เก็บยาอย่างไรให้เหมาะสม

เผยแพร่ครั้งแรก 1 ม.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที
เก็บยาอย่างไรให้เหมาะสม

แหม… ดูว่าประเทศไทยเราปัจจุบันนี่จะเหลือเพียง 2 ฤดูแล้วล่ะค่ะ ฤดูอะไรเหรอ ?!? ก็ฤดูร้อน กับ ฤดูร้อนมาก..ก… น่ะสิคะหลังจากที่ลมหนาวได้ พัดผ่านมาทักทายเมื่อหลายสัปดาห์ก่อน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ทำให้หลายคนเริงร่าไปหยิบเอาเสื้อกันหนาวตัวเก่งมาปัดฝุ่นรอใส่ ได้ใส่เป็นสีสันแปลกตาอยู่ไม่กี่วัน (ย้ำ… ไม่กี่วันจริง ๆ!) ก็ต้องอัญเชิญเข้ากรุสมบัติต่อ ไม่รู้ว่าโรงพยาบาลของเราไปเซ็นสัญญาจับจองตัวพระอาทิตย์ให้มาลอยหัวโด่อยู่ เฉพาะที่นี่หรือเปล่า มันถึงได้ร้อนจนตับไตไส้พุงจะสุกซะขนาดนี้ ยิ่งฝ่ายไหนที่มีบุคลากรที่นิยมเลี้ยงพระอาทิตย์น้อย ๆ ไว้บนหน้าผาก ^_^ ด้วยแล้วล่ะก้อ… คนในฝ่ายนั้นคงยิ่งร้อนสาหัสสากรรจ์เอาการเลย ฮ่า… อ๊ะ! จะว่าไปก็เข้าตัวแฮะ

เฮ้อ…อากาศร้อนขนาดนี้ ก็คงไม่มีอะไรจะดีเท่ากับการนอนเกยตื้นหน้าพัดลม แล้วเปิดพุงผึ่งลมเล่นเย็น ๆ ใจหรอกนะคะ

เอ… คนยังร้อนกันขนาดนี้ แล้วยาจะร้อนเป็นด้วยหรือเปล่านะ …คุณ ๆ สงสัยอย่างนี้กันบ้างไหมคะ

pt03ไม่สงสัยหรอกค่ะ ยาก็คือยา ไม่ได้มีชีวิตอย่างคนเรา ดั๊นไม่เห็นว่าจะเป็นปัญหาอะไรเลยนี่

…โฉมสะคราญเสียงทรมานใจตอบกลับมาอย่างมาดมั่น ก่อนจะโยนถุงยาไปไว้บริเวณใต้กระจกด้านหน้าของรถคันงาม แล้วสตาร์ทรถเสียงกระหึ่ม

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

rx13ปล่อยไว้ไม่ได้ค่ะ… อย่างนี้ปล่อยไว้ไม่ได้!

ทั้งนี้ก็เพราะถ้าปล่อยให้เธอจากไปก็คงร้อนถึงเภสัชกรคนงามต้องปั่นจักรยานฮ่าง (โถ…อนาถยิ่งกว่ามอเตอร์ไซค์ฮ่างอีกนะนั่น!) ตามหลังรถคันโก้จนน่องโตแน่ ๆ

จำต้องรีบไปเคาะกระจกรถป๊อก ๆ บอกเธอว่า คุณพี่ขา ที่วางของหน้ารถนั้นไม่ใช่ที่ที่ควรจะเก็บยาเลยนะคะ เพราะมันร้อนแสนร้อน..น… แม้ยาจะไม่ใช่สิ่งมีชีวิต (คงงั้นแหละ… เพราะเวลาเจอความร้อนเราก็ไม่เคยได้ยินมันบ่นกระปอดกระแปดเรียกหาพัดลมกับน้ำเย็น ๆ สักแก้ว เอื้อก…ชื่นจาย..ย… อย่างคนเรา) แต่ความร้อนก็ทำให้ยาเสื่อมสภาพ รักษาโรคไม่หายและอาจเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้ด้วยนะคะ

