กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

IUI คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

IUI คืออะไร มีขั้นตอนการทำอย่างไร ข้อดีข้อเสีย สถานที่ให้บริการรวมราคาด้วย
เผยแพร่ครั้งแรก 31 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 18 ม.ค. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 10 พ.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
IUI คืออะไร วิธีการทำงาน ข้อดี ข้อเสีย ข้อควรระวัง เหมาะกับใคร วิธีการดูแลตัวเองก่อนและหลัง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะที่เพศชายหรือเพศหญิง ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ หลังจากพยายามมีบุตรอย่างสม่ำเสมอเป็นระยะเวลา 1 ปี อาจเกิดจากฝ่ายชายอาจมีน้ำเชื้อที่ไม่ค่อยแข็งแรง หรือฝ่ายหญิงที่มีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ จนทำให้มีการตกไข่ผิดปกติ
  • เทคนิคทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยให้คู่รักมีลูก มีหลากหลายแบบ เช่น การทำเด็กหลอดแก้ว ICSI IMSI การฝากไข่ แช่แข็งไข่ รวมไปถึงการฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูก หรือ IUI
  • IUI เป็นการฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิ โดยคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรงก่อนฉีดเข้าไปในโพรงมดลูก
  • การทำ IUI จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า หากฝ่ายหญิงได้ใช้ยากระตุ้นการตั้งครรภ์ ร่วมกับทำการ IUI โอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้นประมาณ 3 เท่า และถ้ากระตุ้นรังไข่ด้วยยาฉีดจะโอกาสมากขึ้นเป็น 4 - 6 เท่าเมื่อเทียบกับรอบธรรมชาติ
  • ลองมีลูกมาหลายวิธี ทั้งแบบธรรมชาติ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์ ลูกก็ยังไม่มา ดูแพ็กเกจฝากไข่ แช่แข็งไข่ ได้ที่นี่

หลังแต่งงาน เชื่อว่ามีคู่รักหลายคู่ที่ต้องการมีลูก เพื่อมาเติมเต็มให้กับความเป็นครอบครัว แต่น่าเสียดายที่บางคู่ไม่สามารถมีได้อย่างที่ตั้งใจไว้ ทั้งๆ ที่แต่งงานมาหลายปีและใช้วิธีธรรมชาติ 

แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์อันก้าวหน้าในปัจจุบัน สามารถช่วยให้ฝันของคู่รักหลายคู่เป็นจริง โดยทำให้อสุจิเจอกับไข่และผสมกันได้เร็วขึ้น แล้วก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ในที่สุด ซึ่งเป็นวิธีที่ใกล้เคียงกับวิธีธรรมชาติมากที่สุด เรียกกันว่า วิธี IUI

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

IUI คืออะไร และเหมาะกับใคร

IUI หรือ Intra – uterine insemination เป็นวิธีการนำน้ำเชื้ออสุจิของฝ่ายชายฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิง เพื่อเพิ่มโอกาสในการปฏิสนธิ โดยน้ำเชื้อที่ทำการฉีดเข้าไปนั้นจะต้องผ่านการคัดกรองแล้วว่าเป็นตัวที่แข็งแรง 

โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา คือ ฝ่ายหญิงจะต้องมีไข่ที่สมบูรณ์ ฝ่ายชายต้องมีเชื้ออสุจิที่แข็งแรงในปริมาณที่คัดแล้วจำนวน 5 ล้านตัว ขึ้นไป หากน้อยกว่า 1 – 5 ล้านตัว โอกาสการตั้งครรภ์จะน้อยมาก ซึ่งไม่เหมาะที่จะทำด้วยวิธี IUI

การทำ IUI เป็นวิธีที่เหมาะกับคู่สมรสที่มีบุตรยาก โดยอาจเป็นที่ฝ่ายชายมีน้ำเชื้อที่ไม่ค่อยแข็งแรง หรือฝ่ายหญิงมีปัญหาเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ จนทำให้มีการตกไข่ผิดปกติ

วิธีการทำ IUI

เริ่มจากการกระตุ้นไข่ที่สมบูรณ์ให้ตกและทำการคัดกรองจำนวนอสุจิที่แข็งแรงครบตามจำนวนที่ต้องการ หลังจากนั้นจะใช้อุปกรณ์ที่เป็นท่อพลาสติกเล็กๆ สอดเข้าไปในปากมดลูก จากนั้นฉีดน้ำเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูกในช่วงที่ไข่ของฝ่ายหญิงกำลังตก เพื่อให้ตัวอสุจิว่ายไปที่ท่อนำไข่และทำการผสมตามธรรมชาติเองได้ง่ายขึ้น

หากต้องการทราบว่าจะเกิดการตั้งครรภ์แล้วหรือไม่ เราสามารถตรวจได้ด้วยตนเองจากที่ตรวจครรภ์ หลังจากฉีดน้ำอสุจิเข้าไปแล้ว 12 – 15 วัน และถ้าประจำเดือนยังไม่มาภายใจ 18 วัน ก็สามารถเข้ามารับการตรวจการตั้งครรภ์กับแพทย์เพื่อให้ทราบผลที่ชัดเจนได้

