กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

เด็กหลอดแก้ว คืออะไร รู้ให้ลึก...ก่อนตัดสินใจทำ!

ใครควร ใครไม่ควรทำเด็กหลอดแก้ว หลักการพิจารณาก่อนตัดสินใจทำ
เผยแพร่ครั้งแรก 29 มิ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
เด็กหลอดแก้ว คืออะไร รู้ให้ลึก...ก่อนตัดสินใจทำ!

ในปัจจุบัน คู่แต่งงานส่วนใหญ่มักจะเจอกับปัญหามีบุตรยาก ทำให้เกิดเทคโนโลยีการทำเด็กหลอดแก้วขึ้นมา เพื่อช่วยให้คู่รักที่มีบุตรยากสามารถมีบุตรได้อย่างง่ายขึ้น ทำให้เกิดการตั้งครรภ์อย่างสมบูรณ์แบบนั่นเอง เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น เราจะมาทำความรู้จักกับนวัตกรรมการทำเด็กหลอดแก้วกันดังนี้

เด็กหลอดแก้ว คืออะไร?

เด็กหลอดแก้ว ก็คือเด็กที่เกิดจากการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ซึ่งไม่ใช่วิธีทางธรรมชาติ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โดยที่มาของคำว่าเด็กหลอดแก้วนั้น เกิดจากการที่ขั้นตอนในการปฏิสนธิระหว่างสเปิร์มและเซลล์ไข่ จะต้องทำในหลอดทดลองที่มีลักษณะเป็นหลอดแก้ว จึงถูกเรียกว่าเด็กหลอดแก้วนั่นเอง 

และเนื่องจากเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก จึงทำให้ผู้คนที่มีบุตรยาก นิยมหันมาพึ่งพาเทคโนโลยีด้วยการทำเด็กหลอดแก้วมากขึ้น

ปัจจัยพิจารณาในการทำเด็กหลอดแก้ว

อย่างไรก็ตามการทำเด็กหลอดแก้ว จะต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ด้วย ซึ่งผู้ที่จะทำเด็กหลอดแก้วจะต้องเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะมีบุตรยากจริงๆ และมีสุขภาพที่แข็งแรงมากพอที่จะตั้งครรภ์ได้ โดยมีปัจจัยที่ทางแพทย์จะทำการพิจารณา ดังนี้

พิจารณาฝ่ายชาย

1.ฝ่ายชายมีความผิดปกติของเชื้ออสุจิหรือคุณภาพของตัวอสุจิต่ำมาก จึงไม่สามารถมีบุตรด้วยวิธีธรรมชาติได้ แต่อย่างไรก็ตามหากเชื้ออสุจิของฝ่ายชายไม่แข็งแรง การทำเด็กหลอดแก้วก็อาจไม่ได้ผลเช่นกัน

2.มีปัญหาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ จึงไม่สามารถมีบุตรได้หรือมีโอกาสที่จะมีบุตรน้อยมาก

พิจารณาฝ่ายหญิง

1.ระบบท่อนำไข่มีความผิดปกติ เช่น ท่อนำไข่อุดตัน เคยผ่าตัดมาก่อนและเคยเกิดการกระทบกระเทือนที่ทำให้ท่อนำไข่เกิดความเสียหาย เป็นต้น จึงทำให้มีบุตรยากและบางรายก็อาจมีปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติอีกด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจภาวะมีบุตรยากวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 392 บาท ลดสูงสุด 63%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

2.ฮอร์โมนเพศผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะไม่ตกไข่เรื้อรัง ส่วนใหญ่จะมีอาการประจำเดือนขาดร่วมด้วย (แต่ไม่ตั้งครรภ์)

3.พยายามจะมีบุตรมาแล้วมากกว่า 3 ปี โดยไม่ได้ป้องกันด้วยวิธีใดเลย แต่ก็ไม่ตั้งครรภ์

4.มีความผิดปกติทางพันธุกรรมหรือไม่ เพื่อจะได้หาหนทางแก้ปัญหาไม่ให้ลูกที่เกิดจากการทำเด็กหลอดแก้วมีความผิดปกติทางพันธุกรรมไปด้วย

5.ช่วงอายุของผู้ทำเด็กหลอดแก้ว โดยส่วนใหญ่แพทย์จะแนะนำให้ทำเด็กหลอดแก้วได้สำหรับผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 

นอกจากว่ามีปัจจัยร้ายแรงที่ทำให้ไม่สามารถมีบุตรได้จริงๆ เช่น รังไข่เสื่อมก่อนวัย เคยทำหมันด้วยการผูกท่อนำไข่หรือกำลังอยู่ในระหว่างเจ็บป่วยที่ส่งผลให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ เป็นต้น

ควรเตรียมตัวก่อนทำเด็กหลอดแก้วอย่างไรบ้าง?

