

ไม่ช้าไม่นานกระดูกอาจจะหัก แต่ก่อนเมื่อหกล้มเคยรู้สึกเพียงขัดยอก ซึ่งจะหายไปในเวลาอันสั้น ต่อไปนี้หกล้มเลื่อนไถลเพียงเล็กน้อยจะกลายเป็นเรื่องสาหัสถึงขั้นกระดูกหัก บางครั้งไม่ต้องรอให้หกล้ม กระดูกชิงหักโค่นเสียก่อนจึงทำให้ล้มลง ผู้ชราที่เคยดูแลตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาลูกหลาน กลับกลายเป็นคนพิการ รักษาให้หายก็ยากและต้องพักฟื้นอยู่นาน ตามสถิติร้อยละยี่สิบของผู้ชราที่กระดูกหัก เสียชิตภายในหนึ่งปี เพราะมีโรคหรืออาการอื่นแทรกซ้อน

ในวัยเติบโต อัตราการสร้างสูงกว่าการรื้อ กระดูกจึงใหญ่ขึ้นและยึดยาวออกไปตามวัย เวลาประสบอุบัติเหตุกระดูกหัก เข้าเฝือกไว้จึงหายเร็วกว่าวัยอื่น ความยาวของกระดูกเพิ่มขึ้น ส่วนสูงจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งอายุประมาณ 18 ปี
หลังจากนั้นส่วนสูงจะคงที่ ความยาวของกระดูกไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีแคลเซี่ยมเกาะในกระดูกมากขึ้น และมากที่สุดเมื่ออายุ 25 ปี ในวัยหนุ่มสาวกระดูกจึงแน่นทึบมากและแข็งแกร่งที่สุดต่อเมื่ออายุ 35 ปีแล้ว อัตราการรื้อจะเริ่มสูงขึ้นกว่าอัตราการสร้าง เซลล์กระดูกเสียแคลเซี่ยมมากขึ้น สร้างเซลล์ใหม่ได้แต่ไม่ทันกระดูกจึงเริ่มเปราะ


การป้องกันโรคกระดูกเปราะเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก



อนึ่ง ผู้หญิงสูญเสียแคลเซี่ยมในกระดูกได้รวดเร็วกว่าผู้ชาย ผู้หญิงแก่หลังโก่ง จึงมีมากกว่าผู้ชายแก่หลังโก่ง โดยเฉพาะเมื่อหมดประจำเดือนแล้ว เข้าใจกันว่าเพราะรังไข่หยุดผลิตฮอร์โนเอสโตรเจน ฉะนั้นในสหรัฐอเมริกาจึงใช้ฮอร์โมนป้องกันโรคกระดูกผุ เนื่องจากฮอร์โมนนี้อาจทำให้เกิดมะเร็งในมดลูก จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง หรือใช้ผสมกับฮอร์โมนโปรเจสเตอร์โรน
แคลเซี่ยมชนิดเม็ด



ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท