วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
เขียนโดย
วริษา ศรีเปลี่ยนจันทร์
นพ.ธนู โกมลไสย
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
นพ.ธนู โกมลไสย

วิธีรักษาโรคซึมเศร้า ทำได้อย่างไรบ้าง

รวมวิธีรักษาโรคซึมเศร้า รักษาด้วยยา รักษาด้วยตนเอง มีรายละเอียดยังไง
เผยแพร่ครั้งแรก 4 ส.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 ต.ค. 2020 เวลาอ่านประมาณ 7 นาที
วิธีรักษาโรคซึมเศร้า ทำได้อย่างไรบ้าง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเศร้า รู้สึกไร้ค่า อยากฆ่าตัวตาย
  • การรักษาโรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วยยารักษาโรคซึมเศร้า การทำจิตบำบัดซึ่งเป็นกระบวนการรักษาผ่านจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัด
  • การรักษาโรคซึมเศร้าต้องรักษาผ่านการดูแลตนเองของผู้ป่วยด้วย เช่น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่กับคนคิดบวก รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง
  • ญาติผู้ป่วยมีส่วนทำให้การรักษาโรคซึมเศร้าคืบหน้ามากขึ้น โดยต้องรู้จักรับฟังผู้ป่วย ไม่กดดันให้ผู้ป่วยหายโดยเร็ว รู้จักพูดจากับผู้ป่วยอย่างนุ่มนวล
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต

โรคซึมเศร้า (Depression) เป็นโรคที่หลายคนกำลังเผชิญอยู่ และพยายามอย่างหนักที่จะก้าวผ่านโรคทางจิตเวชชนิดนี้ไปให้ได้

อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายรายไม่สามารถก้าวผ่านโรคนี้ไปได้ เพราะเลือกจบชีวิตตนเองลงด้วยการฆ่าตัวตาย สาเหตุมักมาจากการที่ผู้ป่วยไม่สามารถเอาชนะอาการของโรคนี้ได้ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการคิดในแง่ลบ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

รู้สึกว่า ตนเองไม่มีความสำคัญ ไม่ดีพอ ไม่เก่งพอจะยืนอยู่บนโลกใบนี้ และอยากตายเพื่อหยุดความคิดเหล่านี้ลง

ความจริงแล้วโรคซึมเศร้ามีวิธีรักษาให้หายได้ เพียงแต่สิ่งสำคัญคือ ผู้ป่วยจะต้องรู้ก่อนว่า ตนเองกำลังป่วยเป็นโรคนี้ เพื่อจะได้หาทางรักษาโรคซึมเศร้าได้อย่างเหมาะสมต่อไป 

ส่วนคนรอบข้าง คนใกล้ชิดต้องให้ความใส่ใจ คอยสังเกตความเปลี่ยนแปลง อาการที่เกิดขึ้น และแนะนำให้ไปผู้ป่วยเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพราะหากป่วยด้วยโรคซึมเศร้าจะได้รักษาให้ทันท่วงที

ความหมายของโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า (Depression) คือ โรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะมีอาการเศร้าผิดปกติ รู้สึกไร้ค่า ไม่อยากมีชีวิตอยู่ ความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวลดลง การนอนหลับแย่ลง คิดอยากฆ่าตัวตายอยู่เกือบตลอดเวลา

โรคซึมเศร้ามีสาเหตุหลักมาจากความผิดปกติของสารเคมีในสมองจนทำให้ภาวะอารมณ์เกิดความผิดปกติ เช่น สารเซโรโทนิน (Serotonin) สารนอร์อีพิเนฟริน (Norepinephrine) นอกจากนี้ยังเกิดได้จากความทรงจำ หรือพัฒนาการของจิตใจผู้ป่วย ที่เผชิญกับเหตุการณ์เลวร้าย หรือสะเทือนใจมาก่อน

ทำอย่างไร? หากสงสัยว่าตนเองเป็นโรคซึมเศร้า

หากสงสัยว่า ตนเองอาจมีอาการโรคซึมเศร้าก็เป็นได้ ควรไปพบจิตแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยจะดีที่สุด เนื่องจากโรคนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสมเท่านั้น ผู้ป่วยจึงจะมีอาการดีขึ้นและหายจากโรคได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แต่หากไม่แน่ใจว่า อาการของตนเองเข้าข่ายโรคซึมเศร้าจริงหรือไม่ ไม่มีเวลา รู้สึกไม่มั่นใจในการไปพบจิตแพทย์ หรือด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตาม ปัจจุบันหลายแห่งมีบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์ (วีดีโอคอล) หรือหากต้องการโทรศัพท์ปรึกษาแพทย์แบบไม่ต้องเห็นหน้า ก็มีให้บริการทำเช่นกัน

หรืออาจใช้บริการขั้นพื้นฐานอย่างคลินิกคลายเครียด สายด่วนสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต โทร 1323 บริการให้คำปรึกษาฟรีตลอด 24 ชั่วโมง 

วิธีรักษาโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าสามารถรักษาได้ด้วย 3 วิธีหลักๆ ได้แก่

1. การรักษาด้วยยา

บางอาการของโรคซึมเศร้าเป็นอาการที่ผู้ป่วยไม่สามารถรักษาได้ด้วยตนเอง เช่น การคิดอยากฆ่าตัวตาย อารมณ์แปรปรวน อาการนอนไม่หลับ ผู้ป่วยจึงต้องอาศัยการรับประทานยาเข้ามาช่วยปรับสมดุลสารในร่างกายร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และความคิดของตนเอง

เมื่อจิตแพทย์วินิจฉัยว่า ผู้ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แพทย์จะจ่ายยาได้แก่ ยาแก้ซึมเศร้า (antidepressants) ยาแก้ภาวะวิตกกังวล (antianxiety) ยาต้านอาการทางจิต (antipsychotics)

ประเภทของยารักษาโรคซึมเศร้าโดยหลักๆ จะมี 3 กลุ่ม ได้แก่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาสุขภาพจิต วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 882 บาท ลดสูงสุด 51%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. ยารักษาโรคซึมเศร้าเอสเอสอาร์ไอ (Selective serotonin reuptake inhibitors: SSRIs) เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าที่นิยมใช้มากที่สุด โดยยากลุ่มนี้จะเข้าไปปรับสมดุลผ่านการลดการหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมภาวะอารมณ์

ตัวอย่างยารักษาโรคซึมเศร้าเอสเอสอาร์ไอ ได้แก่

  • ยาเซอร์ทราลีน (Sertraline)
  • ยาฟลูออซิทีน (Fluoxetine)
  • ยาไซตาโลแพรม (Citalopram)
  • ยาเอสซิตาโพแกรม (Escitalopram)
  • ยาฟลูวอกซามีน (Fluvoxamine)

ยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มนี้อาจส่งผลข้างเคียงบางอย่างขณะใช้ได้ เช่น คลื่นไส้อาเจียน นอนไม่หลับ หรือง่วงนอนในช่วงกลางวัน รู้สึกกระวนกระวาย มีอาการสั่น เกิดอารมณ์ทางเพศน้อยลง

2. ยารักษาโรคซึมเศร้าเอสเอ็นอาร์ไอ (Serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors: SNRIs) เป็นยารักษาโรคซึมเศร้าผ่านการปรับสารเซโรโทนินและสารนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) ซึ่งเป็นสารฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติทางจิต และมีบทบาทเกี่ยวกับความฝัน การตอบสนองต่อความเครียด

นอกจากนี้ยาโรคซึมเศร้าเอสเอ็นอาร์ไอยังสามารถรักษาอาการปวดเรื้อรังตามร่างกาย ซึ่งเป็นอีกต้นเหตุที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าหนักกว่าเดิมได้

ตัวอย่างยารักษาโรคซึมเศร้าเอสเอ็นอาร์ไอ ได้แก่

  • ยาเดสเวนลาแฟ็กซีน (Desvenlafaxine)
  • ยาดูล็อกซีทีน (Duloxetine)
  • ยาเลโวมิลนาซิแพรน (Levomilnacipran)

ผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาโรคซึมเศร้าเอสเอ็นอาร์ไออาจทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย ง่วงนอนระหว่างวัน ปากแห้ง คลื่นไส้อาเจียน และท้องผูก

3. ยารักษาโรคซึมเศร้าไตรไซคลิก (Tricyclic antidepressants: TCAs) โดยปกติแพทย์จะสั่งจ่ายยากลุ่มนี้เมื่อยารักษาโรคซึมเศร้ากลุ่มเอสเอสอาร์ไอไม่ได้ผลเท่านั้น เช่น