ก่อนทำเด็กหลอดแก้ว จะต้องเตรียมตัวให้พร้อมด้วยการไปพบแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาและตรวจวินิจฉัยปัจจัยต่างๆ ว่าสามารถทำเด็กหลอดแก้วได้หรือไม่ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ซึ่งแพทย์จะทำการตรวจทดสอบการทำงานของรังไข่ ตรวจคัดกรองภาวะติดเชื้อ ทดสอบโพรงมดลูก วิเคราะห์คุณภาพและความผิดปกติของน้ำอสุจิ รวมถึงการทดสอบถ่ายฝากตัวอ่อน 

โดยหากผ่านการทดสอบเหล่านี้ก็จะสามารถทำเด็กหลอดแก้วได้ ขั้นตอนต่อไปก็คือ เตรียมตัวตามที่แพทย์แนะนำและเตรียมเงินค่ารักษา ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 100,000-300,000 บาทต่อครั้ง

ขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว

สำหรับขั้นตอนการทำเด็กหลอดแก้ว อาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละคลินิกหรือสถานพยาบาลนั้นๆ แต่ก็สามารถสรุปเป็นขั้นตอนหลักๆ ได้ดังนี้

  • ควบคุมรอบเดือนให้ประจำเดือนมาปกติ จากนั้นแพทย์จะฉีดยากระตุ้นการตกไข่ ซึ่งต้องฉีดต่อเนื่องเป็นประจำประมาณ 10-12 วัน

  • ตรวจสอบความคืบหน้าของการกระตุ้นการตกไข่ และฉีดฮอร์โมนเข็มสุดท้ายก่อนเก็บไข่ประมาณ 34-38 ชั่วโมง

  • เก็บไข่ โดยแพทย์จะดูดไข่ออกจากช่องคลอด ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที ซึ่งระหว่างนั้นแพทย์ก็จะให้ยาสลบหรือยาชาแก่ผู้ป่วย

  • แพทย์นำไข่และสเปิร์มที่ได้ไปทำการปฏิสนธิกันในห้องปฏิบัติการ พร้อมกับฉีดยาฮอร์โมนให้กับฝ่ายหญิงเพื่อเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับการตั้งครรภ์

  • เมื่อตัวอ่อนมีความแข็งแรงพอแล้ว แพทย์จะนัดเพื่อฉีดตัวอ่อนกลับเข้าไปในมดลูก เป็นอันเสร็จสมบูรณ์

ระยะเวลาและโอกาสในการทำสำเร็จ

ระยะเวลาในการทำเด็กหลอดแก้วจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ซึ่งมีโอกาสสำเร็จอยู่ที่ 15-35 เปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับสุขภาพของว่าที่คุณแม่และปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่าง 

นอกจากนี้การทำเด็กหลอดแก้วก็มีโอกาสที่เด็กจะไม่แข็งแรงและอาจเกิดความพิการได้ไม่ต่างจากการตั้งครรภ์ธรรมดาเช่นกัน

ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

การทำเด็กหลอดแก้วอาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะผลข้างเคียงที่จะเกิดขึ้นกับว่าที่คุณแม่หลังจากถ่ายฝากตัวอ่อนเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีความเสี่ยงที่มักจะเกิดขึ้นมากที่สุดดังนี้

  • รังไข่บวม เนื่องจากได้รับฮอร์โมนกระตุ้นมากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องอืด หายใจลำบากและอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วงได้

  • ตั้งครรภ์นอกมดลูก เพราะไข่เข้าไปฝังตัวอยู่ในท่อนำไข่แทนที่จะเป็นมดลูก ซึ่งภาวะนี้เด็กจะไม่สามารถเจริญเติบโตได้ และต้องผ่าเอาเด็กออก

  • เกิดความเครียด เนื่องจากการทำเด็กหลอดแก้วส่งผลกระทบทั้งต่อร่างกายและจิตใจหลายอย่าง ต้องอาศัยกำลังใจจากคนรอบข้างและการบำบัดเป็นหลัก

  • ได้รับผลข้างเคียงจากยา ผู้ทำอาจมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาในขณะถ่ายฝากตัวอ่อน ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดหัว กระสับกระส่าย ร้อนวูบวาบและอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่าย

  • เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด ซึ่งจะทำให้ทารกมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยมาก และอาจมีปัญหาเรื่องการหายใจ เพราะปอดยังพัฒนาไม่เต็มที่

  • เสี่ยงภาวะแทรกซ้อน อาจมีภาวะแทรกซ้อนในขั้นตอนการเก็บไข่ เช่น การติดเชื้อ เกิดแผลในมดลูกและอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ได้

  • มีโอกาสตั้งครรภ์แฝด ซึ่งหากสุขภาพของคุณแม่ไม่แข็งแรง ก็อาจทำให้คลอดก่อนกำหนดหรือทารกมีน้ำหนักตัวน้อยได้ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีการถ่ายฝากตัวอ่อนมากกว่า 1 ตัว

การทำเด็กหลอดแก้ว เป็นนวัตกรรมที่มีความทันสมัย ซึ่งจะช่วยให้ผู้ที่มีบุตรยากสามารถมีบุตรได้อย่างที่ต้องการ เพียงนำสเปิร์มของฝ่ายชายและเซลล์ไข่ของฝ่ายหญิงมาปฏิสนธิกันภายนอกร่างกาย ก่อนจะนำกลับเข้าไปในมดลูกของฝ่ายหญิงเพื่อการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติต่อไป 

แต่อย่างไรก็ตามการทำเด็กหลอดแก้วก็อาจเกิดความผิดพลาดและมีความเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนทำ และทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเสมอ


27 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
In-vitro fertilization (IVF): Procedure, success rate, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/262798)
In vitro fertilization (IVF). MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/article/007279.htm)
In Vitro Fertilization (IVF): Risks, Success Rate, Procedure, Results. WebMD. (https://www.webmd.com/infertility-and-reproduction/guide/in-vitro-fertilization#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
IVF หรือการทำเด็กหลอดแก้วคืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง
IVF หรือการทำเด็กหลอดแก้วคืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

มีบุตรยาก ร่างกายมีปัญหา การทำเด็กหลอดแก้วอาจช่วยคุณได้ อ่านรายละเอียดก่อนตัดสินใจ

อ่านเพิ่ม