เราจะป้องกันไม่ให้ดวงตาอ่อนล้าจากอุปกรณ์ดิจิทัลได้อย่างไร?

เผยแพร่ครั้งแรก 21 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เราจะป้องกันไม่ให้ดวงตาอ่อนล้าจากอุปกรณ์ดิจิทัลได้อย่างไร?

ในแต่ละวัน เราใช้สายตาไปกับการมองหน้าจอของบรรดาอุปกรณ์ดิจิทัลเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อทำงาน พักผ่อน หรือรับมือกับเรื่องราวที่ต้องเจอในแต่ละวัน หากดวงตาของคุณแห้งและอ่อนล้า ดวงตาพร่ามัวตอนหมดวัน หรือปวดศีรษะ คอ และหัวไหล่ ไม่แน่ว่ามันอาจเกิดจากการที่เราใช้เวลาไปกับอุปกรณ์ดิจิทัลมากเกินไป

ทำไมหน้าจอถึงทำให้ดวงตาล้า?

โดยปกติแล้ว เรากะพริบตาประมาณ 15 ครั้งต่อ 1 นาที ซึ่งมันจะกระจายน้ำตาไปจนทั่วทั้งดวงตา ทำให้ดวงตาไม่แห้งและเกิดการระคายเคือง แต่นักวิจัยพบว่า คนกะพริบตาน้อยกว่าครึ่งหนึ่งจากปกติเมื่ออ่านหนังสือ ดู หรือเล่นกับหน้าจอ นอกจากนี้ความแตกต่างของสีตัวอักษรกับพื้นหลัง แสงจ้า และแสงที่กะพริบจากหน้าจอสามารถทำให้ดวงตาทำงานหนักมากเกินไป

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจตา รักษาโรคตาวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 437 บาท ลดสูงสุด 61%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

วิธีป้องกันการเกิดดวงตาล้าจากอุปกรณ์ดิจิทัล

คุณไม่จำเป็นต้องเลิกใช้อุปกรณ์ดิจิทัล เพียงแค่คุณปรับเปลี่ยนวิธีใช้อุปกรณ์เพียงเล็กน้อยก็สามารถช่วยลดการทำงานของดวงตาได้

  • คุณต้องมั่นใจว่าหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ห่างจากใบหน้า 25 นิ้ว หรือยาวเท่ากับความยาวของแขน และบริเวณกึ่งกลางของหน้าจอควรอยู่ต่ำกว่าดวงตาประมาณ 10-15 องศา
  • คุณสามารถลดแสงจ้าจากหน้าจอของอุปกรณ์ดิจิทัลโดยใช้แผ่นกรองแสง ซึ่งคุณสามารถใช้ได้กับคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็ปเล็ต
  • ทำตามกฎ 20-20-20 คือ ในทุก 20 นาที ให้คุณมองไปยังสิ่งของที่อยู่ไกลจากตัวเองอย่างน้อย 20 ฟุต เป็นเวลาอย่างน้อย 20 วินาที
  • พักสายตาประมาณ 15 นาที หลังจากที่ใช้เวลากับอุปกรณ์ดิจิทัล 2 ชั่วโมง
  • ใช้น้ำตาเทียมเพื่อช่วยให้ดวงตาสดชื่นเมื่อรู้สึกว่าตาแห้ง
  • นำเครื่องเพิ่มความชื้นมาวางไว้ในห้องที่คุณใช้คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ชนิดอื่นๆ บ่อยครั้ง
  • แสงไฟในห้องที่อยู่จะต้องสว่างอย่างเพียงพอ อุปกรณ์ที่ใช้จะต้องไม่สว่างกว่าสิ่งที่อยู่รอบตัว
  • หากคุณใส่คอนแทคเลนส์ ให้คุณพักดวงตาโดยเปลี่ยนไปใส่แว่นตาชั่วคราว
  • ไปตรวจดวงตาเป็นประจำ คุณอาจจำเป็นต้องใช้แว่นตาอีกชนิดเมื่อทำงานกับคอมพิวเตอร์

ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์

คุณสามารถปรับเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อให้เป็นมิตรกับดวงตาโดย

  • ปรับ Contrast หรือความคมชัดที่หน้าจอให้มากขึ้น
  • ปรับตัวอักษรให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
  • ปรับความสว่างของหน้าจอ ซึ่งไม่ควรสว่างหรือมืดกว่าสิ่งรอบตัว
  • ปรับอุณหภูมิสีของหน้าจอให้ต่ำลง
  • ปรับค่า Refresh rate เพิ่มขึ้น ซึ่งมันจะทำให้หน้าจอกะพริบน้อยลง

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ในปัจจุบันบรรดาอุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อเรามากขึ้น ทั้งในแง่ของการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน แม้ว่ามันจะมีประโยชน์ หรือช่วยอำนวยความสะดวก แต่หากเราไม่จำกัดการใช้ให้เหมาะสม หรือใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป มันก็สามารถทำให้ดวงตาล้า หรือทำให้เกิดปัญหาสายตาอื่นๆ ตามมา แม้ว่าเราจะไม่สามารถเลิกใช้ หรือหลีกเลี่ยงอุปกรณ์ดิจิทัลได้ แต่การนำวิธีที่เราแนะนำข้างต้นมาปรับใช้ก็พอจะช่วยบรรเทาอาการตาล้า และป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวกับดวงตาได้ค่ะ

ที่มา: https://www.webmd.com/eye-heal...


13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
5 เรื่องต้องรู้ ก่อนคิดจะใส่คอนแทคเลนส์
5 เรื่องต้องรู้ ก่อนคิดจะใส่คอนแทคเลนส์

ใส่คอนแทคเลนส์ต้องดูแลอย่างไร อันตรายไหม หาคำตอบเรื่องคอนแทคเลนส์ได้ที่นี่

อ่านเพิ่ม
5 ความจริงเกี่ยวกับการปกป้องดวงตาของคุณ
5 ความจริงเกี่ยวกับการปกป้องดวงตาของคุณ

บริหารตาช่วยยืดอายุตาได้จริงหรือไม่? ถอดแว่นเป็นพักๆ ดีกับดวงตาจริงไหม? อ่าน 5 ความจริงของการดูแลสุขภาพดวงตา ที่คุณอาจเคยรู้มาแบบผิดๆ

อ่านเพิ่ม