  • ยาอะมิทริปไทลีน (Amitriptyline)
  • ยาอะม็อกซาปีน (Amoxapine)
  • ยาด็อกเซปิน (Doxepin)
  • ยาอิมิพรามีน (Imipramine)
  • ยาไตรมิพรามีน (Trimipramine)

ผลข้างเคียงจากใช้ยารักษาโรคซึมเศร้าไตรไซคลิกอาจทำให้ผู้ใช้ความดันโลหิตต่ำ จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ เป็นลมชัก มีอาการอ่อนเพลีย ปากแห้ง และท้องผูก

2. การรักษาโดยการทำจิตบำบัด

นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว จิตแพทย์ยังอาจแนะนำให้รักษาโดยการทำจิตบำบัดซึ่งทำให้ผลการรักษาดีขึ้น ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายรายเองก็ต้องการเข้ารับการรักษา หรือต้องการรับคำแนะนำในการรับมือกับอาการของโร และเข้าใจวิธีใช้ชีวิตร่วมกับโรคซึมเศร้าได้

นอกจากนี้ในระหว่างทำจิตบำบัด ทางจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดจะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนระบบความคิดที่เป็นผลกระทบมาจากโรคซึมเศร้าให้เหมาะสมขึ้น เช่น

  • การประเมินความสามารถของตนเองต่ำ คิดว่า ตนเองเป็นคนไม่เก่ง ไม่ดีพอกับใครเท่านั้น
  • ความคิดว่า ความตายเป็นทางออกเดียวของปัญหาเท่านั้น
  • ความวิตกกังวลเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างจนไม่มีสมาธิทำอย่างอื่น
  • ความคิดแง่ลบต่อสิ่งรอบตัว

ตัวอย่างคำแนะนำที่ผู้ป่วยอาจได้รับเพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันระหว่างรักษาโรคซึมเศร้าด้วยตนเอง ได้แก่

  • โรคซึมเศร้าสามารถรักษาให้หายได้ ความรู้สึกไร้ค่า ไม่มีใครสนใจ หรือ เราคือ ผู้แบกรับความทุกข์ไว้ทุกอย่างแต่เพียงผู้เดียวนั้นสามารถหายไปได้ และไม่มีทางที่ความรู้สึกนี้จะอยู่สร้างความทรมานให้เราได้ตลอดไป

  • ไม่จำเป็นต้องตั้งเป้าหมายในชีวิตประจำวันยากจนเกินไป และไม่จำเป็นต้องตั้งเป้าหมายให้เหมือนกับคนอื่นด้วย

    โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องปล่อยให้สุขภาพจิตผ่อนคลาย ไม่เครียด หรือวิตกกังวล ความพยายามจะทำตามเป้าหมาย และกระตุ้นตนเองให้ทำบางสิ่งบางอย่างให้ได้มากเกินไปอาจทำให้ผู้ป่วยผิดหวังในตนเอง หากทำไม่ได้ดั่งที่คิด

  • หาเวลาทำกิจกรรมที่ตนเองชอบ หรือชอบไปสถานที่ไหน ฟังเพลงอะไร ให้เลือกทำสิ่งนั้นมากกว่าฝืนในสิ่งที่ตนเองไม่ชอบ

  • หากจำเป็นต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญในชีวิต เช่น การลาออกจากงาน การตัดสินใจเรียนต่อ การย้ายที่อยู่ การหย่าร้าง หรือเลิกรา แล้วยังรักษาโรคซึมเศร้าไม่หายดีพอ ควรเลื่อนการตัดสินใจออกไปก่อน เพราะความคิดในระหว่างเป็นโรคซึมเศร้าอาจทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่า ตนเองตัดสินใจผิดพลาด

    หรือหากต้องตัดสินใจในบางเรื่องจริงๆ ให้ปรึกษาจิตแพทย์ หรือปรึกษาผู้ใหญ่ คนใกล้ชิดที่ไว้ใจ และให้คำปรึกษาได้ดี

  • ลำดับความสำคัญในการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวัน เพื่อให้มีเป้าหมายในการทำงานในแต่ละวันอย่างชัดเจน รวมถึงสามารถแยกแยะปัญหาได้ว่า ควรจัดการแก้ไขปัญหาส่วนไหนก่อน หรือหลัง

  • ลองเรียบเรียงข้อดีของตนเอง เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นว่า ตนเองก็มีคุณค่า มีข้อดีที่น่าชื่นชม และมีจุดเด่นในตัวบางอย่างเช่นเดียวกับผู้อื่น

