กระดูกสะโพกหรือกระดูกต้นขาเป็นกระดูกที่เกิดการหักได้บ่อย แต่พบมากในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยโอกาสเกิดสูงในผู้หญิงจากภาวะกระดูกบางและภาวะกระดูกพรุน เนื่องจากหมดประจำเดือนถาวร
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของกระดูกสะโพกหักก็เช่นเดียวกับกระดูกหักทั่วไปที่สำคัญคือ ล้มก้นกระแทก อุบัติเหตุทางรถยนต์ ภาวะหมดประจำเดือนถาวร ภาวะกระดูกบาง ภาวะกระดูกพรุน พันธุกรรม (พบว่ามีโอกาสเกิดได้สูงกว่าเมื่อมีคนในครอบครัวเคยกระดูกสะโพกหัก) ขาดอาหาร มีโรคประจำตัวเรื้อรัง หรือกินยาบางชนิดที่เป็นสาเหตุให้การทรงตัวไม่ดี เซได้ง่าย เช่นยานอนหลับ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
อาการ
เช่นเดียวกับอาการกระดูกหักทั่วไป เพียงแต่เกิดกับกระดูกสะโพก อาการเหล่านั้นจึงเกิดบริเวณสะโพกด้านที่กระดูกหัก (อ่านเพิ่มเติมในหัวข้อกระดูกหัก)
การวินิจฉัยและแนวทางการักษา
แพทย์วินิจฉัยกระดูกข้อสะโพกหักด้วยวิธีการเช่นเดียวกับการวินิจฉัยกระดูกหักทั่วไป (อ่านเพิ่มเติมในหัวข้อกระดูกหัก)
ผลข้างเคียงและความรุนแรง
กระดูกสะโพกหักเป็นอาการรุนแรง อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตหรือเป็นอัมพฤกษ์/อัมพาตได้ จาการลิ่มเลือดของหลอดเลือดขาหรือหลอดเลือดดำอื่นๆ ซึ่งลิ่มเลือดเล็กๆ อาจหลุดเข้าหลอดเลือดหัวใจ ปอด และสมอง
การดูแลตนเอง การพบแพทย์ และการป้องกันกระดูกสะโพกหัก
เช่นเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้วในเรื่องกระดูกหักในภาพรวม (อ่านเพิ่มเติมในหัวข้อนั้น)