กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HD
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HD

เริม VS คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

เริมในสตรีมีครรภ์ มีโอกาสติดทารกถึง 40% อ่านข้อมูลและวิธีแก้ไขเพื่อความปลอดภัยของคุณและลูกน้อย
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ก.พ. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 7 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 1 นาที
เริม VS คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์

เริม เป็นโรคติดต่อที่ติดง่ายจากสารคัดหลั่งทั้งทางน้ำลาย และการมีเพศสัมพันธ์ โดยเกิดจาก HSV (herpes simplex virus) ซึ่งมี 2 ชนิดคือ HSV-1 มักทำให้เกิดรอยโรคบริเวณปาก และ HSV-2 มักทำให้เกิดรอยโรคบริเวณอวัยวะเพศ HSV มีระยะฟักตัวตั้งแต่ 30 - 180 วัน บ่อยครั้งที่คุณแม่อาจจะไม่ทราบว่าตนเองได้รับเชื้อเริม (เพราะยังไม่แสดงอาการหรือมีอาการแต่น้อยมากจนไม่ทันสังเกตเห็น) หากแม่เป็นเริมในขณะตั้งครรภ์จะมีผลต่อทารกในครรภ์อย่างไรบ้าง รวมถึงหากได้รับเชื้ออื่นๆ จะเป็นอย่างไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาฝากค่ะ

โดยปกติภูมิคุ้มกันจากแม่จะส่งต่อไปยังทารกในครรภ์ ดังนั้นหากคุณแม่เป็นเริม ทารกในครรภ์จะมีโอกาสติดเชื้อในอัตรา 1 ใน 20,000 หรือแม่ที่ติดเชื้อเริมก่อนคลอดเพียงเล็กน้อย โอกาสที่ทารกจะติดเชื้อเริมจะมีประมาณ 25 - 40%โดยมีรายงานว่าขั้นตอนที่ทารกเสี่ยงในการติดเชื้อเริมจากแม่มากที่สุดคือตอนคลอดธรรมชาติ (คลอดผ่านช่องคลอด)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีป้องกันทารกติดเชื้อเริมก็คือ การตรวจหาโรคเริมในแม่ก่อนคลอด หากพบเชื้อเริม คุณหมอจะทำคลอดโดยวิธีผ่าตัด แต่ปัจจุบันการตรวจหาเชื้อเริมมีราคาแพงมาก จึงไม่แนะนำวิธีนี้นอกจากตัวคุณแม่เองเคยมีประวัติการติดเชื้อเริมที่บริเวณช่องคลอดมาก่อน

ส่วนโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ แพทย์จะต้องวินิจฉัยเป็นกรณีไป ดังนี้

  • โรคหนองใน หากทารกติดเชื้ออาจทำให้ตาบอดได้ คุณแม่จะต้องรักษาให้หายขาดก่อนเริ่มตั้งครรภ์ และทารกแรกเกิดทุกคนจะได้รับการหยอดยาหรือป้ายยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อหนองในจากการคลอด
  • โรคซิฟิลิส มีผลกระทบต่อระบบกระดูกและฟันของทารกในครรภ์ มีการทำลายเนื้อเยื่อระบบประสาทส่วนกลาง อาจทำให้พิการหรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นในการฝากครรภ์จะมีการตรวจเลือดเพื่อหาเชื้อนี้ทุกคน เพราะโรคนี้อาจไม่มีอาการปรากฏ และหากพบเชื้อนี้ จะต้องรักษาให้หายก่อนอายุครรภ์ครบ 4 เดือน
  • โรคติดเชื้อคลาไมเดีย ทารกที่ติดเชื้อนี้จะมีอาการตาอักเสบอย่างรุนแรง รักษาโดยการใช้ยาป้ายตาที่มียาปฏิชีวนะต่อต้านเชื้อนี้โดยเฉพาะ
  • โรคเอดส์ ทารกในครรภ์มีโอกาสติดเชื้อ 20-65% และจะแสดงภาวะการเป็นโรคหลังจากคลอดได้ 6 เดือน และตัวคุณแม่เองจะมีสุขภาพที่แย่ลงหลังคลอด ดังนั้นจะต้องทดสอบการติดเชื้ออย่างระมัดระวัง และควรตรวจสอบซ้ำ 2 ครั้งเพื่อให้ผลแน่นอน

1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Management of Genital Herpes in Pregnancy (https://www.rcog.org.uk/global...), October 2014

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)
ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบ (Chorioamnionitis)

ภาวะติดเชื้อในมดลูกจัดเป็นภาวะที่รุนแรง

อ่านเพิ่ม