โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน (Hairy cell leukemia)

เผยแพร่ครั้งแรก 5 ส.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน (Hairy cell leukemia)

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขนเป็นมะเร็งที่พบได้ยาก ซึ่งได้ชื่อมาจากลักษณะพยาธิวิทยาของเซลล์มะเร็งเอง โดยมีอาการคล้ายกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวอื่น ๆ เนื่องจากกระทบต่อจำนวนและการทำงานของเม็ดเลือดอื่น

บทนำ

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขนเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดที่หาพบได้ยาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

มะเร็งชนิดนี้ได้ชื่อจากการที่รอบผิวของเซลล์มะเร็งดังกล่าวเกิดเป็นเส้นละเอียดคล้ายเส้นผมอยู่รอบเซลล์ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์

ไม่ทราบสาเหตุของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาวหรือลิวคีเมีย เป็นโรคที่มีความผิดปกติต่อเซลล์ภูมิคุ้มกันคือเซลล์เม็ดเลือดขาว

เซลล์เม็ดเลือดของร่างกายมีทั้งเม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดโดยทั้งหมดผลิตโดยไขกระดูก ไขกระดูกเป็นเนื้อเยื่อลักษณะคล้ายฟองน้ำที่พบภายในกระดูก นอกจากนี้ ไขกระดูกยังผลิตเซลล์พิเศษที่เรียกว่าเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์

ในโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งจะเกิดขึ้นในเซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ และทำให้แบ่งตัวออกเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากกว่าความต้องการ เมื่อเวลาผ่านไปการสะสมของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นมะเร็งจะสร้างความเสียหายให้สมดุลของเซลล์ปกติในเลือด

หากเกิดภาวะนี้ขึ้น แสดงว่าร่างกายของคุณจะไม่มีเซลล์เม็ดเลือดแดงซึ่งทำหน้าที่ขนส่งออกซิเจนไปทั่วร่างกาย หรือเกล็ดเลือดซึ่งช่วยห้ามเลือดให้หยุดไหลให้เพียงพอต่อความต้องการปกติของร่างกาย เหตุการณ์เช่นนี้อาจนำไปสู่อาการต่าง ๆ ของภาวะโลหิตจาง เช่น อาการหมดแรง เมื่อยล้า หายใจถี่ เป็นลมพับ รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเลือดไหลไม่หยุดหรือสูญเสียเลือดมาก

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

นอกจากนี้ เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เป็นมะเร็งนั้นไม่ได้เจริญเติบโตอย่างถูกต้องสมบูรณ์ เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติดังกล่าวจึงมีประสิทธิภาพน้อยมากในการต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียและไวรัสซึ่งทำให้คุณเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากขึ้น

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน (Hairy cell leukemia)

อาการของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขนจะพัฒนาขึ้นอย่างช้า ๆ และอาการคล้ายคลึงกับมะเร็งเม็ดเลือดขาวประเภทอื่น ๆ ซึ่งได้แก่:

สูญเสียน้ำหนักตัว

ผิวซีด

  • อ่อนเพลีย เหนื่อยล้าและหายใจถี่ (เนื่องจากขาดเซลล์เม็ดเลือดแดง)
  • เกิดการติดเชื้อบ่อย (เนื่องจากขาดเซลล์เม็ดเลือดขาวที่สมบูรณ์ในการต่อสู้กับเชื้อโรค)
  • เลือดออกง่ายหรือเกิดรอยช้ำได้ง่าย
  • ปวดท้อง หรือเกิดอาการท้องบวม

เซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติสามารถสะสมในม้ามของคุณทำให้มีขนาดของม้ามโตขึ้น ม้ามเป็นอวัยวะที่อยู่ด้านซ้ายบนของช่องท้อง โดยอยู่หลังกระเพาะและแนบไปกับกระดูกซี่โครงของคุณ

ถ้าม้ามของคุณโตขึ้น คุณอาจมีพบว่าเกิดก้อนที่คลำเจ็บขึ้นทางด้านซ้ายของช่องท้อง ในกรณีนี้ คุณควรเข้าพบแพทย์ประจำตัวของคุณโดยเร่งด่วนเพื่อทำการตรวจก้อนเนื้อดังกล่าว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ม้ามที่โตขึ้นอาจทำให้เซลล์เม็ดเลือดปกติถูกกำจัดออกจากกระแสเลือดได้มากขึ้น เหตุการณ์นี้อาจนำไปสู่การลดลงของจำนวนเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดที่ปกติภายในเลือดของคุณ

การวินิจฉัยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน

หากแพทย์ประจำตัวของคุณสงสัยว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว คุณอาจถูกส่งต่อให้ไปพบอายุรแพทย์โลหิตวิทยาซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านความผิดปกติของเลือด

อายุรแพทย์โลหิตวิทยาจะทำการตรวจเลือดเพื่อตรวจหาจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดชนิดต่าง ๆ ในตัวอย่างเลือดของคุณซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่าการนับเม็ดเลือดทั้งหมด (Full blood count: FBC) และการตรวจดังกล่าวจะระบุจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติที่คุณมีอยู่

ถ้าคุณเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์เป็นขน จำนวนของเซลล์เม็ดเลือดแดงและจำนวนเกล็ดเลือดของคุณจะต่ำ

อาจต้องทำการเก็บตัวอย่างไขกระดูกซึ่งจะทำให้ข้อมูลโลหิตวิทยาของคุณเห็นรายละเอียดได้มากขึ้น

อาจจำเป็นต้องมีการสแกนอัลตราซาวนด์หรือการสแกนด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เพื่อตรวจดูม้ามของคุณร่วมด้วย

การรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน

เนื่องจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขนจะค่อย ๆ พัฒนาขึ้นอย่างช้า ๆ การรักษาในทันทีทันใดนั้นอาจไม่จำเป็น โดยคุณจะได้รับการตรวจเลือดเป็นประจำเพื่อตรวจสอบสภาวะของโรคมะเร็งของคุณอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาอาจต้องทำในกรณีพบว่าเม็ดเลือดขาวที่ผิดปกติมีจำนวนเพิ่มขึ้นหรือถ้าคุณเกิดอาการต่าง ๆ

หลายการรักษาสามารถใช้สำหรับรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน การใช้เคมีบำบัดมักเป็นวิธีหลักในการรักษาและมักมีประสิทธิภาพในการทำลายเซลล์มะเร็ง

บางครั้งก็อาจใช้การรักษาอื่น ๆ หรือร่วมกับเคมีบำบัด

Rituximab เป็นยาชนิดหนึ่งในกลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดี (Monoclonal antibody) ยาดังกล่าวจะทำการค้นหาโปรตีนผิวเซลล์ของเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวและทำการยึดติดกับเซลล์ดังกล่าว ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเห็นเป้าหมายได้ดีและฆ่าเซลล์ที่ผิดปกติได้สำเร็จ

Interferon เป็นยาอีกตัวหนึ่งที่สามารถนำมาใช้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน ยาดังกล่าวสามารถเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและช่วยร่างกายต่อสู้กับโรคมะเร็ง ยานี้ถูกใช้ในการบำบัดแบบหนึ่งซึ่งเรียกว่า การรักษาแบบภูมิคุ้มกันบำบัด (Immunotherapy) และอาจเป็นทางเลือกการรักษาที่แนะนำ หากว่าคุณไม่สามารถใช้เคมีบำบัดหรือยา Rituximab ได้หรือยาดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาอาการของคุณ

การผ่าตัดเพื่อตัดม้ามออกไม่นิยมใช้ในการรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน อย่างไรก็ตาม การตัดม้ามทิ้งอาจได้รับการแนะนำให้ทำร่วมด้วย ในกรณีต่อไปนี้:

  • ม้ามขยายตัวมากและเป็นสาเหตุของอาการปวดหรือรู้สึกไม่สบาย
  • ม้ามกำลังทำลายเม็ดเลือดแดงปกติหรือเกล็ดเลือดปกติจำนวนมาก
  • ม้ามไม่หดตัวลงหลังจากการได้รับเคมีบำบัด

พยากรณ์โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน

เช่นเดียวกับมะเร็งเกือบทุกชนิด แนวโน้มของโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขน จะขึ้นอยู่กับระยะมะเร็งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน และมีการตอบสนองต่อการรักษาอย่างไร

เนื่องจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเซลล์มีขนเป็นมะเร็งที่หาพบได้ยากชนิดหนึ่ง จึงยากที่จะคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำว่าจะส่งผลต่อบุคคลในระยะยาวอย่างไร

อย่างไรก็ตามจากรายงานที่ผ่านมา พบว่าอย่างน้อย 96 รายใน 100 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมีขนจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างน้อย 10 ปี หลังจากได้รับการวินิจฉัย


17 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Hairy Cell Leukemia: Rare and Highly Treatable. Everyday Health. (https://www.everydayhealth.com/hairy-cell-leukemia/)
Hairy cell leukaemia. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/hairy-cell-leukaemia/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป