารยกสัมภาระขึ้นชั้นเหนือศีรษะหรือลากกระเป๋าหนักๆ

โรคทางเดินหายใจ

การเดินทางไกลที่ต้องเปลี่ยนสถานที่หรือภูมิอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ประกอบกับการนอนพักผ่อนที่ไม่เป็นเวลา รวมทั้งการพักผ่อนอย่างไม่เต็มที่จะส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจหรือเป็นหวัดได้ง่าย

โรคมะเร็ง

พบว่าอาชีพแอร์โฮสเตสนี้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งได้มากกว่าอาชีพอื่น เนื่องจากการอยู่บนที่สูงมากๆ จะได้รับรังสีมากกว่าคนประกอบอาชีพอื่นบนภาคพื้นดิน อีกทั้งอาหารที่ไม่ค่อยได้มีโอกาสให้เลือกมากนัก จึงต้องรับประทานอาหารที่อยู่บนเครื่องบินบ่อยๆ ด้วยการอุ่นไมโครเวฟ การนอนที่ไม่เป็นเวลา และความเครียด ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระตุ้นให้มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งมากกว่าอาชีพอื่นๆ

 อาชีพแอร์โฮสเตสเป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะในการใช้ภาษาต่างประเทศและความแข็งแรงของร่างกาย รักการบริการ และมีความอดทนทางด้านจิตใจสูง ซึ่งมีผลเสียหรือโรคที่ตามมาได้ไม่แพ้การประกอบอาชีพในด้านอื่น แต่ก็เป็นอาชีพที่สร้าง รายได้เป็นกอบเป็นกำอย่างคุ้มค่าเลยทีเดียว


21 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Study Examines Cancer Rates Among Flight Attendants. American Cancer Society. (https://www.cancer.org/latest-news/study-examines-cancer-rates-among-flight-attendants.html)
Aircrew Safety and Health - Respiratory Symptoms and Diseases. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/niosh/topics/aircrew/respiratory.html)
Health Effects Associated with Exposure to Airliner Cabin Air. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK219002/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป