ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ

ลิ่มเลือดคืออะไร?
เผยแพร่ครั้งแรก 21 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ

การเกิดลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือดดำใหญ่ (Deep venous thrombosis หรือ DVT) ที่ขาและอุ้งเชิงกรานเป็นภาวะที่พบได้บ่อยหลังจากการผ่าตัดทางกระดูก โดยเฉพาะการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ ความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดนี้ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของการผ่าตัด ปัญหาสุขภาพอื่นๆ ยาที่กำลังรับประทาน ประวัติการสูบบุหรี่ และปัจจัยอื่นๆ อีกหลายประการ

ยาที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน

หากคุณมีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันสูง แพทย์อาจเริ่มยาที่ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดหลังจากการผ่าตัด โดยเฉพาะหลังจากการผ่าตัดเปลี่ยนข้อ เช่น การเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพก ยาเหล่านี้ยังสามารถใช้หลังจากการทำหัตถการอื่นๆ โดยเฉพาะการผ่าตัดที่เกี่ยวกับขา นอกจากนี้ ยังสามารถลดความเสี่ยงโดยการใช้วิธีที่นอกเหนือจากการกินยาได้ เช่น การใส่ถุงนิ่งแน่นๆ เพื่อให้เลือดมีการหมุนเวียนและบีบตัวไปรอบๆ ขาเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในเส้นเลือดดำ การกระตุ้นให้ขยับหลังการผ่าตัดก็เป็นสิ่งที่สำคัญและสามารถช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือดได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ลิ่มเลือดอุดตันภายในปอด

การเกิดลิ่มเลือดอุดตันที่ภายในขาจะแสดงว่ามีแนวโน้มที่ลิ่มเลือดเหล่านี้จะเดินทางไปที่ปอดได้ (เรียกว่า Pulmonary embolism) ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ หากแพทย์พบว่าคุณน่าจะมีลิ่มเลือดอุดตันในขา ก็มักจะต้องสั่งจ่ายยาป้องกันการแข็งตัวของเลือดในระดับที่สูงขึ้นและนานขึ้น

ทำไมถึงไม่ให้ยาป้องกันการแข็งตัวของลิ่มเลือดในผู้ป่วยทุกราย?

ปัญหานั้นอยู่ที่ความเสี่ยงจากการใช้ยาป้องกันการแข็งตัวของเลือด เช่น เส้นเลือดในสมองแตก มีเลือดออกในทางเดินอาหาร และปัญหาอื่นๆ และถึงแม้ว่าความเสี่ยงที่จะเกิดเส้นเลือดในสมองแตกจากการใช้ยาละลายลิ่มเลือดจะพบได้น้อย แต่ก็ควรให้ยากลุ่มนี้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดตันสูงเท่านั้น


9 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
cdc, Venous Thromboembolism (Blood Clots) (https://www.cdc.gov/ncbddd/dvt/facts.html)
cochrane, ป้องกันภาวะหลอดเลือดดำอุดตันระหว่างการเข้าพักในโรงพยาบาล (https://www.cochrane.org/th/CD001484/PVD_thungnngthaangkaaraephthy-graduated-compression-stockings)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)