คนส่วนมากต้องการวิธีการคุมกำเนิดที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ที่ดีที่สุด แต่ประสิทธิผลของการคุมกำเนิดแต่ละวิธีขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เพราะฉะนั้นจึงต้องทำความเข้าใจกับปัจจัยที่อาจทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ แม้จะคุมกำเนิดด้วยวิธีใดๆ อยู่ก็ตาม
ความสำคัญของการวิจัยเพื่อวัดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิด
โดยทั่วไปแล้ว นักวิจัยมักทำการวัดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิด โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
- อัตราการใช้อย่างถูกต้อง (Perfect-Use) : เป็นประสิทธิภาพของหลักการคุมกำเนิดนั้น ๆ ที่ได้ผลกับกลุ่มของคนที่ใช้วิธีคุมกำเนิดนั้น ๆ อย่างถูกต้องตามคำแนะนำทุกประการ และใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- อัตราการใช้งานจริง (Typical-Use) : วิธีการคุมกำเนิดนั้นๆ ได้ผลภายในกลุ่มคนที่ใช้วิธีดังกล่าวตามปกติอย่างไรบ้าง โดยคำว่าปกติในที่นี้ ได้แก่
- ใช้วิธีคุมกำเนิดนั้นๆ อย่างถูกต้อง และใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- ใช้วิธีคุมกำเนิดนั้นๆ อย่างถูกต้อง แต่ไม่ได้ใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- ใช้วิธีคุมกำเนิดนั้นๆ ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ แต่ก็อาจใช้อย่างผิดวิธีบ้าง
- ไม่ได้ใช้วิธีการคุมกำเนิดนั้นๆ อย่างถูกต้อง หรือไม่ได้ใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
การวัดเหล่านี้จะเป็นข้อมูลของวิธีการคุมกำเนิดนั้นๆ ภายในเวลาหนึ่งปี ส่วนผู้ที่ใช้วิธีการคุมกำเนิดด้วยการฝัง (Implant) หรือห่วงคุมกำเนิด (Intrauterine Devices (IUDs)) อัตราเหล่านี้จะนับเฉพาะปีแรกหลังจากที่มีการสอดห่วง หรือฝังยาคุมแล้ว
ความแตกต่างระหว่างอัตราการใช้งานอย่างถูกต้องและการใช้งานจริงจะทำให้เห็นว่าวิธีคุมกำเนิดที่ใช้นั้นมีความยากง่ายเพียงไหน เช่น อัตราการใช้งานอย่างถูกต้องของถุงยางอนามัยสำหรับผู้ชาย พบว่ามีการตั้งครรภ์ที่ 2 จาก 100 คน หมายความว่าหากผู้ใช้ได้ใช้งานถุงยางอนามัยตามที่แนะนำแล้ว จะสามารถป้องกันการมีบุตรได้ แต่ก็มีหลายคนที่ไม่สามารถใช้ถุงยางอนามัยได้ตามคำแนะนำ จึงทำให้พวกเขามีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจสูงขึ้น
คุณเป็น ผู้ใช้งานอย่างถูกต้อง หรือ ผู้ใช้งานจริง?
การใช้งานอย่างถูกต้องและการใช้งานจริง ขึ้นอยู่กับวิธีการที่ใช้ ยกตัวอย่างง่ายๆ ดังนี้
กรณีถุงยางอนามัย
- คู่ที่ 1: ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ แต่บางครั้งสับสนว่าด้านไหนเป็นด้านนอกของถุงยางกันแน่ จึงทำให้รูดถุงยางลงผิดทาง แต่ก็ยังนำไปใช้งานอยู่ แม้คู่มือจะบอกว่าไม่ควรใช้ถุงยางที่ใช้ผิดวิธี คู่ที่ 1 จึงถูกจัดว่าเป็นกลุ่มผู้ใช้งานจริง
- คู่ที่ 2: ทราบถึงวิธีใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง แต่จะใช้ถุงยางอนามัยระหว่างช่วงกลางของรอบเดือนผู้หญิง หรือเมื่อผู้หญิงคาดว่าตนเองกำลังมีการตกไข่ คู่ที่ 2 จึงถูกจัดว่าเป็นกลุ่มผู้ใช้งานจริง เพราะไม่ได้ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
- คู่ที่ 3: ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ หากบังเอิญสวมถุงยางอนามัยผิดด้าน ก็จะทิ้งถุงยางอนามัยชิ้นนั้นและเปลี่ยนอันใหม่ พร้อมกับมีการสำรองและเก็บรักษาถุงยางอนามัยไว้โดยตรวจสอบวันหมดอายุตลอดคู่ที่ 3 จึงจัดอยู่ในกลุ่มผู้ใช้งานอย่างถูกต้อง
กรณียาคุมกำเนิดผสมชนิดรับประทาน
- คู่ที่ 1 : ผู้หญิงจะทานยาคุมกำเนิดทุกวันในช่วงเวลาเดียวกันตลอด โดยจะมีการสำรองยาชุดต่อไปอย่างน้อยหนึ่งสัปดาห์ก่อนที่จะเริ่มใช้ยาชุดใหม่ ดังนั้นทำให้ผู้หญิงคนนี้สามารถเริ่มใช้ยาตามเวลาได้ตลอด ผู้หญิงในคู่ที่ 1 จึงจัดว่าเป็นกลุ่มผู้ใช้ยาอย่างถูกต้อง
- คู่ที่ 2 : ผู้หญิงลืมทานยาเป็นครั้งคราว และยังมีการเริ่มใช้ยาชุดใหม่ช้ากว่าปกติ ทำให้ผู้หญิงจากคู่ที่ 2 จัดอยู่ในกลุ่มผู้ใช้ยาจริง
- คู่ที่ 3 ผู้หญิงจะทานยาเป็นเวลาติดกันสองปี แต่เพิ่งจะตัดสินใจหยุดใช้ยาคุมกำเนิดและได้ยินว่าเธอจะเริ่มตกไข่อีกครั้งหลังผ่านไปไม่กี่รอบเดือน ดังนั้นเธอกับคู่รักจึงไม่ใช้วิธีคุมกำเนิดใด ๆ และมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอเป็นเวลาหนึ่งเดือนหลังหยุดใช้ยา
ความแตกต่างระหว่างการใช้อย่างถูกต้องกับการใช้งานจริงเกี่ยวกับอัตราการตั้งครรภ์จากการใช้ยาคุมกำเนิด คือ กลุ่มผู้ใช้ยาอย่างถูกต้องจะมีคู่ที่ตั้งครรภ์ 1 จาก 100 คู่ภายในหนึ่งปี (ตัวเลขจริงคือ 0.3 คู่ต่อ 100) แต่อัตราการตั้งครรภ์ของกลุ่มผู้ใช้งานวิธีคุมกำเนิดด้วยยาจริงจะอยู่ที่ 7 ต่อ 100 คู่ภายในหนึ่งปี
วิธีการคุมกำเนิดแต่ละวิธีมีประสิทธิภาพอย่างไร?
ตารางข้างล่างจะแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างอัตราการตั้งครรภ์จากการใช้งานอย่างถูกต้อง (Perfect-Use) กับการใช้งานจริง (Typical-Use) ของการคุมกำเนิดแต่ละวิธี โดยอัตราทั้งสองได้เก็บข้อมูลมาจากการใช้วิธีคุมกำเนิดนั้นๆ โดยคู่รักจำนวน 100 คู่เป็นเวลานานหนึ่งปี
วิธีการคุมกำเนิด |
อัตราการใช้งานอย่างถูกต้อง |
อัตราการใช้งานจริง |
ไม่มีการคุมกำเนิด |
85 |
85 |
ถุงยางอนามัย |
2 |
13 |
การหลั่งนอก |
4 |
20 |
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดผสม วงแหวนคุมกำเนิด และแผ่นแปะคุมกำเนิด |
0.3 |
7 |
ห่วงคุมกำเนิด ชนิดทองแดง |
0.6 |
0.8 |
ห่วงคุมกำเนิด ชนิดฮอร์โมน |
0.1 |
0.1 |
การฝังยาคุมกำเนิด |
0.1 |
0.1 |
การเลือกวิธีคุมกำเนิดสำหรับตนเอง
ความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ จะขึ้นอยู่กับปัจจัยบางอย่าง เช่น อายุ ความถี่การมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดต้องนำมาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้ได้วิธีการคุมกำเนิดที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วิธีบางอย่าง เช่น การหลั่งนอก อาจได้ผลดีกับสภาพทางสรีรวิทยาบางอย่าง แต่ถ้ามีเพศสัมพันธ์บ่อยก็อาจมีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์มากจนเท่ากับการหลั่งภายใน ในขณะที่จำนวนครั้งที่มีเพศสัมพันธ์กับการใช้ห่วงคุมกำเนิด อาจไม่ส่งผลใดๆ หากมีห่วงอนามัยอยู่ในร่างกายอย่างถูกต้อง
การเลือกวิธีคุมกำเนิดที่ดีที่สุด คือการดูที่อัตราการตั้งครรภ์จากใช้งานจริงและการใช้อย่างถูกต้อง หากคาดว่าสามารถคุมกำเนิดอย่างถูกต้องได้ ก็ไม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับอัตราการใช้งานจริง
ที่มาของข้อมูล
Maegan Boutot, How effective is birth control?: The difference between using a method perfectly and typically (https://helloclue.com/articles/sex/how-effective-is-birth-control-the-difference-between-using-a-method), 28 กุมภาพันธ์ 2019.
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท