แนะนำวิธีการจัดการกับความขี้เกียจ

ในบางครั้งความขี้เกียจที่มากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อการทำงานและการเรียนได้ ลองจัดการกับความขี้เกียจด้วยวิธีเหล่านี้ดู
เผยแพร่ครั้งแรก 20 พ.ค. 2020 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 6 นาที
แนะนำวิธีการจัดการกับความขี้เกียจ

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการขี้เกียจเรียน ทำการบ้าน หรือทำงาน เป็นเรื่องปกติที่พบได้ในคนทั่วไป แต่หากอาการขี้เกียจเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนเรื้อรัง จนส่งผลกระทบต่อการเรียน การงาน นั่นอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติของภาวะจิตใจหรือสุขภาพร่างกาย
  • แนะนำวิธีจัดการความขี้เกียจเบื้องต้น โดยให้กำหนดเป้าหมายในการทำงาน วางแผนในการทำงานให้ชัดเจน และปรับความคิดว่าตัวเองสามารถทำสิ่งนั้นได้ จะช่วยให้จัดการกับงานได้ดีขึ้น
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสมจะช่วยเพิ่มความกระปรี้กระเปร่าให้กับร่างกายได้ เช่น รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงและไขมันสูง ออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ในบางครั้งอาการขี้เกียจเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติในร่างกายได้ เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวลทั่วไป ภาวะเครียด โรคโลหิตจาง ภาวะขาดวิตามิน หรือภาวะต่อมหมวกไตล้า ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาแพทย์

ไม่ว่าใครก็ต้องเคยมีวันที่รู้สึกขี้เกียจไปเรียน ทำการบ้าน หรือทำงาน ซึ่งปกติแล้วอาจแก้ไขได้ด้วยการแบ่งเวลาพักผ่อน ผ่อนคลายสักพักหนึ่ง แล้วค่อยกลับไปทำสิ่งที่ต้องทำอีกครั้ง แต่หากอาการขี้เกียจเกิดขึ้นบ่อยครั้งจนเรื้อรัง จนส่งผลกระทบต่อการเรียน การงาน นั่นอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติของภาวะจิตใจหรือสุขภาพร่างกายได้

จัดการกับความขี้เกียจอย่างไรดี?

หากเริ่มรู้สึกว่าอาการขี้เกียจส่งผลกระทบกับประสิทธิภาพในการเรียนหรือการทำงาน วิธีการจัดการความขี้เกียจเหล่านี้อาจช่วยได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

1. กำหนดเป้าหมายเล็กและใหญ่

ในบางครั้ง การตั้งเป้าหมายที่ยากเกินไปหรือต้องใช้ระยะเวลานานเกินไป อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยได้

ความเหนื่อยจากการทำงานหรือการเรียนที่สะสมจะทำให้คุณรู้สึกอ่อนเพลีย เบื่อหน่าย หมดความสนใจ หรือแรงจูงใจในการทำงาน จนเข้าสู่ภาวะขี้เกียจได้ แนะนำให้เปลี่ยนเป็นการกำหนดเป้าหมายเล็กและใหญ่จะดีกว่า

  • เป้าหมายเล็ก เป็นสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน สามารถทำสำเร็จได้ไม่ยาก เช่น อ่านหนังสือเรียนวันละ 5 หน้า
  • เป้าหมายใหญ่ เป็นสิ่งที่คาดหวังว่าจะสำเร็จในอนาคต ต้องใช้ระยะเวลาช่วงหนึ่งในการลงมือทำถึงจะประสบความสำเร็จ โดยอาจต่อยอดมาจากเป้าหมายเล็ก เช่น อ่านหนังสืออย่างน้อยเดือนละ 3 เล่ม

การที่คุณสามารถทำเป้าหมายเล็กให้สำเร็จในแต่ละวันได้นั้น จะช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจและไม่ทำให้รู้สึกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ยากหรือเป็นภาระหนักจนเกินไปนั่นเอง

2. ยอมรับในผลงานของตัวเอง

ไม่มีใครเป็นคนที่เก่งหรือสมบูรณ์แบบในทุกด้าน ทุกคนล้วนมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป

การคาดหวังว่าผลงานทุกชิ้นจะต้องออกมาสมบูรณ์แบบไม่มีที่ติมากจนเกินไปอาจทำให้เกิดผลเสียได้ เมื่อผลงานไม่เป็นไปอย่างที่หวังก็อาจทำให้คุณรู้สึกผิดหวัง เครียด และไม่มั่นใจในตัวเอง จนไม่อยากจะทำสิ่งนั้นอีก นำไปสู่ความขี้เกียจ

นอกจากนี้ การผิดหวังเป็นประจำหรือมีความเครียดสะสมเป็นระยะเวลานานก็อาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวลได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

แนะนำให้ปรับเปลี่ยนความคิดของตัวเอง ยอมรับผลลัพธ์ของงานที่ทำออกมาอย่างตั้งใจ และเมื่อเกิดความผิดพลาดก็นำข้อผิดพลาดเหล่านั้นไปแก้ไขในงานชิ้นต่อไป จะช่วยให้รู้สึกอยากเรียนหรือทำงานเพื่อพัฒนาตัวเองมากยิ่งขึ้น

3. เชื่อมั่นว่าตัวเองสามารถทำสิ่งนั้นได้

การคิดในแง่ลบว่าไม่สามารถทำสิ่งนั้นได้ตั้งแต่เริ่มต้น ส่งผลเสียต่อการทำงานและการเรียนมากกว่าที่คิด เพราะจะทำให้คุณหมดกำลังใจที่จะทำสิ่งนั้น ไม่อยากทำ และกลายเป็นความขี้เกียจ

ลองปรับเปลี่ยนความคิดตัวเอง เชื่อมั่นว่าเราสามารถทำสิ่งนั้นได้ โดยการพูดให้กำลังใจกับตัวเองในทุกๆ วัน จะทำให้ความรู้สึกต่องานหรือการเรียนดีขึ้น

4. วางแผนในการทำงาน

การวางแผนงานจะช่วยให้จัดสรรงานหรือการเรียนได้ง่ายขึ้น เพราะคุณจะมองเห็นภาพรวมของงานทั้งหมด รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้างตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ และสามารถเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ด้วย

ตัวอย่างรูปแบบในการวางแผนการทำงานที่นิยมมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ

  • แพลนเนอร์ (Planner) มีการจัดจำหน่ายหลายรูปแบบ โดยสามารถบันทึกแผนงานเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน ไปจนถึงรายปีได้
  • บุลเล็ตเจอร์นัล (Bullet journal) หรือที่นิยมเรียกกันสั้นๆ ว่า บูโจ (BUJO) มีจุดเด่นคือ การกำหนดเรื่องสำคัญ หรือสิ่งที่ต้องทำเป็นบุลเล็ต

5. ประยุกต์ใช้จุดแข็งของตัวเองในการเรียนหรือการทำงาน

การนำจุดแข็งของตัวเองมาประยุกต์ใช้กับการเรียนหรือการทำงานจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจยิ่งขึ้น เช่น หากคุณถนัดในด้านการนำเสนอแผนงาน ก็ให้รับผิดชอบด้านนั้นเป็นหลัก และพัฒนาจุดด้อยของตัวเองควบคู่ไปด้วยโดยการเรียนรู้จากผู้อื่น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
โปรแกรมตรวจสุขภาพวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 99 บาท ลดสูงสุด 96%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรกดดันหรือคิดมากเรื่องจุดด้อยของตัวเองมากเกินไป เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะรอบรู้ไปเสียทุกด้าน

6. ให้ความสำคัญกับความสำเร็จ

หลายครั้งที่เรามักจะให้ความสำคัญกับความล้มเหลวมากจนมองข้ามความสำเร็จในชีวิตไป และเผลอลดคุณค่าของตัวเองโดยไม่รู้ตัว

แนะนำให้ลองจดบันทึกสิ่งที่ทำสำเร็จในทุกๆ วัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่บ้านหรือที่ทำงาน วิธีนี้จะช่วยให้คุณมองเห็นคุณค่าของตัวเองมากขึ้น เสริมสร้างความมั่นใจ และการคิดบวก (Positive thinking) มากยิ่งขึ้น

7. รู้จักขอความช่วยเหลือ

หลายคนเชื่อว่าการขอความช่วยเหลือแสดงถึงความล้มเหลวในการทำงาน การเรียน หรือเป็นการแสดงความโง่เขลา นั่นไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง ความจริงคุณสามารถขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นได้ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่คุณจะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ควรทำสิ่งนั้นให้เต็มที่ก่อน

ตัวอย่างเช่น ได้รับมอบหมายให้ทำรายงานหัวข้อหนึ่งก็ควรหาข้อมูลด้วยตัวเองก่อน ถ้าสุดท้ายไม่สามารถหาข้อมูลที่ต้องการได้จริงๆ ก็ให้นำข้อมูลที่คุณหาได้ในเบื้องต้นไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ การที่คุณไม่ทำอะไรเลย คอยแต่จะขอความช่วยเหลือผู้อื่น อาจทำให้ถูกมองว่าเป็นคนขี้เกียจได้

นอกจากนี้ ข้อดีของการขอความช่วยเหลือผู้อื่นจะช่วยให้คุณมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นมาก รู้จักการเข้าสังคม การวางตัว และได้ความรู้ใหม่ๆ มุมมองใหม่ๆ อีกด้วย

8. หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าที่ทำให้เบี่ยงเบนความสนใจจากการทำงานหรือการเรียน

ในระหว่างที่ทำงานหรือเรียนหนังสือ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้คุณถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ โดยสิ่งเหล่านั้นมักเป็นสิ่งที่เราชื่นชอบ เช่น การเล่นโซเชียลมีเดีย (Social Media) การเล่นกับเพื่อน

การหลีกหนีจากสิ่งเร้าไปยังสถานที่ที่เงียบสงบเหมาะแก่การทำงาน เช่น ห้องสมุด หรือโต๊ะทำงาน จะช่วยเพิ่มบรรยากาศในการทำงาน ทำให้คุณมีสมาธิจดจ่อยิ่งขึ้น

9. อย่าลืมให้รางวัลกับตัวเอง

การให้รางวัลตัวเองเมื่อทำเป้าหมายสำเร็จจะทำให้รู้สึกมีกำลังใจที่จะทำเป้าหมายต่อไปมากขึ้น เช่น ซื้อสิ่งของที่อยากได้ หาของอร่อยๆ มารับประทาน หรือไปเที่ยวต่างจังหวัดเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ

การที่คุณกดดันตัวเองมากเกินไป ไม่แบ่งเวลาผ่อนคลายร่างกายและสมอง จะทำให้เกิดความเครียดสะสมจนรู้สึกเหนื่อยล้า ไม่อยากทำงาน จนเข้าสู่ภาวะขี้เกียจในที่สุด

ปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตเพื่อพิชิตความขี้เกียจ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมชีวิตหันกลับมาดูแลใส่ใจสุขภาพร่างกายของตัวเอง เป็นอีกหนึ่งวิธีการจัดการความขี้เกียจที่เห็นผล เพราะเมื่อเรามีสุขภาพกายและใจที่ดี ย่อมส่งผลให้กระบวนการคิดและเรียนรู้ดีขึ้นตามไปด้วย อีกทั้งยังมีแรงในการทำงานและเรียนหนังสืออย่างเต็มเปี่ยม

1. รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง

โปรตีนเป็นแหล่งอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่าง และรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้คุณกระปรี้กระเปร่ามากยิ่งขึ้น

ตัวอย่างอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น

  • กรีกโยเกิร์ต (Greek yogurt)
  • ถั่วอัลมอนด์ (Almond)
  • ไข่ไก่
  • ปลาทูน่า

2. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง

การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูงจะทำให้รู้สึกง่วงนอนได้ อีกทั้งยังเป็นอันตรายต่อร่างกาย อาจทำให้เกิดโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนได้

ตัวอย่างอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง เช่น

  • น้ำหวาน ชา กาแฟ
  • ผลิตภัณฑ์จากแป้งขัดขาวต่างๆ เช่น ขนมปังขาว ข้าวหอมมะลิ
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • ของทอด อาหารฟาสต์ฟู้ด (Fast food)

3. ออกกำลังกายเป็นประจำ

คุณควรออกกำลังอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ หรือ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

นอกจากนี้ การออกกำลังกายยังช่วยเพิ่มระดับโกรทฮอร์โมน (Growth hormone) และกลุ่มฮอร์โมนแห่งความสุข ไม่ว่าจะเป็น เอนดอร์ฟิน (Endorphin) โดพามีน (Dopamine) หรือเซโรโทนิน (Serotonin)

การออกกำลังกายจึงเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยลดความวิตกกังวลและความเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของความขี้เกียจ ไม่อยากทำอะไร ได้นั่นเอง

4. พักผ่อนให้เพียงพอ

คุณควรพักผ่อนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมงขึ้นไป จะทำให้รู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และพร้อมที่จะทำงานหรือเรียนหนังสืออย่างเต็มที่

ไม่ควรอดนอนเป็นประจำ เพราะจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เกิดความเครียดสะสม จนส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจ รวมไปถึงประสิทธิภาพในการเรียนและการทำงานด้วย

5. รู้จักจัดการความเครียด

การเก็บความเครียดไว้กับตัวเองมากเกินไปอาจทำให้เป็นภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือขี้เกียจ ไม่อยากทำสิ่งต่างๆ ได้ ดังนั้นคุณควรหาวิธีจัดการกับความเครียด หรือระบายความเครียดออกมา

เมื่อคุณรู้สึกเครียดหรือเหนื่อยล้า ควรหาเวลาผ่อนคลายบ้าง โดยอาจเลือกทำกิจกรรมที่ชอบ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ เล่นกับสัตว์เลี้ยง หาเวลาอยู่กับตัวเอง หรือระบายความเครียดกับคนสนิทก็ได้

ข้อควรระวังในการระบายความเครียดกับผู้อื่นจะต้องดูว่า คนคนนั้นสามารถรับฟังเรื่องของเราได้หรือเปล่า หากเป็นคนที่อยู่ในช่วงเครียดเหมือนกันก็ไม่ควรที่จะไปเพิ่มความเครียดหรือสร้างความกังวลให้กับเขา

6. พกน้ำติดตัวเสมอ

ประโยชน์ของการดื่มน้ำมีมากมายหลายอย่าง และหนึ่งในนั้นคือช่วยจัดการกับความขี้เกียจหรือเหนื่อยล้าได้เป็นอย่างดี

การดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย จะทำให้ระบบการทำงานของสมองมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น และกระปรี้กระเปร่า

อาการขี้เกียจอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติได้

ในบางครั้งอาการขี้เกียจอาจเป็นสัญญาณของความผิดปกติในร่างกายได้ หากคุณลองจัดการกับความขี้เกียจด้วยวิธีที่กล่าวไปในเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น หรือความขี้เกียจรุนแรงขึ้นจนหมดความสนใจต่อสิ่งรอบตัว ไม่มีแรงที่จะทำอะไรเลย แนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดู เพราะอาจเป็นสัญญาณผิดปกติของภาวะสุขภาพจิตหรือสุขภาพกายได้

ตัวอย่างภาวะสุขภาพจิตที่อาจส่งผลให้เกิดความขี้เกียจ หรือขาดแรงจูงใจในการทำงาน เช่น

  • ภาวะซึมเศร้า
  • ภาวะวิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder: GAD)
  • ภาวะซึมเศร้าจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล (Seasonal Affective Disorder: SAD)
  • โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว หรือโรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder)
  • ความผิดปกติที่เกิดหลังจากเจอเรื่องสะเทือนใจ (Post-traumatic Stress Disorder: PTSD)
  • ภาวะเครียด

ตัวอย่างภาวะสุขภาพกายที่อาจส่งผลให้เกิดความขี้เกียจ หรือขาดแรงจูงใจในการทำงาน เช่น

  • โรคโลหิตจาง
  • ภาวะขาดวิตามิน
  • ภาวะต่อมหมวกไตล้า
  • โรคเบาหวาน
  • โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
  • โรคหัวใจ
  • โรคมะเร็ง

ความขี้เกียจไม่ใช่เรื่องผิด เราทุกคนล้วนมีวันที่รู้สึกอยากผ่อนคลาย ไม่อยากทำอะไร หรืออยากอยู่เงียบๆ คนเดียว ซึ่งเราควรจัดสรรเวลาในการเรียน การทำงาน และการพักผ่อนให้สมดุล เพื่อให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี

แต่อย่างไรก็ตาม หากการปรับเปลี่ยนความคิดหรือพยายามเรียนรู้อย่างเต็มที่แล้วก็ยังไม่ช่วยให้สนุกกับการเรียนหรืองานที่ทำได้ นั่นอาจไม่ใช่สิ่งที่เหมาะกับเรา ลองเปลี่ยนไปทำในสิ่งที่ชอบหรือให้โอกาสตัวเองในการเรียนรู้อะไรใหม่ๆ ก็อาจช่วยให้คุณค้นพบตัวตนได้ง่ายขึ้น

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาแพทย์ จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกการอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชันเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
กรมสุขภาพจิต, โรคเตียงดูด ไม่ได้ขี้เกียจ! สัญญาณเตือนป่วยทางจิต? (https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=28057), 12 กรกฎาคม 2561.
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.), ระวังโรคขี้เกียจคุกคามคนทำงาน (https://www.hsri.or.th/people/media/waiting-categorize/detail/4781).
Adrienne Santos-Longhurst, 17 Healthy and Practical Ways to Break Out of Laziness (https://www.healthline.com/health/how-to-stop-being-lazy#mental-tips-and-ideas), 2 April 2019.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี
ประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ที่มีต่อร่างกาย ลดความเสี่ยงอะไรบ้าง ตั้งแต่ 20 นาที จนถึง 15 ปี

ร้อยพันประโยชน์ของการหยุดสูบบุหรี่ อ่านสักนิด คุณภาพชีวิตดีขึ้นแน่นอน

อ่านเพิ่ม
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)
อาหารต้านเชื้อราแคนดิดา (Candida Diet)

หากจำนวนเชื้อราแคนดิดาในร่างกายมีมากเกินไป อาจนำไปสู่การติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้

อ่านเพิ่ม
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร
มาตรฐาน การอบประคบสมุนไพร : การอบสมุนไพร

ภูมิปัญญาไทยที่ทรงคุณค่า บรรเทาอาการเจ็บป่วย รักษาโรค และบำรุงสุขภาพได้ หากใช้อย่างถูกวิธี

อ่านเพิ่ม