เริมที่ฝ่ามือคืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และวิธีป้องกัน

เผยแพร่ครั้งแรก 13 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เริมที่ฝ่ามือคืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และวิธีป้องกัน

โรคเริมเป็นโรคติดต่อชนิดหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนทุกวัย ผู้ที่เป็นโรคนี้แล้วมักจะมีเชื้อฝังอยู่ที่ปมประสาท ถึงแม้ว่าจะทำให้ดูภายนอกปกติไม่มีอาการแสดง แต่หากเมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอ โรคเริมก็จะกลับมาเป็นซ้ำและแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นต่อไปได้

เริมที่ฝ่ามือคืออะไร

คือโรคผิวหนังอันเกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่พบได้น้อย ส่วนใหญ่เราจะพบโรคเริมได้บ่อยที่บริเวณปากและอวัยวะเพศ โดยมีลักษณะเป็นตุ่มใสๆ เล็กๆ อยู่ไม่นานก็จะแตกแห้งเป็นแผลตกสะเก็ด และสามารถหายได้เองภายใน 5 – 10วัน

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

โรคเริมที่ฝ่ามือเป็นโรคติดต่อผ่านการสัมผัสหรือแพร่เข้าสู่กระแสเลือดได้เหมือนเริมที่ปากและอวัยวะเพศ โรคนี้มีโอกาสเกิดขึ้นซ้ำได้บ่อยๆ หรือมีอาการเรื้อรังเป็นๆ หายๆ โดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำที่ส่วนใหญ่จะมีอาการรุนแรง

สาเหตุของโรคเริมที่ฝ่ามือ

เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริม (Herpes simplex virus – HSV) เป็นคนละชนิดกับไวรัสอีสุกอีใสหรือโรคงูสวัด โรคเริมที่ฝ่ามือจะแยกออกได้เป็น 2 สายพันธุ์ ได้แก่ HSV-1 มักเกิดขึ้นที่ปาก และ HSV-2 มักเกิดขึ้นที่อวัยวะเพศ

การติดต่อของโรคเริมที่ฝ่ามือจะเกิดขึ้นจากการเอามือไปสัมผัสโดยตรงกับผู้ที่เป็นโรคเริม ด้วยวิธีผ่านทางรอยถลอกของผิวหนังหรือเยื่อบุตา ช่องปาก อวัยวะเพศทั้งชายหญิง ปากมดลูก ทวารหนัก น้ำลายหรือสารคัดหลั่ง โดยหากเกิดขึ้นในเด็กจะมีสาเหตุมาจากการดูดนิ้ว หรือผู้ใหญ่เป็นโรคเริมที่ปากแล้วไปหอมแก้ม ส่วนในผู้ใหญ่มักเกิดจากการสัมผัสกันระหว่างมีเพศสัมพันธ์หรือจากการเล่นกีฬาที่ต้องสัมผัสตัวโดยตรง

อาการของโรคเริมที่ฝ่ามือ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะมีอาการปวดแสบร้อนประมาณ 30 นาที – 48 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะมีตุ่มน้ำใสๆ 
ขนาด 2 – 3 มิลลิเมตร และจะเกิดเป็นกลุ่มล้อมรอบด้วยผื่นแดง ก่อนที่ตุ่มใสนั้นจะกลายเป็นสีเหลืองแตกแห้งกลายเป็นสะเก็ด 
หากติดเชื้อครั้งแรกจะมีอาการค่อนข้างหนัก เพราะจะเกิดการอักเสบที่รุนแรงและอาจมีลักษณะคล้ายเป็นตุ่มหนองหรือฝี 
(Herpetic whitlow) ประมาณ 7 – 10 วัน บางรายอาจมีไข้และต่อมน้ำเหลืองอักเสบร่วมด้วย

วิธีการรักษา

ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการไม่ชัดเจน แพทย์จะทำการวินิจฉัยจากประวัติ อาการ และตรวจเลือดหรือดูจากตุ่มน้ำหรือขูดแผลเอาเนื้อเยื่อไปตรวจหาเชื้อเริม จากนั้นจึงทำการรักษาด้วยวิธีดังนี้

1. รักษาตามอาการของโรค ถ้ามีอาการปวดหรือมีไข้ก็จะให้ยาลดไข้และยาบรรเทาอาการคัน เพราะโดยปกติโรคเริมมักหายได้เองอยู่แล้ว

2. ควบคุมโรคด้วยการให้ยาต้านไวรัส ซึ่งมีตัวยาหลายชนิดอย่างเช่นยาอะไซโคลเวียร์หรือยาวาลาไซโคลเวียร์ ทั้งนี้จะต้องอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ เพื่อช่วยลดความรุนแรงรวมทั้งลดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นด้วย แต่ถ้ามีภาวะแทรกซ้อนอย่างเช่นสมองอักเสบหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ แพทย์ก็จะให้รักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล

วิธีการป้องกัน

  • ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณที่ติดเชื้อได้ง่าย เช่น ปาก มือ อวัยวะเพศ น้ำลาย และสารคัดหลั่ง
  • รักษาอนามัยส่วนตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น โดยล้างมือและล้างอวัยวะเพศให้สะอาด หมั่นตัดเล็บให้สั้น ไม่แกะเกาผิวหนัง
  • หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่จะทำให้เกิดโรคเริมขึ้นได้ เช่น อารมณ์เครียด ความกังวล การถูกแดดจัดนานๆ การถูไถจนเกิดรอยถลอก การเสียดสีของผิวหนังกับเสื้อผ้า การผ่าตัดที่กระเทือนเส้นประสาท และไม่สวมเสื้อผ้าคับแน่นเกินไป
  • ไม่ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกันผู้ที่เป็นโรคเริม
  • ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
  • ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ

โรคเริมที่ฝ่ามือเป็นโรคที่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และยังไม่มีวัคซีนเพื่อป้องกันโรคนี้โดยตรง แต่การป้องกันด้วยตัวเองก็สามารถปฏิบัติได้ไม่ยาก จึงอาจเรียกว่าแม้ไม่หายขาดแต่ยังจัดการควบคุมโรคได้นั่นเอง


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Pictures of Viral Skin Diseases and Problems - Herpetic Whitlow. eMedicineHealth. (https://www.emedicinehealth.com/image-gallery/herpetic_whitlow_picture/images.htm)
Nongenital Herpes Simplex Virus. American Academy of Family Physicians (AAFP). (https://www.aafp.org/afp/2010/1101/p1075.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รายชื่อโรคติดต่อ
รายชื่อโรคติดต่อ

ค้นหารายชื่อโรคติดต่อได้ง่ายๆ ในลิ้งค์เดียว ไม่ต้องนั่งหาทีละโรค พร้อมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคติดต่อ รวมมาตอบไว้แล้วที่นี่

อ่านเพิ่ม
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

ตอบชัดเจน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคเอดส์ เชื้อ HIV ติดได้อย่างไร ทำแบบไหนติดบ้าง และจะป้องกันอย่างไร?

อ่านเพิ่ม