  • เข้าใจความเป็นตนเองให้มากขึ้น และไม่จำเป็นต้องใส่ใจความคิดของผู้อื่นที่มีต่อตนเองมากขนาดนั้น

    ผู้ป่วยจะเข้าใจมากขึ้นด้วยว่า ปากเสียง และความคิดของคนรอบตัวไม่ได้มีอิทธิพล และไม่ได้ส่งผลให้ชีวิตผู้ป่วยแย่ลง หรือดีขึ้นได้ มีแต่ตัวเราเองเท่านั้นสามารถทำให้ทุกความคิด ทุกการกระทำพัฒนาดีขึ้นได้อย่างที่ใจคิด

3. การรักษาโดยการดูแลตนเอง

นอกจากการรักษาผ่านการรับประทานยา การทำจิตบำบัด จิตแพทย์จะแนะนำการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม เพื่อบรรเทาไม่ให้อาการของโรคส่งผลต่อระบบความคิด และการใช้ชีวิตประจำวันมากเกินไป เช่น

  • ออกกำลังกาย หลายคนอาจไม่ชอบการออกกำลังกาย แต่กิจกรรมนี้มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเบนความสนใจไปจากความเศร้า และหันไปมีสมาธิกับการออกกำลังแทน เพื่อให้รู้สึกสนุกไปกับการออกกำลังกาย และได้มีสุขภาพแข็งแรงมากขึ้นด้วย

  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด หากรู้สึกว่า ความคิดด้านลบ หรือความเศร้าน้อยลง ห้ามลดปริมาณยา หรือหยุดยาเองเด็ดขาด แต่ให้ไปปรึกษากับจิตแพทย์เกี่ยวกับอาการที่ดีขึ้นว่า ควรปรับยาอย่างไร เพราะการปรับยารักษาโรคซึมเศร้าเองมีส่วนทำให้คุณกลับไปเป็นโรคซึมเศร้าหนักกว่าเดิมได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการดื้อยา

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะอาหารที่มีประโยชน์ก็มีส่วนช่วยให้สารเคมีในสมอง รวมถึงฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับภาวะอารมณ์ทำงานได้อย่างสมดุลด้วย 
  • งดดื่มสุราและหารใช้สารดสพติด เพราะสุรานอกจากจะมีผลต่ออารมณ์ การใช้เหตุผลและการตัดสินใจแล้ว สุรายังไปลดสาร serotonin ในสมอง ส่งผลให้อาหารซึมเศร้ากำเริบได้อีกด้วย
  • พักผ่อนให้เพียงพอ โรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยหลายรายไม่สามารถนอนหลับได้ หรือนอนหลับไม่สนิท ซึ่งจะยิ่งทำให้อาการโรคซึมเศร้ารุนแรงมากขึ้น หากต้องพึ่งยานอนหลับให้ปรึกษากับทางจิตแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  • ทดลองทำสิ่งใหม่ๆ คุณอาจมองหางานอดิเรกใหม่ๆ รวมถึงลองทำสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อน เช่น ออกกำลังกายแบบใหม่ๆ อ่านหนังสือเล่มใหม่ ไปลงเรียนคอร์สเรียนต่างๆ เพิ่มเติม การทำในสิ่งที่ไม่เคยทำจะทำให้คุณอาจมีแรงผลักดัน และรู้สึกสนุกไปกับสิ่งที่ไม่เคยลองก็ได้
  • อยู่กับคนที่คิดบวก ในระหว่างปรับสภาพจิตใจให้กลับมาเป็นปกติ ทางที่ดีคุณควรอยู่กับผู้ที่มีความคิดด้านบวก สามารถให้แรงบันดาล หรือปลอบใจ ให้แรงผลักดันดีๆ ในการใช้ชีวิต  หรืออาจเป็นผู้ที่สามารถรับฟังปัญหาคุณได้ มากกว่าผู้ที่มีความคิดด้านลบ เอาแต่ต่อว่าคนอื่น หรือไม่เข้าใจความหมายของโรคซึมเศร้าจริงๆ

คำแนะนำเกี่ยวกับญาติผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

การมาพบจิตแพทย์ หรือนักจิตบำบัดอาจใช้เวลาเจอหน้าพูดคุยกันไม่กี่ชั่วโมงที่โรงพยาบาล ซึ่งก็จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นในเวลาสั้นๆ เท่านั้น แต่นอกเหนือจากเวลาเหล่านั้น ผู้ป่วยจะต้องเผชิญกับอาการโรคซึมเศร้าที่บ้าน หรือที่ทำงานเป็นเวลานานกว่าหลายเท่า

