กองบรรณาธิการ HonestDocs
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HonestDocs

HIV / AIDS (เอชไอวี และเอดส์)

เผยแพร่ครั้งแรก 27 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 5 นาที

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • เชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) เป็นเชื้อไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลังของผู้ติดเชื้อผ่านทางบาดแผลเปิดบนผิวหนัง หรือผ่านเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ช่องคลอด หรือทวารหนัก
  • หากผู้ติดเชื้อไวรัสเอชไอวีไม่รับประทานยาต้านไวรัส เชื้อไวรัสจะทำลายระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้ติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่าย และป่วยเป็นโรคเอดส์ในที่สุด
  • ระยะเวลาในการแสดงอาการผิดปกติจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยจะแสดงอาการหลังติดเชื้อไวรัสประมาณ 3-5 ปี
  • ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวี หากรู้ตัวเร็ว และได้รับประทานยาต้านไวรัสตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้เชื้อไวรัสในร่างกายลดน้อยลง ลดโอกาสในการแพร่กระจายเชื้อไวรัส อีกทั้งยังทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงปกติเหมือนคนทั่วไป
  • หากคุณเป็นผู้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมใส่ถุงยางอนามัย หรือถุงยางอนามัยฉีกขาด หรือมีพฤติกรรมชอบเปลี่ยนคู่นอนเป็นประจำ ควรไปตรวจคัดกรองโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกปี (ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที่นี่)

เอชไอวี หรือ HIV (Human Immunodeficiency Virus) คือ เชื้อไวรัสร้ายแรง ที่ติดต่อได้จากการสัมผัสเลือด และสารคัดหลั่งของผู้ที่ติดเชื้อผ่านทางบาดแผลเปิดบนผิวหนัง หรือผ่านเนื้อเยื่ออ่อน แต่ไม่สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสทางผิวหนัง เช่น การกอด การรับประทานอาหารด้วยกัน การใช้สิ่งของร่วมกัน ได้       

HIV/AIDS เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรง

เมื่อเชื้อไวรัส HIV เข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย นั่นคือ เซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 หรือ T Cells ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคและป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อต่างๆ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

หลังจากที่เชื้อไวรัส HIV ทำลายระบบภูมิคุ้มกันแล้ว ร่างกายจะอ่อนแอลงเรื่อยๆ ทำให้ติดเชื้อและเจ็บป่วยง่าย และมีโอกาสเสียชีวิตจากการติดเชื้อได้  

หลังติดเชื้อไวรัส  HIV ผู้ป่วยจะยังไม่รับรู้ความผิดปกติจนกระทั่งเวลาผ่านไป 3-5 ปี หรือนานกว่านั้นในบางราย โดยหลังจากติดเชื้อไวรัส  HIV แล้ว เชื้อจะอยู่ในร่างกายตลอดไป หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ หรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน ควรตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นประจำทุกปี

ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อไวรัส  HIV ให้หายขาด แต่ยาต้านไวรัสในปัจจุบันสามารถทำให้ผู้ติดเชื้อไวรัส HIV มีสุขภาพแข็งแรงเป็นระยะเวลายาวนาน และช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสไปยังผู้อื่นด้วย

เอชไอวี (HIV) และ เอดส์ (AIDS) ต่างกันอย่างไร?

HIV คือ เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิด โรคเอดส์ (AIDS) ซึ่งย่อมาจาก Acquired Immune Deficiency Syndrome ซึ่งเชื้อไวรัส  HIV และโรคเอดส์ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน ผู้ติดเชื้อไวรัส  HIV ไม่จำเป็นต้องเป็นโรคเอดส์เสมอไป ถ้าได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม    

กระบวนการการเกิดโรคเอดส์มีอยู่ว่า เมื่อเชื้อไวรัส HIV เข้าทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 ในร่างกายจนมีปริมาณไม่เพียงพอ ร่างกายจะอ่อนแอลงเรื่อยๆ และติดเชื้อหลายชนิด เมื่อใดที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดขาว CD4 ต่ำมากๆ คุณจะติดเชื้ออย่างรุนแรงนั่นคือโรคเอดส์ซึ่งทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด 

โดยส่วนมากหากติดเชื้อไวรัส  HIV แล้วไม่ได้รับการรักษามักจะใช้เวลาประมาณ 10 ปี ในการพัฒนาไปเป็นโรคเอดส์   

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เราจะติดเชื้อ HIV ได้อย่างไร?

เชื้อไวรัส HIV จะมีอยู่ในเลือด และสารคัดหลั่ง เช่น น้ำอสุจิ น้ำหล่อลื่นในช่องคลอด และน้ำนมแม่ โดยเชื้อไวรัสจะเข้าสู่ร่างกายผ่านทางบาดแผลเปิด หรือผ่านเนื้อเยื่ออ่อน เช่น ภายในช่องคลอด ทวารหนัก และรูเปิดของอวัยวะเพศชาย  

ช่องทางการติดเชื้อไวรัส HIV ที่พบบ่อย

  • มีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือ ทวารหนัก โดยไม่ได้ป้องกันอย่างถูกต้อง เช่น ไม่ได้ใช่ถุงยางอนามัย
  • ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ใช้เข็มสัก หรือเข็มเจาะร่างกายร่วมกัน
  • โดนเข็มตำ โดยเข็มนั้นมีเลือดที่ติดเชื้อไวรัส HIV ปนเปื้อนอยู่
  • เลือด น้ำอสุจิ หรือน้ำหล่อลื่นช่องคลอดที่มีเชื้อไวรัส  HIV ปนอยู่ สัมผัสกับแผลเปิดบนร่างกาย

ในบรรดาช่องทางการติดต่อเหล่านี้ พบว่า เชื้อไวรัส HIV จะติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันมากที่สุด 

ดังนั้นการใช้ถุงยางอนามัย และ/หรือ แผ่นยางอนามัย (Dental Dam) ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ทางปาก (ออรัลเซ็กซ์) รวมถึงการไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น เหล่านี้จะป้องกันการติดเชื้อไวรัส  HIV ได้ 

เชื้อไวรัส HIV สามารถติดต่อผ่านแม่สู่ลูกในระหว่างตั้งครรภ์ คลอด หรือระหว่างให้นมบุตรได้ 

ดังนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไวรัส  HIV จึงต้องรับประทานยาต้านไวรัสอย่างเคร่งครัดภายใต้คำแนะนำของแพทย์ และพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ จะสามารถลดความเสี่ยงของการแพร่เชื้อไวรัส HIV จากแม่ไปยังลูกได้ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

เชื้อไวรัส HIV ไม่ติดต่อผ่านน้ำลาย ดังนั้นเชื้อไวรัส  HIV จึงไม่ติดต่แผ่านการจูบ การกินอาหาร หรือการดื่มน้ำร่วมกัน หรือการใช้ช้อนส้อมร่วมกัน  รวมไปถึงการกอด การจับมือ การไอ การจาม และการใช้ห้องน้ำร่วมกันก็ไม่ใช่ช่องทางติดต่อของเชื้อไวรัส  HIV

ในอดีตเมื่อนานมาแล้ว มีผู้ติดเชื้อ HIV บางส่วนติดเชื้อจากการได้รับบริจาคเลือด หรือถ่ายเลือด แต่ในปัจจุบันการบริจาคเลือดและการรับเลือดมีความปลอดภัยสูงมาก เพราะโรงพยาบาล หรือหน่วยรับบริจาคเลือดต่างๆ จะไม่ใช้เข็มฉีดยาซ้ำ และเลือดที่บริจาคก็ได้รับการตรวจหาเชื้อไวรัส HIV และเชื้ออื่นๆ ก่อนนำไปใช้กับผู้ป่วยนั่นเอง

อาการของ HIV/AIDS มีอะไรบ้าง?

อาการระยะแรก

ผู้ติดเชื้อจะรู้สึกแข็งแรงดีนานหลายปีหลังติดเชื้อ ซึ่งอาจใช้เวลานานมากถึง 10 ปี หรือนานกว่านั้นก่อนที่จะแสดงอาการ แต่ถ้าได้รับยาต้านเชื้อ HIV จะใช้เวลานานมากกว่านั้นมากๆ ก่อนที่จะมีอาการใดๆ นี่จึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ควรตรวจ HIV เป็นประจำ 

โดยเฉพาะถ้าคุณเคยมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น การรักษา HIV ด้วยยาจะทำให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพที่แข็งแรงเป็นระยะเวลายาวนาน

ภายใน 2-4 สัปดาห์ หลังการติดเชื้อ อาจมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย ซึ่งเป็นปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อการติดเชื้อ HIV 

ในช่วงเวลานี้ร่างกายจะมีปริมาณเชื้อไวรัสสูงมาก ซึ่งสามารถติดต่อไปยังผู้อื่นได้ง่าย  อาการดังกล่าวนี้จะมีอยู่เพียงไม่กี่สัปดาห์ ก่อนที่จะหายไป และไม่มีอาการอีกเลยเป็นปีๆ อย่างไรก็ตามหากติดเชื้อ HIV แล้ว จะสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ แม้ว่าจะไม่มีอาการก็ตาม

อาการระยะหลังของการติดเชื้อ HIV (อาการของโรคเอดส์)

เชื้อ HIV จะทำลายเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ได้แก่ เม็ดเลือดขาว CD4 หรือทีเซลล์ (T cells) เมื่อไม่มีเม็ดเลือดขาว CD4 ร่างกายจะไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้ ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติมาก แม้ว่าเชื่อนั้นในภาวะปกติจะไม่ทำให้เราติดเชื้อก็ตาม และทำให้เข้าสู่ระยะของโรคเอดส์

คุณจะป่วยเป็นโรคเอดส์ เมื่อคุณมีการติดเชื้อที่พบได้ยาก เรียกว่า โรคติดเชื้อฉวยโอกาส หรือเป็นมะเร็งบางชนิด หรือเมื่อมีปริมาณเม็ดเลือดขาว CD4 ในร่างกายต่ำมาก ซึ่งปกติใช้เวลานานเป็น 10 ปี หลังติดเชื้อ HIV หากไม่ได้รับการรักษา 

อาการของโรคเอดส์ ได้แก่

  • มีฝ้าขาวในช่องปากและลิ้น
  • เจ็บคอ
  • ติดเชื้อรายีสต์
  • เป็นโรคอุ้งเชิงกรานอักเสบเรื้อรัง
  • ติดเชื้อหลายชนิด
  • มีอาการอ่อนเพลีย เวียนศีรษะ
  • ปวดศีรษะ
  • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
  • มีรอยฟกช้ำตามร่างกายง่ายกว่าปกติ
  • ท้องเสีย มีไข้  และเหงื่อออกตอนกลางคืนเรื้อรัง
  • ต่อมน้ำเหลืองโตที่คอ รักแร้ หรือง่ามขา
  • ไอแห้งและหนัก
  • หายใจหอบเหนื่อย
  • มีจ้ำเลือดบริเวณผิวหนังหรือในช่องปาก
  • มีเลือดออกจากปาก จมูก ทวารหนัก หรือช่องคลอด
  • มีผื่นที่ผิวหนัง
  • มีอาการชาที่มือ หรือเท้า ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ฉันจะรักษา HIV ได้อย่างไร?

ปัจจุบันไม่มีวิธีในการรักษา HIV ให้หายขาด แต่ยาที่มีในปัจจุบันจะช่วยลดการเกิดอันตรายจากการติดเชื้อนี้ การรักษาจะช่วยให้มีชีวิตยืนยาวและลดโอกาสการแพร่เชื้อนี้ให้ผู้อื่น

ปัจจุบันไม่มีวิธีการรักษา HIV ให้หายขาด แต่ยาในปัจจุบันจะช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีชีวิตที่ยืนยาว มีสุขภาพแข็งแรง เราเรียกยานั้นว่า ยาต้านไวรัส HIV (Antiretroviral therapy หรือยา ART) 

ยานี้จะประกอบไปด้วยยาที่จะลดประมาณเชื้อ HIV ในเลือด เมื่อกินติดต่อกันไประยะเวลายาวนานพอ จะทำให้เชื้อมีปริมาณน้อยจนไม่สามารถตรวจพบได้อีก (แต่ยังติดเชื้ออยู่) 

ยาต้านไวรัส HIV นี้จะช่วยให้ผู้ติดเชื้อมีสุขภาพที่ดีเป็นระยะเวลานาน และลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อ HIV ไปยังผู้อื่น

นอกจากการใช้ยาแล้ว ลักษณะการใช้ชีวิตของเราจะช่วยให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรงด้วย เช่น การรับประทานอาหารที่ดี ถูกสุขลักษณะ ครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การออกกำลังกายเป็นประจำ การเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีในการจัดการกับความเครียด หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่เสพยาเสพติด

จะเข้ารับการรักษา HIV ได้ที่ไหนบ้าง?

คุณสามารถเข้ารับการรักษาได้ในโรงพยาบาลส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งโดยปกติแล้วโรงพยาบาลจะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV

โรคติดเชื้อไวรัส HIV เมื่อติดแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถรับประทานยาต้านไวรัสเพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเหมือนคนทั่วไปได้ โดยยิ่งได้รับยาต้านไวรัสเร็วเท่าไร ประสิทธิภาพในการรักษาก็ยิ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น

ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


52 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ตรวจ HIV หลังเสี่ยงกี่วัน ตรวจยังไง? อ่านสรุปที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/human-immunodeficiency-virus).
HIV/AIDS. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hiv-aids)
About HIV/AIDS - HIV Basics. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/hiv/basics/whatishiv.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ดูคำถามและคำตอบอื่นๆ ที่เกี่ยวกับอาการนี้
เป็นไข้หวัดใหญ่ชนิดเดียวกันในช่วงๆเวลาใกล้กันได้หรือไม่คะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
สงสัยคะทำไมคนไข้ส่วนใหญ่จะติดเชื้อในกระแสเลือดคะ
คำถามนี้ได้การตอบจากพยาบาลผู้เชี่ยวชาญ
เชื้อ HPV เกิดขึ้นได้อย่างไร และสามารถติดต่อกันทางเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่ ถ้าได้..สามารถตรวจเช็คได้ทางไหนบ้าง
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
ปัญหาสิวในวัย30+
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
เรื่องความเข้มข้นของเลือดในการบริจาคเลือดค่ะ เคยบริจาคได้ แต่สองสามปีมานี้ ทั้งพักผ่อน อกล ก็ยังไม่สามารถบริจาคเลือดได้ค่ะ
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)
การใส่เหล้ก จำเป้นไหมไม่ที่ไม่ผ่าออก
คำถามนี้ได้การตอบจากแพทย์ที่มีใบอนุญาต (คำตอบนี้เป็นการให้คำแนะนำเบื้องต้น ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค หรือการรักษา)