การบำบัดด้วยออกซิเจน (Home oxygen treatment)

เผยแพร่ครั้งแรก 29 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การบำบัดด้วยออกซิเจน (Home oxygen treatment)

การบำบัดด้วยออกซิเจนสามารถทำได้เองที่บ้าน และเป็นการบำบัดสำหรับผู้ป่วยที่มีออกซิเจนในเลือดต่ำ และต้องการปริมาณออกซิเจนมากกว่าปกติ การที่ผู้ป่วยมีปริมาณออกซิเจนในเลือดต่ำนั้นอาจเกิดจากผู้ป่วยมีโรคเรื้อรัง โดยโรคหลักคือโรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic Obstructive Pulmonary Disease, COPD)  

การบำบัดด้วยออกซิเจนจะไม่มีประโยชน์ถ้าหากผู้ป่วยมีระดับออกซิเจนในเลือดปกติ แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีภาวะต่างๆที่ทำให้ออกซิเจนในเลือดต่ำลงการบำบัดด้วยออกซฺเจนจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกดีขึ้นและมีชีวิตยืนยาวขึ้น

การบำบัดด้วยออกซิเจนทำอย่างไร

การบำบัดด้วยออกซิเจนทำได้ดังนี้

  • ใช้สายสอดเข้ารูจมูก (nasal prongs) โดยสอดสายเข้าไปในจมูกและยึดไว้ผ่านหู
  • ใช้หน้ากากครอบไว้บริเวณจมูกและปาก

การบำบัดด้วยออกซิเจนจะช่วยบำบัดได้อย่างไร

ถ้าหากผู้ป่วยมีปัญหาด้านสุขภาพที่ส่งผลให้มีระดับออกซิเจนในเลือดต่ำลง (hypoxia) ผู้ป่วยจะรู้สึกหายใจหอบถี่และเหนื่อยง่าย โดยเฉพาะหลังจากการเดินหรือไอ ทั้งยังมีของเหลวคั่งบริเวณข้อเท้า (oedema) และอาจมีริมฝีปากเป็นสีน้ำเงินได้ (cyanosis)

การหายใจเอาออกซิเจนที่มีความเข้มข้นสูงกว่าปกติเข้าไป จะไปเพิ่มปริมาณออกซิเจนในเลือดได้ ส่งผลให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมต่างๆ ได้ง่ายขึ้นและช่วยลดอาการที่กล่าวมาข้างต้นได้ การบำบัดด้วยออกซิเจนสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในหลายๆโรค ดังนี้

โดยผูป่วยที่มีภาวะที่ต่างกันก็จะได้รับการบำบัดที่แตกต่างกัน เช่น บางรายอาจต้องการการบำบัดด้วยออกซิเจนในระยะสั้นระหว่างวัน หรือเฉพาะเวลาเดิน หีือบางรายอาจต้องการออกซิเจนในระยะยาวช่วงกลางคืน เป็นต้น 

วิธีการประเมินผู้ป่วยในการบำบัดด้วยออกซิเจน

หากผู้ป่วยมีภาวะโรคเรื้อรังและแพทย์พิจารณาว่ามีภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ ผู้ป่วยควรได้รับการประเมินการได้รับออกซิเจนบำบัด โดยการประเมินจะมีการวัดระดับออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วย หรืออาจมีการทดสอบเพิ่มเติม เช่น

  • ทดสอบการหายใจ โดยใช้เครื่่อมือที่เรียกว่า สไปโรมิเตรอร์ (Spirometer) เป็นการวัดปริมาณอากาศที่ผู้ป่วยสามารถหายใจได้จากปอดและความเร็วในการเป่าลมออกของผู้ป่วย
  • พัลซ์ ออกซิมิเตอร์ (Pulse oximeter) หรือเครื่องวัดออกซิเจนในเลือดจับที่นิ้วของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะต้องเดินบนลู่วิ่งและวัดระดับปริมาณออกซิเจนที่ใช้

ผู้ป่วยจะได้รับการแนะนำให้รับการบำบัดด้วยออกซิเจนเมื่อระดับออกซิเจนในเลือดต่ำเท่านั้น ดังนั้นการวัดปริมาณออกซิเจนจึงมีความสำคัญมาก

หากผู้ป่วยต้องรับการให้ออกซิเจนบำบัดที่บ้าน ผู้เชี่ยวชาญจากโรงพยาบาลจะแจ้งให้ทราบถึงปริมาณออกซิเจนที่ต้องใช้และระยะเวลาในการรับออกซฺิเจน รวมถึงการติดตั้งและตรวจสอบเครื่องจ่่ายออกซิเจน 

