ICSI คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

เผยแพร่ครั้งแรก 31 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ICSI คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

ICSI เป็นวิวัฒนาการในวงการแพทย์ที่จะช่วยแก้ปัญหาภาวะผู้มีบุตรยากของคู่สมรสที่แต่งงานกันมาหลายปี และยังเป็นอีกทางเลือกสำหรับคู่ที่มีปัญหาการสืบพันธุ์อันเนื่องมาจากฝ่ายชาย โดยเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่เพิ่มเติมมาจากการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งช่วยให้ผลลัพธ์ของโอกาสที่จะเกิดการตั้งครรภ์อย่างสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

ICSI คืออะไร

ICSI หรือ Intracytoplasmic sperminjection คือการที่แพทย์คัดเอาตัวอสุจิที่มีความแข็งแรงที่สุด ผ่านด้วยวิธีการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์และฉีดเข้าไป เพื่อให้ผสมกับไข่แบบเจาะจงด้วยเข็มขนาดเล็ก พอผสมกันแล้วจะนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาเลี้ยงพิเศษ จากนั้นเมื่อตัวอ่อนพัฒนาไปอยู่ในระยะที่เหมาะสมแล้ว ก็จะนำเข้าไปใส่ในโพรงมดลูกเพื่อให้มีการตั้งครรภ์ต่อไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ICSI เหมาะสำหรับใคร

วิธี ICSI เหมาะสำหรับฝ่ายชายที่มีปริมาณตัวอสุจิน้อย และมีคุณภาพที่ไม่ดีเป็นอย่างมาก ซึ่งเหมาะกับกรณีที่ไข่และอสุจิไม่สามารถปฏิสนธิได้เองในหลอดทดลอง เช่น เปลือกไข่หนา โดยเป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่สามารถช่วยปิดจุดอ่อนของการทำเด็กหลอดแก้วให้ประสบผลสำเร็จมากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนของการทำ ICSI

  • แพทย์จะทำการกระตุ้นการตกไข่ของฝ่ายหญิงให้มีปริมาณมากกว่า 1 ใบ ด้วยการฉีดยาตั้งแต่วันที่ 2 ของรอบเดือน เป็นเวลา 10 วัน
  • ติดตามการตกไข่และดูขนาดของไข่ด้วยการเจาะเลือดและอัลตราซาวด์ เมื่อไข่มีขนาดสมบูรณ์ แพทย์ก็จะทำการดูดไข่และเก็บน้ำอสุจิของฝ่ายชายในวันเดียวกัน
  • แพทย์ทำการคัดเลือกอสุจิที่สมบูรณ์และแข็งแรงที่สุด แล้วทำการเจาะไข่เพื่อฉีดตัวอสุจิเข้าไปให้ผสมกับไข่โดยตรง เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิ
  • ทำการเลี้ยงไข่ที่ผสมแล้วจนถึงเวลา 3 – 5 วัน และนำกลับมาไว้ในโพรงมดลูก เพื่อให้ตัวอ่อนเจริญเติบโตในครรภ์ของฝ่ายหญิงต่อไป

การเตรียมตัวก่อนทำ ICSI

สามีและภรรยาจะต้องไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับทราบคำแนะนำถึงข้อจำกัดต่างๆ ในฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเหมือนกับการทำเด็กหลอดแก้ว พร้อมทั้งเข้ารับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ก่อน โดยถ้าเป็นฝ่ายหญิงจะต้องมีการตรวจร่างกายอย่างเช่นการทำงานของรังไข่และคัดกรองภาวะติดเชื้อ ส่วนฝ่ายชายจะต้องตรวจดูคุณภาพของอสุจิว่า สามารถผลิตอสุจิได้แข็งแรงหรือไม่ หรือบางรายผลิตอสุจิได้น้อย หรือไม่มีปริมาณอสุจิเลย ซึ่งแพทย์จะได้รักษาหรือทำการแก้ไขให้เหมาะสม และพร้อมที่จะเก็บไข่หรืออสุจิได้ต่อไป

การเตรียมตัวหลังทำ ICSI

  • ฝ่ายหญิงควรพักผ่อนมากๆ ไม่ควรทำงานหนัก เช่น การยกของหนัก การออกกำลังกายหนักๆ หรือการเดินทางไกล
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์และงดการสวนล้างช่องคลอด
  • ไม่รับประทานยานอกเหนือจากแพทย์สั่ง และควรปฏิบัติตนตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • หากมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดท้อง มีเลือดออก หรือมีตกขาวมากผิดปกติ ควรรีบมาพบแพทย์ที่ดูแลทันที

การทำ ICSI จะตรวจพบการตั้งครรภ์ได้ว่าตั้งครรภ์หรือไม่นั้น ในวันที่ 13 หลังการหยอดตัวอ่อน หากพบว่าตั้งครรภ์แล้วประมาณ 6 สัปดาห์ ก็จะอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดเพื่อดูว่าตัวอ่อนได้ฝังตัวในโพรงมดลูกเรียบร้อยหรือไม่ และเมื่อครบ 8 สัปดาห์ จะมีการตรวจอัลตราซาวด์เพื่อดูการเต้นของหัวใจของทารก หากพบว่าปกติแสดงว่าการตั้งครรภ์ครั้งนี้จะมีโอกาสแท้งได้น้อยมาก

ราคาของการทำ ICSI

ราคาการทำ ICSI จะเพิ่มจากวิธีทำเด็กหลอดแก้วขึ้นมาประมาณ 10,000 – 12,000 บาท ขึ้นอยู่กับว่าเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลหรือเอกชน โดยโรงพยาบาลของรัฐบาลที่ให้บริการการทำ ICSI เช่น รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.ศิริราช ส่วนโรงพยาบาลของเอกชน เช่น รพ.พญาไทย รพ.สมิติเวช

ถึงแม้ว่าการทำ ICSI จะเป็นวิธีที่สามารถแก้ปัญหาภาวะมีบุตรยาก อันเกิดมาจากฝ่ายชายที่ได้ผลมากขึ้น แต่ก็ยังคงได้ผลเพียง 30 – 40% เนื่องจากมีข้อจำกัดของการทำด้วยเช่นกัน โดยที่แพทย์ก็ยังไม่สามารถควบคุมให้ ICSI ประสบผลสำเร็จได้ จนทำให้ต้องทำซ้ำหลายครั้งในบางคู่สมรส จนกว่าจะประสบความสำเร็จและได้ตั้งครรภ์มีบุตรสมความตั้งใจอีกด้วย


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
To ICSI or Not to ICSI. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/25734347)
ICSI-IVF: Risks, What to Expect, and Success Rates. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/what-you-should-know-about-icsi-ivf-1960209)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?
ทำความเข้าใจกับภาวะตั้งครรภ์ที่ไข่ที่ปฏิสนธิไม่ฝังตัว (Chemical Pregnancy) ใช่หรือไม่ใช่?

การตั้งครรภ์ที่เร็วเกินไปที่จะยืนยันด้วยวิธีการทางชีวเคมี

อ่านเพิ่ม
ข้อแนะนำที่ครบครันที่สุดสำหรับการมีเพศสัมพันธ์เพื่อการมีบุตร
ข้อแนะนำที่ครบครันที่สุดสำหรับการมีเพศสัมพันธ์เพื่อการมีบุตร

ทุกอย่างที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับเพศสัมพันธ์เพื่อการตั้งครรภ์

อ่านเพิ่ม
IUI คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง
IUI คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

IUI คืออะไร มีขั้นตอนการทำอย่างไร ข้อดีข้อเสีย สถานที่ให้บริการรวมราคาด้วย

อ่านเพิ่ม