ดังนั้นคนในครอบครัว ญาติ หรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยจึงเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยสามารถข้ามผ่านโรคซึมเศร้าไปได้ ทำให้คนกลุ่มนี้ควรต้องทำความเข้าใจความหมายของโรค วิธีการรักษา และวิธีปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เพื่อให้การรักษาได้ผลลัพธ์ดียิ่งขึ้น เช่น

  • เข้าใจว่า โรคซึมเศร้าไม่ใช่การเรียกร้องความสนใจ และเป็นโรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เป็นโรคที่เกิดจากการหลั่งสารเคมีที่ผิดปกติ
  • รู้จักรับฟังสิ่งที่ผู้ป่วยรู้สึก หรือกำลังคิดในขณะนั้น โดยไม่ตัดสินความคิดเหล่านั้นว่า ถูก หรือผิด แต่เพียงเป็นผู้ฟังที่ดีก็เพียงพอแล้ว
  • ไม่คาดหวัง หรือกดดันให้ผู้ป่วยต้องรักษาตนเองให้หายโดยเร็ว ควรพูดคุยกัน และปฏิบัติตนกับผู้ป่วยเหมือนคนปกติทั่วไป รวมถึงแสดงออกว่า พร้อมจะช่วยเหลือผู้ป่วยหากเกิดปัญหาใดขึ้น
  • พูดจากับผู้ป่วยอย่างใจเย็น นุ่มนวล หลายคนมักเข้าใจผิดว่า การทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหายได้ต้องใช้คำพูดรุนแรง ตรงไปตรงมา ต้องตะคอก ใช้เสียงดัง หรืออาจต้องลงไม้ลงมือด้วย ซึ่งวิธีเหล่านี้ไม่มีประโยชน์แต่อย่างใด และยังส่งผลเสียทำให้ผู้ป่วยอาการแย่ลงด้วย
  • หมั่นย้ำให้ผู้ป่วยรับประทานยาตามหมอสั่งอยู่เสมอ อย่าให้ผู้ป่วยหยุดยาเอง

เราทุกคนควรเข้าใจถึงต้นตอของการเกิดโรค รวมถึงวิธีรักษาไว้เป็นข้อมูลเบื้องต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสูญเสียโดยมีสาเหตุมาจากโรคซึมเศร้า

เมื่อมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ในเบื้องต้นแล้ว แล้วพบว่า มีคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคซึมเศร้า คุณจะได้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคนี้ให้หาย และทำให้โลกของผู้ป่วยรายนั้นกลับมาเป็นโลกที่สวยงาม ปราศจากจากพลังด้านลบได้อีกครั้ง

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


6 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Susan J. Bliss, What Medications Help Treat Depression? (https://www.healthline.com/health/depression/medication-list), 31July 2020.
Joseph Goldberg, 10 Natural Depression Treatments (https://www.webmd.com/depression/features/natural-treatments#2), 31 July 2020.
Gilbert, Paul, Psychotherapy and counselling for depression (3rd ed.). Los Angeles: SAGE. ISBN 9781849203494. OCLC 436076587.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ความเป็นจริงของภาวะติดเกมออนไลน์มากผิดปกติ (Internet Gaming Disorder)
ความเป็นจริงของภาวะติดเกมออนไลน์มากผิดปกติ (Internet Gaming Disorder)

ผู้ที่เล่นเกมออนไลน์มากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน

อ่านเพิ่ม
มีการเชื่อมโยงระหว่างบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality) กับความรุนแรงหรือไม่?
มีการเชื่อมโยงระหว่างบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality) กับความรุนแรงหรือไม่?

อะไรคือความคาดหวังจากคนรักที่มีอาการบุคลิกภาพชนิดก้ำกึ่ง (Borderline Personality)?

อ่านเพิ่ม
ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพแบบไม่เด่นชัด (Personality Disorder Not Otherwise Specified)
ภาวะความผิดปกติด้านบุคลิกภาพแบบไม่เด่นชัด (Personality Disorder Not Otherwise Specified)

เป็นการวินิจฉัยเก่าจากตำราวินิจฉัยด้านความผิดปกติทางจิตฉบับที่ 4 (The Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, fourth edition DSM-IV)

อ่านเพิ่ม