ความสําคัญของการเข้าใจฉลาก

เผยแพร่ครั้งแรก 11 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ความสําคัญของการเข้าใจฉลาก

บ่อยครั้งที่ผู้คนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยที่ไม่เคยสนใจมองดูฉลาก พวกเขามักจะบอกคนขายว่าต้องการวิตามินรวม แล้วซื้ออะไรก็ตามที่คนขาย หยิบยื่นให้โดยไม่รู้ตัวว่าอาจได้รับวิตามินที่ถูกโกงปริมาณ วิตามินรวมแต่ละ ชนิดมีปริมาณวิตามินที่แตกต่างกันไป และวิตามินที่แพงที่สุดก็ไม่จําเป็น ต้องเป็นของที่ดีที่สุด หนทางเดียวที่คุณจะมั่นใจได้ว่า คุณได้รับวิตามินบี 6 โฟลาซิน หรือวิตามินซีอย่างที่ต้องการ คือการอ่านตัวอักษรเล็กๆ ที่พิมพ์อยู่ บนฉลาก และหากคุณมีอาการภูมิแพ้ จะเป็นการฉลาดกว่าหากคุณทราบว่า ตัวเองกําลังรับประทานอะไรบ้างในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (ดูเพิ่มเติมใน ตอนที่ 24)

หากมีคําบนฉลากที่คุณไม่เข้าใจ คุณสามารถถามเภสัชกรหรือคนขาย วิตามินได้ หากเขาไม่เข้าใจเช่นกัน คุณควรไปซื้อจากที่อื่นที่มีคนเข้าใจและ อธิบายคุณได้ และที่สําคัญที่สุด อย่าลืมตรวจสอบปริมาณที่คุณรับประทาน หากคุณได้รับคําแนะนําให้รับประทานวิตามินอีวันละ 4 เวลา ขนาดเม็ดที่คุณ รับประทานก็ควรจะต่ํากว่า 400 ไอยู วิตามินและแร่ธาตุมีหลากหลายขนาด ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ขนาดที่ต้องการ การไม่เข้าใจฉลากอาจทําให้ คุณไม่ได้ผลดีจากวิตามินอย่างที่ควรจะเป็น

กฎที่ออกมาใหม่ขององค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (เอฟดีเอ) น่าจะช่วยให้ทําความเข้าใจกับฉลากได้ง่ายขึ้นมาก กฎนี้กําหนดให้วิตามิน แร่ธาตุ สมุนไพร และกรดแอมิโน เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ส่งผลให้ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ต้องแสดงแผนผังข้อมูลผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Supplement บนอาหารสําเร็จรูป Facts) ในรูปแบบเดียวกับแผนผังข้อมูลทางโภชนาการ (Nutrition Facts)

แผนผังข้อมูลผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต้องประกอบด้วยขนาด/หน่วยบริโภค ที่เหมาะสมในการรับประทาน และข้อมูลเกี่ยวกับสารอาหารสิบสี่ชนิด หากม อยู่ในผลิตภัณฑ์นั้นๆในปริมาณมากระดับหนึ่ง ประกอบด้วยวิตามินเอ ช โซเดียม แคลเซียม และธาตุเหล็ก ส่วนประกอบที่ไม่มีค่าอาร์ดี/ไออาร์ดีเอ หรือขนาดที่แนะนําให้รับประทานต่อวันก็ต้องแสดงไว้บนฉลากด้วย ในกรณีของ สมุนไพรเสริมอาหาร ส่วนของพืชที่นํามาดัดแปลงเป็นผลิตภัณฑ์ก็ต้องระบุไว้ เช่นกัน

แต่ท้ายสุดแล้ว สิ่งสําคัญที่สุดคือ คุณต้องอ่านฉลาก ขออนุญาตยกอีก ตัวอย่างหนึ่งคือ คําว่า “high potency” (ประสิทธิภาพสูงหรือมีฤทธิ์แรง) ซึ่ง กําหนดให้ใช้ได้ในกรณีที่วิตามินแบบเดี่ยวใดๆมีปริมาณเท่ากับร้อยละร้อยของ ขนาดที่แนะนําให้รับประทานต่อวัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วน่าเศร้าว่ายังจัดเป็น ปริมาณที่ค่อนข้างต่ำ ส่วนในกรณีของวิตามินแบบรวม คําว่า “high potency” จะใช้ได้หากสองในสามของสารอาหารในเม็ดมีปริมาณเท่ากับร้อยละร้อยของ ปริมาณที่แนะนําให้รับประทานต่อวันเป็นอย่างต่ำ พูดอีกนัยหนึ่งคือ หากคุณ อยากจะได้ประโยชน์สูงสุดจากวิตามิน ควรที่จะอ่านฉลากมากกว่าข้อความชี้ชวน

หากคุณเห็นว่าบทความนี้มีประโยชน์และอยากอ่านเกี่ยวกับหัวข้อนี้เพิ่มเติม สามารถสนับสนุน ดร.เอิร์ล มินเดลล์ (ผู้แต่ง) พญ. ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (แปล) ได้โดยการซื้อหนังสือวิตามินไบเบิล


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
US Consumers’ Understanding of Nutrition Labels in 2013: The Importance of Health Literacy. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/pcd/issues/2017/17_0066.htm)
Food label reading: Read before you eat. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5903167/)
How to Understand and Use the Nutrition Facts Label. U.S. Food and Drug Administration (FDA). (https://www.fda.gov/food/nutrition-education-resources-materials/how-understand-and-use-nutrition-facts-label)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)