การเดินทางหรือพักร้อนของผู้ป่วยบำบัดออกซิเจน

การต้องเดินทางหรือพักร้อน ผู้ป่วยควรแจ้งให้ทีมบุคลากรทางการแพทย์ทราบและนำอุปกรณ์ไปติดตั้งในสถานที่ที่ต้องไปด้วย หากต้องเดินทางไปต่างประเทศผู้ป่วยต้องจัดการแจ้งกับสายการบินด้วยตนเอง อาจมีค่าธรรมเนียมในการขนส่งชุดอุปกรณ์ 

ประเภทของออกซิเจนบำบัด

  • เครื่องกำเนิดออกซิเจน หรือ Oxygen Concentrator เครื่องกำเนิดออกซิเจน คืออุปกรณ์ที่สามารถผลิตออกซิเจนได้จากอากาศ ณ ที่ที่ผู้ป่วยอยู่ ทางการแพทย์เรียกอากาศบริเวณนั้นเป็นภาษาอังกฤษว่า Room air โดยจะใช้กระแสไฟฟ้าบ้านในการผลิตออกซิเจน เครื่องกำเนิดออกซิเจนเหมาะสำหรับการใช้ในขณะหลับ ตัวเครื่องจะมีล้อเลื่อน และมีสายยาวประมาณ 40 ฟุต ทำให้สะดวกในการเคลื่อนย้ายในบ้าน ออกซิเจนที่ได้จะปล่อยผ่านท่อสอดเข้ารูจมูก (nasal cannula) ซึ่งผู้ป่วยสามารถกิน หรือ พูดคุยได้ บางครั้งอาจจะมีหน้ากากที่ครอบจมูกและปากร่วมด้วย
  • ถังออกซิเจนเคลื่อนที่ คือถังเก็บอัดออกซิเจนไว้ ซึ่งจะใช้ได้หลายชั่วโมง โดยประมาณออกซิเจนหนึ่งถังจะใช้งานได้ 4 ชั่วโมงแต่ทั้งนี้ขึ้นกลับอัตราการไหลออกจากถังของออกซิเจนที่เหมาะสมกับผู้ป่วยด้วย ถังบางขนิดมีขนาดเล็ก เหมาะสำหรับเด็กหรือผู้ใหญ่ที่ต้องใช้อัตราการไหลของออกซิเจนต่ำ ซึ่งถังสามารพกพาได้สะดวก 

ความปลอดภัยในการใช้ออกซิเจนบำบัด

ออกซิเจนเป็นก๊าซที่ส่งเสริมการเผาไหม้ได้ ดังนั้นจึงควรปฏิบัติตามข้อแนะนำดังนี้ 

ข้อควรปฏิบัติ

  • เว้นระยะห่างระหว่างเครื่องและสิ่งก่อประกายไฟ หรือก่อความร้อน อย่างน้อย 3 เมตร
  • ปิดการปล่อยออกซิเจนทุกครั้งหลังการใช้งาน
  • ควรเว้นระยะประมาณ 15-30 นาที ให้ออกซิเจนกระจายออกจากเสื้อผ้าต่างๆ ก่อนที่ผู้ป่วยจะประกอบอาหาร หรือเข้าใกล้สิ่งกำเนิดประกายไฟ
  • ใช้ออกซิเจนในห้องที่อากาศถ่ายเทสะดวก

ข้อควรหลีกเลี่ยง

  • ไม่สูบบุหรี่ หรืออยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่
  • ไม่ใช่บุหรี่ไฟฟ้า หรือการชาร์จแบตบุหรี่ไฟฟ้าไว้ใกล้บริเวณที่ใช้ออกซิเจน หรือเครื่องกำเนิดออกซิเจน
  • ไม่หยอดน้ำมัน หรือสิ่งหล่อลื่นบริเวณอุปกรณ์ต่างๆ รักษาความสะอาดอุปกรณ์โดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดเช็ดหรือสบู่อ่อน และปล่อยให้เครื่องแห้งก่อนใช้งาน ใช้ผลิตภัณฑ์ให้ความชุ่มชื่นที่เนื้อครีมทำจากน้ำเลี่ยงการใช้ครีมที่ทำจากน้ำมัน หรือสอบถามเภสัชกรก่อนใช้
  • เลี่ยงการทำให้สายยางอุดตัน พับ หรือ งอ เพราะจะลดอัตราการไหลของออกซิเจนได้
  • ไม่ควรปรับเครื่องเอง หรือปรับเครื่องโดยไม่ใช่ทีมบุคลากรทางแพทย์

13 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Oxygen Therapy | Definition and Patient Education. Healthline. (https://www.healthline.com/health/oxygen-therapy)
Home Oxygen Therapy. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK532994/)
Oxygen Therapy At Home: Tips for Using Oxygen In Your Home. WebMD. (https://www.webmd.com/lung/lung-home-oxygen-therapy#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)