ณ ปัจจุบันภาวะต่าง ๆ อย่างโรคไหล่ห่อคอตก โรคเส้นประสาทกดทับ และอื่น ๆ สามารถพบเห็นได้มากเนื่องมาจากการใช้งานคอมพิวเตอร์และแล็บท็อบมากเกินไป
โรคไหล่ห่อคอตก
หากคุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่และกำลังนั่งงอตัวอยู่บนเก้าอี้ หรือกำลังเอี้ยวตัวราบไปบนโต๊ะ ศีรษะของคุณจะเอนไปข้างหน้าค่อนข้างมากในขณะที่ไหล่คุณจะทำมุมโค้ง และแขนของคุณจะงอขนาบข้างของร่างกายคุณ ท่าทางเช่นนี้อาจสามารถสร้างความเจ็บปวดให้คุณได้โดยที่คุณไม่รู้สึกตัว
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
คำว่า “ไหล่ห่อคอตก” นั้นเกิดจากความคิดเห็นร่วมกันของบรรดานักกายภาพและแพทย์ที่คิดว่าคำนิยามนี้เหมาะสมที่สุดกับโรคที่เกิดจากการใช้งานเทคโนโลยีประเภทใหม่ซึ่งเป็นผลมาจากการพิมพ์ข้อความ การเล่นเกม และการส่งอีเมล์ โรคไหล่ห่อคอตก หรือก็คือการบาดเจ็บจากการทำงานหนักซ้ำ ๆ ซึ่งมาจากการที่ศีรษะของคุณเอนไปข้างหน้า และก้มลงมองอุปกรณ์ในมือของคุณเป็นระยะเวลานาน
ความผิดปกติด้านการนอน
การจ้องมองแสงจากหน้าจออุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างจอโทรทัศน์หรือจอคอมพิวเตอร์อาจส่งผลต่อกระบวนการสร้างเมลานินของคุณ ด้วยการบั่นทอนนาฬิกาชีวภาพในตัว และส่งผลให้ร่างกายไม่อาจนอนหลับได้อย่างสนิทจริง ๆ จากข้อมูลงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยโกเทนเบิร์ก ประเทศสวีเดน การใช้งานโทรศัพท์มือถือและคอมพิวเตอร์อย่างหนักหน่วงนั้นเชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของความเครียด ภาวะความผิดปรกติด้านการนอน และเพิ่มอัตราการเป็นโรคซึมเศร้าในผู้ที่มีอายุน้อย โดยสามารถสรุปข้อมูลการค้นพบนี้ข้างล่าง:
- การใช้งานโทรศัพท์มือถือหนักเกินไปแสดงให้เห็นการเพิ่มขึ้นของภาวะความผิดปรกติด้านการนอนในกลุ่มผู้ชาย และเพิ่มอาการโรคซึมเศร้าขึ้นในกลุ่มผู้ชายและผู้หญิง
- ผู้ชายที่ใช้คอมพิวเตอร์นาน ๆ มักประสบกับปัญหาด้านการนอนมากขึ้น
- ทั้งสองเพศแสดงผลให้เห็นว่าการใช้งานคอมพิวเตอร์ตอนดึกนาน ๆ โดยไม่หยุดพักนั้นเกี่ยวพันกับการเป็นภาวะผิดปรกติด้านการนอน การเพิ่มขึ้นของความเครียด และปัญหาด้านซึมเศร้า
โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม (CVS)
คุณเป็นคนที่ต้องเกาะติดหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลามากกว่า 6 ถึง 7 ชั่วโมงหรือไม่ และมักมีปัญหาตาแห้งหรือมีน้ำตาไหลออกมาหรือไม่? หากใช่ คุณอาจจะเป็นโรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมก็เป็นได้ ซึ่งโรคนี้ทำให้คุณทรมานจากสายตาพร่ามัว ภาพซ้อน ตาแห้ง ตาแดง ระคายเคืองที่ดวงตา ปวดหัว ปวดคอ หรือเจ็บหลัง
นักวิจัยได้ทำการสรุปแล้วว่าผู้ที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์มากกว่าเจ็ดสิบเปอร์เซ็นต์ (หรือมากกว่า 140 ล้านคน) ประสบกับปัญหาคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม หรือดวงตาอ่อนล้า
ควรการปรับเปลี่ยนวิธีการนั่งทำงาน จัดรูปแบบการวางจอคอมพิวเตอร์ให้ดี หรือหยุดพักสายตาและร่างกายเป็นครั้งคราวจะช่วยบรรเทาปัญหาจากโรคนี้ไปได้ แต่หากยังคงประสบกับความอ่อนล้าของดวงตาอยู่ก็ควรเข้าปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด
โรคเส้นประสาทกดทับที่ข้อมือ
มักแสดงออกมาเป็นอาการตะคริว ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อเกร็ง โรคเส้นประสาทกดทับที่ข้อมือก็ยังเป็นภาวะผิดปรกติของประสาทที่ร้ายแรงอยู่ดี ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของอาการ และอาจส่งผลเป็นอาการเจ็บปวด การเปลี่ยนแปลงของระบบรับความรู้สึก หรือการสูญเสียการเคลื่อนไหวของมือไปได้ อาการทั่วไปของโรคเส้นประสาทกดทับที่ข้อมือ ยกตัวอย่างเช่นชาที่นิ้ว (มักเกิดที่หัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง) แสบร้อน รู้สึกจั๊กจี้ที่ฝ่ามือ ปวดปลายนิ้ว ข้อต่อตึง และการหยิบกำด้วยนิ้วทำได้ยาก เป็นต้น
วิธีการป้องกันมีดังนี้:
- ใช้แรงในการทำงานหรือหยิบจับสิ่งของให้น้อยที่สุด
- หยุดพักกิจกรรมเป็นครั้งคราว และยืดเส้นยืดสายข้อมือบ้าง
- วางแป้นพิมพ์ให้อยู่ที่ระดับข้อศอก หรือต่ำกว่าเล็กน้อย
- หยุดการใช้งานคอมพิวเตอร์และพักผ่อนเป็นระยะ
ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน
ในปี 2003 ได้มีรายงานถึงความเสี่ยงของภาวะหลอดเลือดดำตีบออกมาหลังจากที่มีชายวัย 32 ปีที่ใช้งานคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงเกิดเส้นเลือดอุดตันเฉียบพลัน ซึ่งทำให้เขาหมดสติทันที ทำให้บรรดานักวิจัยต่างออกมาเตือนและแนะนำผู้ใช้คอมพิวเตอร์ให้ลุกขึ้นมา ขยับร่างกายไปรอบ ๆ และหลีกเลี่ยงการนั่งอยู่เฉย ๆ เป็นเวลานานในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
มาถึงตอนนี้ คุณควรตระหนักแล้วว่าทั้งอุปกรณ์และเทคโนโลยีนั้นทำให้ชีวิตของพวกเราง่ายขึ้นก็จริง แต่มันก็ยังส่งผลต่อสุขภาพของพวกเราไม่ทางใดก็ทางหนึ่งเช่นกัน อย่าให้มันครอบงำและทำลายสุขภาพของเราเพราะผลของมันจะเรื้อรังเป็นระยะเวลานาน