กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

โรคซึมเศร้ากับสัญญาณเตือนภัยที่คุณคาดไม่ถึง

บางครั้งผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาจแสดงอาการ หรือส่งสัญญาณแปลกๆ ที่คิดไม่ถึงว่า นั่นคืออาการของภาวะซึมเศร้า
เผยแพร่ครั้งแรก 5 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 5 ม.ค. 2021 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคซึมเศร้ากับสัญญาณเตือนภัยที่คุณคาดไม่ถึง

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรม และการแสดงออกแตกต่างไปจากปกติ หลายคนกำลังเผชิญกับโรคนี้ แต่ไม่รู้ตัวว่า กำลังป่วย และไม่กล้ายอมรับ เนื่องจากหลายคนยังมองว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเป็นตัวสร้างปัญหา ชอบเรียกร้องความสนใจ
  • การเปลี่ยนแปลงของร่างกายบางอย่างเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า คุณกำลังเผชิญกับโรคซึมเศร้าอยู่ เช่น อาการปวดหลัง อยากกินอาหารมากกว่าเดิม รู้สึกหงุดหงิดง่ายกว่าเดิม ความจำเลอะเลือนง่ายกว่าปกติ
  • ผู้ที่กำลังเป็นโรคซึมเศร้า หรือเป็นภาวะซึมเศร้าจะมีพฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนไป เช่น ไม่ดูแลตนเอง อยากช้อปปิ้งมากขึ้น ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมือถือ และอินเทอร์เน็ตมากกว่าเดิม เสพติดการมีเพศสัมพันธ์ หรือไม่มีอารมณ์ทางเพศเลย
  • โรคซึมเศร้ายังเป็นตัวกระตุ้นทำให้อยากสูบบุหรี่ และเสพยาเสพติดกว่าเดิมด้วย ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางรายที่ไม่เคยมีความคิดอยากเสพสารอันตรายเหล่านี้ บางรายจะเริ่มอยาก และทดลองใช้สารเสพติดเพื่อบรรเทาความเศร้า
  • เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจปรึกษาสุขภาพจิต

โรคซึมเศร้า (Depression) ถือเป็นโรคใกล้ตัวของคนปัจจุบัน ใครก็ตามที่มีความเครียดเป็นทุนเดิม เมื่อทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านการเรียน การทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวัน บุคคลนั้นย่อมมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น 

และนอกจากการใช้ชีวิตในแต่ละวันแล้ว สารเคมีที่หลั่งออกมาจากสมองก็มีส่วนที่เป็นปัจจัยให้เกิดโรคดังกล่าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คนส่วนมากมักมองว่า โรคซึมเศร้าเป็นโรคของคนอ่อนแอ แต่ความจริงแล้ว โรคซึมเศร้าเป็นกระบวนการทางความคิด และจิตอย่างหนึ่งที่ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมได้เมื่อเกิดอาการ

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีวิธีการแสดงออกที่แตกต่างกัน บางคนแสดงทางสีหน้า อารมณ์ ความรู้สึก หรือแสดงออกด้วยวิธีที่แปลกประหลาดออกไป จนในบางครั้ง การแสดงออกดังกล่าวอาจไม่ได้ทำให้ผู้พบเห็น หรือเจ้าตัวคิดว่า ตนป่วยเป็น “โรคซึมเศร้า”

12 สัญญาณที่อาจเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้า

1. การช้อปปิ้งอย่างบ้าคลั่ง                  

คุณเคยสังเกตตัวเองไหมว่า คุณเองก็เป็นคนหนึ่งที่ใช้จ่ายโดยที่ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ สำหรับใครที่เป็นโรคซึมเศร้า นั่นเป็นเรื่องปกติที่จะซื้อของอย่างเสียสติ ไม่ว่าจะในห้างสรรพสินค้า หรือผ่านโลกออนไลน์ เพื่อหวังจะเบี่ยงเบนความสนใจจากความเครียด หรือปลุกความมั่นใจของตนเอง                 

แต่การรักษาความเครียดด้วยวิธีดังกล่าว เกิดขึ้นเพียงชั่วเวลาสั้นๆ เท่านั้น คุณจะไม่ใช้จ่ายอย่างเสียสติเป็นเวลายาวนานติดต่อกัน อย่างไรก็ตาม ในบางรายอาจเป็นอาการของโรคอารมณ์สองขั้ว หรือไบโพลาร์ (Bipolar disorder) ก็ได้

2. การดื่มอย่างหนัก

หากคุณรู้สึกว่า คุณต้องการดื่มเพื่อจัดการกับความวิตกกังวล หรืออาการซึมเศร้าต่างๆ นั่นอาจบ่งบอกได้ว่า คุณเป็นหนึ่งในผู้มีอาการภาวะซึมเศร้า ถึงแม้ว่าการดื่มจะทำให้รู้สึกดีเพียงชั่วครู่ แต่ก็ควรระมัดระวังปริมาณที่ดื่ม 

เพราะแอลกอฮอล์มีฤทธิ์กดประสาท หากดื่มเป็นประจำในปริมาณมากๆ อาจทำให้โรคซึมเศร้ามีผลที่ตรงกันข้าม และอาการย่ำแย่ลงไปอีกได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

3. ความหลงลืม

โรคซึมเศร้า อาจเป็นสาเหตุหนึ่งของการที่คุณเริ่มหลงๆ ลืมๆ เพราะโรคซึมเศร้า หรือภาวะเครียดที่เกิดขึ้นเป็นเวลานานจะเพิ่มระดับคอร์ติซอล หรือฮอร์โมนความเครียดของร่างกาย ซึ่งจะทำให้ส่วนหนึ่งของสมองอ่อนแอลง อันเกี่ยวโยงกับความทรงจำ และการเรียนรู้

4. การใช้อินเทอร์เน็ตมากเกินไป

การเสพติดโลกออนไลน์มากกว่าโลกความเป็นจริง เป็นอาการหนึ่งของคนเป็นโรคซึมเศร้า พวกเขาจะใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตมากจนเกินไป ระยะเวลาในการเล่นแต่ละครั้งอาจติดต่อกันตั้งแต่ 5-10 ชั่วโมงขึ้นไป 

นอกจากจะเสพติดแต่หน้าจอแล้ว ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่อยากพบเจอ หรือร่วมกิจกรรมใดๆ กับผู้คนในชีวิตจริง ไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว เพื่อน ญาติพี่น้อง

5. กระหน่ำกินอย่างบ้าคลั่ง และตามมาด้วยโรคอ้วน

ผลการศึกษาเมื่อปี 2010 จากมหาวิทยาลัยอัลบามา เผยว่า วัยรุ่นที่เป็นโรคซึมเศร้า มีแนวโน้มที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ นอกจากนี้ โรคซึมเศร้ายังเกี่ยวโยงกับการกินอาหารในจำนวนมาก โดยเฉพาะคนวัยกลางคน ซึ่งการรักษาโรคซึมเศร้าจะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว

หากคุณกำลังเผชิญกับความเครียด ความเศร้าบางอย่าง และรู้สึกว่า ตนเองมีอาการอยากอาหารมากกว่าปกติ รู้สึกว่า การกินอาหารเป็นทางออกที่ช่วยบรรเทาความรู้สึกแย่ๆ ได้ คุณอาจเผชิญกับภาวะซึมเศร้า หรือกำลังเป็นโรคซึมเศร้าอยู่

6. การขโมยของ

ประมาณสามส่วนของหัวขโมยทั้งหลาย เป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้า สำหรับใครก็ตามที่รู้สึกไม่มีพละกำลัง และรู้สึกว่าตนเองไม่สำคัญ การขโมยของจะช่วยทำให้รู้สึกตรงกันข้าม คือ มีพละกำลัง และรู้สึกว่าตนเองสำคัญ 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายรายยังรู้สึกเฉยชากับสิ่งที่ได้กระทำลงไป เพราะในความจริงแล้ว สิ่งของที่ขโมยมานั้นไม่ได้สำคัญเท่ากับความรู้สึกที่พวกเขารู้สึกเลย

7. การปวดหลัง

อาการเจ็บหลังเรื้อรัง ส่วนหนึ่งมาจากโรคซึมเศร้า 42% ของผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง เคยผ่านประสบการณ์การเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้คนมักเพิกเฉยต่อการเป็นโรคซึมเศร้า เพราะพวกเขาคิดว่า การเจ็บปวดต่างๆ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเป็นโรคซึมเศร้าแต่อย่างใด

8. พฤติกรรมทางเพศ

การเป็นโรคซึมเศร้านั้นเกี่ยวข้องกับการสูญเสียความต้องการทางเพศ  แต่ในบางรายก็อาจใช้เรื่องเพศเพื่อจัดการรับมือกับปัญหาโรคซึมเศร้า ดังนั้นการเป็นโรคซึมเศร้านั้น อาจเป็นปัจจัยเพิ่มพฤติกรรมสำส่อนทางเพศ การนอกใจ การเสพติดการมีเพศสัมพันธ์ และมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน

หรือในทางกลับกัน ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าบางรายก็จะจมอยู่กับความเศร้า และเรื่องที่ฝังใจอยู่ในขณะนั้น จนไม่มีอารมณ์ทางเพศเลย และอาจส่งผลกระทบต่อชีวิตคู่ได้

9. การแสดงออกทางอารมณ์ที่สุดเหวี่ยง

หลายๆ คนที่เป็นโรคซึมเศร้า มักหลุด หรือเผลอแสดงอารมณ์มากจนเกินปกติ บางครั้งก็ขี้โมโห หรือระเบิดอารมณ์ออกมา บางรายอาจรู้สึกเศร้า เสียใจ หมดหวัง วิตกกังวล และหวาดกลัว 

ปัญหาสำคัญ คือ สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น คนบางคนปกติเป็นคนนิ่งเฉย เมื่อมีอารมณ์ความรู้สึกพุ่งสูง ก็อาจนำมาซึ่งโรคซึมเศร้าได้

10 .เสพติดการพนัน

การพนันอาจทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้น และกระชุ่มกระชวย แต่หากเสพติดจนเป็นนิสัย อาจทำให้เศร้า เสียใจ หรือทุกข์ทรมานใจจากมันก็เป็นได้ เพราะผู้ป่วยหลายคน กล่าวว่า พวกเขารู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้าก่อนที่จะเริ่มเล่นการพนัน และเมื่อเจอความผิดหวังก็ทำให้ความรู้สึกย่ำแย่ลงไปอีก

11. การสูบบุหรี่

คุณมีปัญหากับการเลิกบุหรี่หรือไม่ การเป็นโรคซึมเศร้าจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงเป็นสองเท่าในการสูบบุหรี่ เรียกได้ว่า ยิ่งซึมเศร้ายิ่งสูบหนัก (ประมาณ 1 ซองต่อวัน หรือสูบบุหรี่ทุกๆ 5 นาที) 

การเลิกบุหรี่นั้นใช้เทคนิคเดียวกันกับการรักษาโรคซึมเศร้า คือ ใช้เทคนิคการบำบัดด้วยการรับรู้ หรือใช้ยาเพื่อรักษาอาการซึมเศร้า

12. ไม่ใส่ใจตนเอง

การละเลยหรือไม่ใส่ใจตนเอง เป็นสัญญาณของโรคซึมเศร้า และการขาดความมั่นใจในตนเอง พฤติกรรมอาจเริ่มตั้งแต่การไม่แปรงฟัน หรืออาจจะไปถึงขั้นโดดสอบ และไม่ใส่ใจโรคร้ายต่างๆ ที่ตนเป็น เป็นต้น

โรคซึมเศร้า ไม่ใช่โรคของคนอ่อนแอหรือขี้ขลาด หากแต่เป็นโรคที่เกี่ยวพันกับสารเคมีภายในสมอง ดังนั้น คนรอบข้างต้องทำความเข้าใจ และผู้ป่วยเองก็ต้องมั่นสังเกตตนเองเสมอ

การรักษาภาวะซึมเศร้า จำเป็นต้องอาศัยองค์ประกอบ หรือปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมกัน ทั้งสิ่งแวดล้อม คนรอบข้าง ยารักษา สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ จิตใจที่เข้มแข็ง ปัจจัยทั้งหลายนี้เมื่อประกอบรวมกันได้ดี อาการ และความรู้สึกต่างๆ ก็ย่อมมีเปอร์เซ็นต์ที่จะผันแปรไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

เปรียบเทียบราคาและแพ็กเกจตรวจสุขภาพจิต จากคลินิกและโรงพยาบาลใกล้คุณ และไม่พลาดทุกอัปเดตเรื่องสุขภาพและโปรโมชั่นเมื่อกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Clinical depression - Symptoms. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/clinical-depression/symptoms/)
9 Depression Symptoms to Look Out For. Healthline. (https://www.healthline.com/health/depression/recognizing-symptoms)
Signs of Clinical Depression: Symptoms to Watch For. WebMD. (https://www.webmd.com/depression/guide/detecting-depression#1)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร
อะไรคือภาวะผิดปกติทางอารมณ์จากการใช้สาร

เมื่อแอลกอฮอล์ สารเสพติดและยาทำให้คุณรู้สึกแย่กว่าเดิม

อ่านเพิ่ม