ด้วยความสงสัยว่าปริมาณของ Estrogen และชนิดของ Progestin ในวิธีคุมกำเนิด อาจเป็นตัวแปรที่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดขึ้น ทำให้ตั้งแต่ปี 1970 จนถึงปัจจุบัน ได้มีการปรับสูตรยาของยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนหลายครั้ง จึงมีการศึกษาหลากหลายช่วงเวลากับหลากหลายกลุ่มประชากรเกิดขึ้นมาเป็นผลพลอยได้ ซึ่งแต่ละการศึกษาก็ได้ให้ผลลัพธ์ที่ต่างกันออกไป
ส่วนมากแล้วนักวิจัยพบว่า การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน Estrogen ที่มีทั้งยาเม็ดคุมกำเนิด วงแหวนคุมกำเนิด และแผ่นแปะฮอร์โมนคุมกำเนิด จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดประเภทนี้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
ลิ่มเลือด คืออะไร?
เลือดคือสิ่งที่ไหลเวียนไปทั่วร่างกายผ่านท่อที่แตกแขนงออก เรียกว่าหลอดเลือด (Blood Vessels) เมื่อเลือดไหลออกห่างจากหัวใจ หลอดเลือดที่เรียกว่าหลอดเลือดแดง (Arteries) จะนำเลือดที่อุดมไปด้วยออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อเลือดชนิดนี้ไปถึงเป้าหมายแล้ว การแลกเปลี่ยนก๊าซจะเกิดขึ้นไปตลอดหลอดเลือดฝอย (Capillaries) เพื่อนำเลือดที่ดีไปเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยรอบ และหลังจากนั้นเลือดที่มีออกซิเจนน้อยจะไหลกลับไปยังหัวใจผ่านทางหลอดเลือดดำ (Veins)
ในร่างกายของคนที่มีสุขภาพดี เลือดจะคงอยู่ภายในหลอดเลือดและไม่ไหลซึมเข้าไปใต้ชั้นผิวหนัง แต่หากเกิดการบาดเจ็บหรือรั่วไหลของหลอดเลือด ร่างกายจะมีกระบวนการเพื่อที่จะอุดรูรั่วไหลของเลือดอย่างรวดเร็ว ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการก่อลิ่มเลือด (Clotting) เกิดจากโปรตีนที่อยู่ในกระแสเลือดที่จะถูกกระตุ้นและเกาะตัวกันกลายเป็นจุกอุดแผล ซึ่งลิ่มเลือดนี้สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในหลอดเลือดดำและแดง
บางครั้งลิ่มเลือดก็อาจเกิดขึ้นในตำแหน่งที่ไม่ควรจะเกิด และสร้างความเสียหายขึ้นมา เช่น
- ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (Deep Venous Thrombosis (DVT หรือ VTE))
- โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism)
การเกิดภาวะดังกล่าว อาจทำให้ลิ่มเลือดสามารถเคลื่อนตัวไปยังสมองหรือหัวใจ ส่งผลให้เกิดภาวะหลอดเลือดสมองหรือหัวใจวาย ซึ่งเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดผสม กับการเกิดภาวะลิ่มเลือด
ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดผสม ประกอบด้วย Estrogen และ Progestin จากการศึกษาพบว่า ผู้ใช้ยาคุมชนิดนี้ที่อยู่ในช่วงก่อนหมดประจำเดือน (Premenopausal People) จะมีโอกาสประสบกับภาวะ VTE มากกว่ากลุ่มผู้หญิงก่อนหมดประจำเดือนที่ไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน
ปริมาณและชนิดของฮอร์โมนในยาเม็ดก็ส่งผลต่อการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดลิ่มเลือดมากกว่ากลุ่มอื่น เมื่อมีปริมาณ Estrogen ในยาเพิ่มขึ้น จะทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดทุกชนิดเพิ่มขึ้นด้วย ขณะเดียวกันความเสี่ยงต่อลิ่มเลือด อาจขึ้นอยู่กับชนิดของ Progestin ได้เช่นกัน โดยยาเม็ดที่ประกอบด้วย Progestin Levonorgestrel มักจะมีความเสี่ยงต่อ VTE น้อยลง เมื่อเทียบกับยาเม็ดที่มี Progestins Desogestrel, Gestodene, Drospirenone หรือ Cyproterone Acetate
การคุมกำเนิดรูปแบบอื่นๆ สามารถทำให้เกิดภาวะลิ่มเลือดได้หรือไม่
แผ่นแปะคุมกำเนิด และวงแหวนสอดช่องคลอดคุมกำเนิด จัดอยู่ในกลุ่มของวิธีการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมนแบบผสม โดยรูปแบบของการคุมกำเนิดเหล่านี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิด VTE และภาวะหลอดเลือดสมองมากกว่าการใช้ยาเม็ดอีกด้วย
ส่วนการคุมกำเนิดด้วย Progestin เพียงอย่างเดียว ซึ่งมีทั้งรูปแบบการฉีด การใช้ห่วงคุมกำเนิดฮอร์โมน (hormonal intrauterine device (IUD)) การฝังคุมกำเนิด (The Contraceptive Implant) และยาเม็ดที่มีเพียง Progestin มีผลปรากฎว่าไม่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดใดๆ ทั้งสิ้น
ที่มาของข้อมูล
Maegan Boutot, Nicole Telfer, Hormonal birth control and blood clots (https://helloclue.com/articles/sex/hormonal-birth-control-and-blood-clots), 23 มกราคม 2019