6 ขั้นตอนง่ายๆ แก้ไขลูกชอบอมข้าว

ปัญหาที่พบมากในเด็กช่วงอายุ 1-3 ขวบคือ เด็กมักจะอมข้าวหรืออมอาหาร ไม่ค่อยเคี้ยวหรือว่าเคี้ยวช้า วันนี้เรามีคำตอบถึงสาเหตุและทางแก้ไม่ให้ลูกของเราติดนิสัยอมข้าวอีกต่อไป
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 8 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
6 ขั้นตอนง่ายๆ แก้ไขลูกชอบอมข้าว

เหตุที่เด็กในวัยปฐมวัย (พบมากเมื่อลูกอายุ 1-3 ขวบ) มักจะชอบอมข้าวเอาไว้ในปากนานๆ นั้น มีหลายสาเหตุ แต่โดยมากมักเกิดจากการที่ลูกมักจะห่วงเล่น หรือยังติดกับการดูดอาหาร หรือไม่ได้รับการฝึกการเคี้ยวอย่างถูกต้อง รวมถึงบางครั้งลูกก็มัวแต่สนใจสิ่งรอบตัว (ทั้งของเล่น โทรทัศน์ เสียงรอบข้างต่างๆ ฯลฯ) ทำให้เด็กไม่สนใจในการกินอาหาร เมื่อพ่อแม่ป้อนอาหาร เด็กก็ยังไม่ละความสนใจจากสิ่งต่างๆ จึงอมข้าวไว้ในปากก่อนนั้นเอง

6 ขั้นตอนง่ายๆ แก้ไขลูกอมข้าวไว้ในปาก

  1. ฝึกให้ลูกกินอาหารเป็นเวลา

    พ่อแม่ควรให้ลูกกินอาหารตรงเวลาตามมื้ออาหารปกติ (เช้า กลางวัน เย็น) โดยเมื่อถึงมื้ออาหาร พ่อแม่ควรจะนั่งกินอาหารพร้อมกับลูกบนโต๊ะอาหารด้วย อย่าปล่อยให้ลูกนั่งกินกับพี่เลี้ยง หรือนั่งกินหน้าโทรทัศน์ และพ่อแม่เองก็ควรจะกินข้าวพร้อมกับลูกไปด้วย

  2. กะปริมาณให้อาหารพอเหมาะ

    การตักข้าวให้ลูก หรือส่วนผสมของอาหารควรตัดเป็นชิ้นพอดีคำ เพื่อให้ลูกเคี้ยวได้ง่าย และปริมาณของอาหาร ควรให้แต่น้อย เมื่อลูกกินหมดค่อยเพิ่มทีละนิด โดยเมื่อลูกกินข้าวในจานหมดก็อย่าลืมชมเชยลูกด้วยนะค่ะ

  3. ให้ลูกสนุกกับการกิน

    เด็กในวัยนี้อยากจะตักอาหารกินด้วยตัวเอง พ่อแม่ควรจะปล่อยให้ลูกได้ทำเอง แม้ว่าจะหกเลอะเทอะไปบ้าง แต่ลูกจะมีความสุข หากลูกตักอาหารไม่ได้ พ่อแม่ควรช่วยเสริมบ้างบางครั้ง เช่น ตักอาหารใส่ช้อนให้ลูก แต่ให้ลูกถือช้อนและยกเข้าปากเอง แต่ทั้งนี้หากลูกพยายามจะตักอาหารใส่ช้อนเอง พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้หัดทำเองบ้าง
  4. ตัดสิ่งเร้าภายนอกออกไป

    การเปิดโทรทัศน์ การวางของเล่นให้ลูกเห็น ฯลฯ เป็นสิ่งเร้าที่เบี่ยงเบนความสนใจของการกินอาหารของลูก ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงสิ่งเร้าเหล่านี้

  5. อย่าให้เด็กกินขนมหรือนมจนอิ่ม

    พ่อแม่หลายคนอยากให้ลูกตัวสูง เลยให้ลูกดื่มนมเยอะๆ แต่กลายเป็นว่าพอลูกดื่มนมไปเยอะ เวลาถึงมื้ออาหารก็จะไม่รู้สึกหิว เมื่อไม่หิวก็ไม่อยากกิน (แต่โดนพ่อแม่บังคับให้กิน) ลูกเลยอมข้าวเอาไว้ เพราะไม่อยากเคี้ยวไม่อยากกลืนอาหาร พวกขนมขบเคี้ยวต่างๆ ก็เช่นกัน กระเพาะอาหารของลูกในช่วงปฐมวัยนั้นจะมีขนาดเล็ก ดังนั้นพ่อแม่ไม่ควรปล่อยให้ลูกกินขนมหรือดื่มนมในช่วงระหว่างมื้ออาหารมากเกินไป

  6. อย่าให้ลูกกินอาหารหลังจากเล่นเสร็จ

    บ่อยครั้งที่ลูกมักจะเล่นๆๆๆ จนเหนื่อย แล้วเมื่อถึงเวลาพ่อแม่ก็เรียกให้หยุดเล่นแล้วมานั่งกินข้าว ซึ่งร่างกายของเด็กยังเหนื่อยอยู่ ยังไม่พร้อมที่จะกินอาหาร พ่อแม่ควรสังเกตและบอกให้ลูกหยุดเล่นก่อนมื้ออาหารจะเริ่มอย่างน้อย 10 นาที เพื่อให้ร่างกายได้พักรวมถึงดึงความสนใจของลูกให้ห่างจากของเล่น อาจจะพาลูกไปเดินเล่นหน้าบ้าน เดินดูต้นไม้ หรือนั่งพูดคุยกันก่อน สักพักจึงค่อยพาลูกไปนั่งที่โต๊ะอาหาร


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
"Help! My child stores food in her mouth without swallowing... what do I do?" (https://sg.theasianparent.com/...)
Helping Your 1 to 3 Year Old Child Eat Well (https://www.healthlinkbc.ca/he...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
วิธีบอกความแตกต่างระหว่าง "ความขัดแย้ง" และ "การรังแก"
วิธีบอกความแตกต่างระหว่าง "ความขัดแย้ง" และ "การรังแก"

การแยกแยะระหว่างการรังแกผู้อื่นกับความขัดแย้งกับคนรอบข้างและการตอบสนองตามสถานการณ์

อ่านเพิ่ม