 

อ้าว..ว… งั้นรึ อย่ากระนั้นเลย เอายาเข้าไปแช่ในตู้เย็นเลยดีกว่าแฮะ ปล่อยให้มันร้อนมาก เดี๋ยวมันจะไม่เพียงแค่ละลายในปาก(แหวะ! …ขม) แต่อาจจจะละลายในมือด้วยน่ะซี …ด้วยความเห็นอกเห็นใจว่ายาจะร้อนเหมือนตัวเอง ผสมกับความรู้สึกเก็บกดที่อยากจะเอาตัวเข้าไปแช่ในตู้เย็นบ้างแต่ทำไม่ได้ ฮ่า… ก็เลยทำให้ใครบางคนกลายเป็นผู้หวังดีแต่ประสงค์ร้ายโดยไม่รู้ตัว!

pt05อ้าว..ว… ไหงว่างั้นล่ะหือ??? หวังดีประสงค์ร้ายยังไง …ไม่เข้าใจอ่ะ!?!

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

rx07อย่างนี้ค่ะ… หลักในการเก็บรักษายาที่ถูกต้อง นอกจากว่าควรจะเก็บให้พ้นแสงสว่างแล้ว ก็ยังควรเก็บในที่เย็นก็จริง แต่ที่นั้นก็ควรเป็นที่แห้ง-ไม่ชื้นด้วยนะคะ จึงไม่ควรจะเก็บยาในห้องน้ำ หรือในตู้เย็น ยกเว้นยาบางรายการที่มีการระบุให้เก็บในตู้เย็นค่ะ

 

การเก็บยารายการที่ไม่ได้มีการระบุว่าต้องเก็บในตู้เย็นไปไว้ในตู้เย็นโดยหวังผลจะหลีกเลี่ยงการเสื่อมสภาพจากความร้อน ก็อาจกลายเป็นเร่งให้ยานั้นเสื่อมสภาพจากความชื้นไปซะอีกแน่ะ โถ… ก็หวังดีอ่ะ ไม่น่าเลย..ย…

ร้อนไปก็ไม่ได้ เย็นไปก็ไม่ดี เอาใจยากเหมือนกันนะเนี่ยเจ้า “ยา” เอ๋ย…

นอกจากจะไม่ให้ยาถูกความร้อนหรือแสงแดด โดยหลีกเลี่ยงการวางไว้หน้ารถแล้ว
การวางบนหลังตู้เย็นหรือบนโทรทัศน์ ก็อาจทำให้ยาถูกความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านี้ได้ จึงควรหลีกเลี่ยงเช่นกันนะคะ

 

ไหน ๆ ก็คุยกันถึงเรื่องหลักของการเก็บยากันไปบ้างแล้ว ก็ขอเล่าต่ออีกสักหน่อยนะคะ

หา… ไม่อยากจะฟังแล้วเหรอ!!!   โธ่… ฟังหน่อยน่า คนเล่ากำลังน้ำลายแตกฟองเลย ฮ่า…

rx03

 

สิ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งของการเก็บยา…นั่นก็คือ เก็บไว้ในที่ที่เหมาะสมค่ะ ไม่ควรเก็บยาไว้ในตู้กับข้าว จะให้ดีก็คือเก็บไว้ในตู้ยาสามัญประจำบ้านไปเลย และติดตั้งไว้ในที่สูงพ้นมือเด็กนะคะ ก็ยาสมัยนี้น่ะมีหลากสีหลายรูปแบบน่ารับประทานออก เด็กอาจนึกว่าเป็นขนม (คุณแม่ใจดำ ซื้อขนมมาก็ไม่แบ่งหนูด้วย ฮึ่ม…) แอบหยิบไปรับประทานได้น่ะสิคะ แล้วก็จะร้อนถึงคุณพ่อคุณแม่ที่จะเต้นจังหวะชะชะช่าเป็นเจ้าเข้าก่อนจะแจ้นไปพบคุณหมอ ช่วยคุณลูกขาทีค่า… ให้วุ่นวายไป

นอกจากนี้ก็ไม่ควรเก็บยาต่างชนิดกันไว้ในภาชนะบรรจุเดียวกันด้วยนะคะ หากแต่ควรเก็บยาในภาชนะบรรจุที่ได้มา
rx01อ้อ! หากยาเม็ดที่คุณได้รับอยู่ในรูปแบบบรรจุแผง ก็ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะแกะเม็ดยาออกหมดเพื่อให้เก็บง่าย ไม่เปลืองเนื้อที่นะคะ เพราะการบรรจุยาในแผงก็จะช่วยป้องกันความชื้นและแสงแดดได้ระดับหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นข้อดีอยู่แล้วน่ะค่ะ แหม… ทำเป็นขำ มีบางคนเค้าทำอย่างนี้จริง ๆ นะตัวเอง ปิดฝาหรือซองให้สนิทเมื่อไม่ได้ใช้ยา

และไม่ควรดึงฉลากออก เพราะจะทำให้สับสนเมื่อมีความต้องการใช้ยา เนื่องจากไม่รู้ว่ายาตัวไหนคือยาที่เราต้องการใช้กันแน่ แล้วจะต้องใช้อย่างไรกันล่ะเนี่ย ก็ข้อมูลที่จำเป็นในการใช้ยาถูกดึงออกไปแล้วนี่ โธ่… เมื่อรู้สึกตัวก็สายเสียแล้ว..ว… ยาทุกชนิดต้องมีฉลากติดไว้อย่างชัดเจนค่ะ ถ้าฉลากเลอะเลือนหรือฉีกขาดต้องรีบทำใหม่ หากไม่แน่ใจควรทิ้งยาไปเลย
ควรแยกยาประเภทกินออกจากยาประเภทสูดดมและทาภายนอก ไม่นำมาเก็บปะปนกันค่ะ และไม่ค้วรรรรรร…ไม่ควรนำยาอื่นมาใส่ในภาชนะบรรจุของยาคนละชนิดนะคะ เพราผู้อื่นจะเข้าใจผิด หรือในเวลาฉุกเฉิน ตนเองก็อาจลืมและหยิบใช้ยาผิด

และควรหมั่นตรวจดูวันหมดอายุของยาบนกล่องหรือฉลาก เมื่อหมดอายุควรทิ้งทันทีค่ะ หรือหากพบยาที่เปลี่ยนสีหรือลักษณะต่างจากเดิมควรทิ้งทันทีเช่นกัน แม้จะยังไม่หมดอายุก็ตาม

 

เมื่อรู้วิธีการเก็บยา ก็น่าจะได้รู้วิธีการกำจัดยา (เจ้าคือจุดอ่อน เชิญออกไปจากบ้านชั้นย่ะ!) ด้วยนะคะ ก็ในกรณีที่แพทย์บอกให้คุณหยุดใช้ยา คุณก็ควรได้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่าจะเก็บยาที่เหลือไว้ใช้ได้อีกหรือไม่ ถ้าไม่ได้… ตำราบางเล่มแนะนำให้ทิ้งยานั้นลงในโถส้วมค่ะ ธ่อ… ก็ฉันมันไร้ค่าแล้วนี่! แล้วกดน้ำหรือราดน้ำไล่ยาทิ้งไปให้หมด ที่ต้องทำอย่างนี้ก็เพื่อป้องกันคนอื่นเอาไปใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

 

ไม่ควรจะให้ยาที่เหลือกับคนอื่นนะคะ!!!

rx07เพราะยาที่ใช้ แพทย์จะสั่งให้เพื่อการรักษาเฉพาะโรคเฉพาะราย

ซึ่งอาจไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้กับผู้อื่น

เฮ้อ… ก็รู้อยู่ว่า “คนไทย ใจดี” อย่างที่โฆษณาบอกไว้

แต่บางที “น้ำเอย…น้ำใจ” ก็ไม่ควรนำมาใช้กับเรื่องยานะคะ


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป