เอชไอวีกับการตั้งครรภ์-ภาพรวม
หญิงตั้งครรภ์ทุกคนต้องตรวจการติดเชื้อเอชไอวีอย่างน้อยหนึ่งครั้ง เพราะหากหญิงตั้งครรภ์ติดเชื้อ จะทำให้ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วย ดังนั้นหากตรวจพบเร็ว รักษาเร็ว จะช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกจะติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูกได้
คำแนะนำมาตรฐานทางการแพทย์แนะนำว่า หญิงตั้งครรภ์ทุกรายต้องตรวจคัดกรองการติดเชื้อเอชไอวี (HIV; human immunodeficiency virus) เพราะหากตรวจพบการติดเชื้อนี้ตั้งแต่ระยะแรกๆ และรักษาทันทีคือกุญแจสำคัญในการป้องกันทารกไม่ให้ติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
แม้ว่าแพทย์อาจไม่ได้ขอให้คุณตรวจเอชไอวีในทุกๆ ครั้งที่มาพบแพทย์ แต่อย่างน้อยจะต้องมีการตรวจ 1 ครั้งระหว่างการตั้งครรภ์ ถ้าคุณมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี แพทย์อาจให้คุณตรวจซ้ำครั้งที่ 2 ในช่วงเดือนหลังๆ ของการตั้งครรภ์
ถ้าคุณหรือคู่นอนของคุณเคยมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัย (ไม่ป้องกัน) หรือมีการใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่นที่ไม่ทราบสถานะเอชไอวีของตนเอง จะถือว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี ถ้าคุณติดเชื้อเอชไอวีอยู่แล้ว ทารกในครรภ์จะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อไปด้วย เพราะเชื้อไวรัสนี้จะแพร่ผ่านไปยังทารกได้ระหว่างการคลอดลูก และบางครั้งถูกส่งผ่านตั้งแต่ช่วงตั้งครรภ์แล้ว การให้นมบุตรก็สามารถส่งต่อไวรัสนี้ไปยังทารกได้เช่นเดียวกัน
การรักษาด้วยยาที่เรียกว่ายาต้านไวรัสเอชไอวี (antiretrovirals) ทั้งระหว่างการตั้งครรภ์จนถึงหลังคลอด จะช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกจะติดเชื้อเอชไอวี ยาต้านไวรัสเอชไอวีนี้จะป้องกันการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัส เมื่อปริมาณเชื้อไวรัสเอชไอวีในเลือดมีน้อยลง ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะมีโอกาสกลับมาแข็งแรงได้ดังเดิม
การรักษาการติดเชื้อเอชไอวีช่วงระหว่างการตั้งครรภ์ และ/หรือ หลังคลอด มีดังนี้:
- ยาต้านไวรัสเอชไอวีสำหรับมารดา
- วางแผนที่จะผ่าตัดคลอดแทนการคลอดธรรมชาติ ในหญิงที่มีปริมาณไวรัสสูง เพราะถือว่ามีความเสี่ยงที่ทารกจะติดเชื้อ
- ยาต้านไวรัสเอชไอวีสำหรับทารกนาน 6 สัปดาห์หลังคลอด
- ไม่ให้นมบุตรด้วยตนเอง
https://www.webmd.com/hiv-aids/tc/hiv-and-pregnancy-topic-overview