การเตรียมตัวของฝ่ายชายและฝ่ายหญิงกับขั้นตอนการทำ IUI

  • ฝ่ายหญิง

ก่อนทำ IUI แพทย์จะทำการกระตุ้นการตกไข่ของฝ่ายหญิง ด้วยการให้รับประทานยาหรือฉีดยาเพื่อให้เกิดการตกไข่ โดยจะมีการใช้ยาในวันที่ 3 หลังจากประจำเดือนมา จากนั้นแพทย์จะอัลตราซาวด์เพื่อดูขนาดของไข่ หากมีขนาดที่พอเหมาะและพร้อมผสมกับอสุจิแล้ว จึงจะนัดวันฉีดยากระตุ้นให้ไข่ตก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
IVF, IUI, ICSI, IMSI ฝากไข่ แช่แข็งไข่วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 7760 บาท ลดสูงสุด 59%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ภายใน 24 – 40 ชั่วโมงหลังไข่ตก แพทย์จะฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้อสุจิที่แข็งแรงว่ายเข้ามาผสมกับไข่ แล้วนอนพักประมาณ 15 – 30 นาที หลังจากนั้นให้กลับไปพักที่บ้าน หลังทำอาจมีอาการเจ็บเพียงเล็กน้อย ซึ่งเราสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ แต่จะต้องงดการมีเพศสัมพันธ์เฉพาะวันที่ฉีดน้ำเชื้อ ส่วนวันอื่นยังคงมีได้ตามปกติและไม่ควรยกของหนัก

  • ฝ่ายชาย

งดการมีเพศสัมพันธ์ 2 – 3 วัน ก่อนวันที่แพทย์นัดมาทำ IUI เมื่อถึงวันนัดฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก แพทย์จะทำการคัดกรองน้ำอสุจิโดยใช้เวลาประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง

ข้อดี ข้อเสียของการทำ IUI

  • ข้อดี

การทำ IUI จะมีโอกาสตั้งครรภ์มากกว่าโอกาสตั้งครรภ์โดยรอบธรรมชาติประมาณ 2 เท่า หรือ 10 – 20 % แต่ถ้าฝ่ายหญิงได้ใช้ยากระตุ้นการตั้งครรภ์ ร่วมกับทำการ IUI โอกาสการตั้งครรภ์มากขึ้นประมาณ 3 เท่า และถ้ากระตุ้นรังไข่ด้วยยาฉีดจะโอกาสมากขึ้นเป็น 4 - 6 เท่าเมื่อเทียบกับรอบธรรมชาติ นอกจากนั้น การกระตุ้นการตกไข่ อาจทำให้ไข่ตกได้หลายใบ อาจมีโอกาสได้ตั้งครรภ์แฝดอีกด้วย

จะเห็นได้ว่าการทำ IUI โอกาสความสำเร็จมากพอสมควร ราคาไม่แพงมาก และที่สำคัญ คือ ปลอดภัย

  • ข้อเสีย

ถึงแม้โอกาสความสำเร็จมีค่อนข้างสูง แต่ก็มีโอกาสล้มเหลวไม่ต่างกัน เพราะมีเงื่อนไขที่คุณต้องทำ เพื่อช่วยให้ร่างกายของคุณและคนรักแข็งแรงและสมบูรณ์มากที่สุด พร้อมที่จะได้รับการทำIUI

สถานที่ให้บริการและราคาของการทำ IUI

สถานที่ให้บริการการทำ IUI มีทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน เช่น รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.วิภาวดี รพ.พญาไท รพ.เสรีรักษ์ และอีกหลายๆ ที่ โดยวิธี IUI ยังเป็นวิธีที่มีราคาไม่แพงมากนัก 

ในกรณีที่ฝ่ายหญิงจำเป็นต้องใช้ยากระตุ้นการตกไข่ ราคายารับประทานและยาฉีดจะอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 15,000 บาท หากไม่ได้ใช้ยาเพราะมีการตกไข่ได้ดี ราคาก็จะอยู่ที่ประมาณ 5,000 – 8,000 บาท แต่ทั้งนี้ราคาอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้

การทำ IUI นับว่าเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากหรือซับซ้อน แต่เป็นการเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ให้มากขึ้น โดยเป็นวิธีที่ใกล้เคียงกับการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ เหมาะกับผู้มีบุตรยากที่ไม่ต้องการมีค่าใช้จ่ายแพงๆ เหมือนวิธีอื่นนั่นเอง


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Safe fertility center, Intrauterine Insemination (IUI) (https://www.safefertilitycenter.com/iui/)
American Pregnancy Association, Intrauterine Insemination (IUI): Uses Risks And Success Rate (https://americanpregnancy.org/infertility/intrauterine-insemination/), 10 January 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป