อาการปวดข้อศอก เป็นอาการสำคัญชนิดหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเดินทางมาพบนักกายภาพบำบัด ถึงแม้ข้อศอกจะเป็นข้อต่อที่มีขนาดเล็ก เคลื่อนไหวได้ไม่กี่ทิศทาง แต่มีความสำคัญอย่างมากต่อการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ อาการปวดข้อศอกมีสาเหตุที่หลากหลาย สามารถเกิดได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ที่พบบ่อยที่สุดคือกลุ่มอาการปวดข้อศอกของนักกอล์ฟและนักเทนนิส สำหรับบทความนี้จะพูดถึงภาวะปวดข้อศอกด้านใน หรือปวดข้อศอกนักกอล์ฟ เป็นหลัก
ทำความเข้าใจอาการปวดข้อศอกของนักกอล์ฟและนักเทนนิสเบื้องต้น
ภาวะปวดข้อศอก (Epicondylitis) พบได้บ่อยในเพศชายมากกว่าเพศหญิง ในอัตราส่วน 2:1 มีสาเหตุมาจากการอักเสบของกลุ่มเอ็นกล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวข้อมือ นอกจากนี้ยังอาจจะพบการฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อร่วมด้วย แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
- ภาวะปวดข้อศอกด้านใน (Medial epicondylitis) เกิดจากการอักเสบและฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อกลุ่มที่ใช้กระดกและคว่ำข้อมือ (Flexor-pronator group) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อกลุ่มอาการปวดข้อศอกของนักกอล์ฟ (Golfer’s elbow) เพราะพบบ่อยในผู้ที่เล่นกีฬากอล์ฟ เนื่องจากเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้อย่างหนักโดยฉับพลันซ้ำๆ
- ภาวะปวดข้อศอกด้านนอก (Lateral epicondylitis) เกิดจากการอักเสบและฉีกขาดของเอ็นกล้ามเนื้อกลุ่มที่ใช้กระดกและหงายข้อมือ (Extensor-supinator group) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อกลุ่มอาการปวดข้อศอกของนักเทนนิส (Tennis’s elbow) เพราะพบได้บ่อยในผู้ที่เล่นกีฬาเทนนิสเป็นประจำ เนื่องจากเป็นเป็นกีฬาที่ต้องอาศัยการทำงานของกล้ามเนื้อกลุ่มนี้ซ้ำๆ
นอกจากพบได้ในผู้ที่เล่นกีฬาทั้งสองชนิดแล้ว กลุ่มอาการปวดข้อศอกทั้งคู่ยังสามารถพบได้ในบุคคลทั่วไปที่ไม่ได้เล่นกีฬาดังกล่าวด้วย เนื่องจากกลุ่มของกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกนั้นมีขนาดเล็ก มีความแข็งแรงต่ำ เมื่อถูกใช้งานอย่างหนักหรือถูกใช้งานซ้ำๆ จากกิจวัตรในชีวิตประจำวัน เช่น การทำงานบ้าน ยกของหนัก ตอกตะปู ทาสี หรืออุ้มเด็กทารก ก็อาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
โดยทั่วไปอาการปวดข้อศอกสามารถพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่ช่วงอายุระหว่าง 20-49 ปีจะมีความถี่ในการเกิดมากที่สุด
เนื่องจากภาวะปวดข้อศอกทั้งด้านนอกและด้านในมีสาเหตุและกลไกการเกิดคล้ายกัน เพียงแต่เกิดคนละตำแหน่ง ดังนั้นการตรวจประเมินและการรักษาจึงคล้ายกัน แต่การออกกำลังกายเพื่อการรักษาจะมีความแตกต่างกันชัดเจน เนื่องจากกล้ามเนื้อทั้งสองกลุ่มนี้มีหน้าที่ตรงข้ามกัน ในทีนี้จึงจะขอกล่าวถึงกลุ่มอาการปวดข้อศอกในนักกอล์ฟเป็นหลักเพื่อให้เข้าใจกระบวนการคร่าวๆ
อาการของภาวะปวดข้อศอกด้านในมีอะไรบ้าง?
อาการสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยภาวะปวดข้อศอกด้านในมีดังนี้
- ปวดบริเวณปุ่มกระดูกข้อศอกด้านที่ติดกับลำตัว (Medial epicondyle) และอาจจะปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อมือ
- เมื่อคลำดูอาจจะพบจุดกดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อของข้อศอกด้านใน
- มีการปวดตึงข้อศอกเฉพาะด้านในหรือทั้งข้อศอก หากมีอาการรุนแรงหรือเรื้อรังอาจจะพบว่าปวดตึงลามลงไปถึงข้อมือ
- นอกจากอาการปวดแล้ว อาจจะพบอาการบวม แดง และร้อนบริเวณข้อศอกร่วมด้วย
- อาการปวดจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อต้องออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อศอกหรือเคลื่อนไหวข้อศอก
- ในผู้ป่วยระยะเรื้อรังอาจพบการอ่อนแรงหรือฝ่อลีบของกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกร่วมด้วย
การวินิจฉัยทางกายภาพบำบัดสำหรับกลุ่มอาการปวดข้อศอกด้านใน
การวินิจฉัยทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ประกอบไปด้วย 2 ขั้นตอนหลักๆ ได้แก่ การซักประวัติ ซึ่งจะสามารถคัดกรองผู้ป่วยที่มีภาวะปวดข้อศอกจากสาเหตุอื่นๆ ได้ เช่น กระดูกข้อศอกอักเสบ เส้นประสาทถูกกดทับ โดยนักกายภาพบำบัดมักจะซักถามถึงสาเหตุของอาการปวด หรือกิจกรรมที่ทำแล้วกระตุ้นให้เกิดอาการปวด หลังจากทำการซักประวัติแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือการตรวจร่างการเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป โดยใช้วิธีดังนี้
- การสังเกต (Observation) นักกายภาพบำบัดจะสังเกตความผิดปกติบริเวณรอบๆ ข้อศอก เช่น อาการบวม สีของผิวหนังที่เปลี่ยนไป
- การคลำ (Palpation) นักกายภาพบำบัดจะใช้มือสัมผัสรอบๆ ข้อศอกของผู้ป่วย เพื่อตรวจสอบอุณภูมิของผิวหนัง ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ นอกจากนี้อาจจะใช้ปลายนิ้วมือกดเบาๆ บริเวณรอบๆ ข้อศอก เพื่อหาจุดที่กระตุ้นให้เกิดอาการปวดที่สุด ซึ่งจะช่วยให้ระบุและยืนยันโครงสร้างที่มีปัญหาได้
- การตรวจพิเศษ (Special test) มีด้วยกันหลายวิธี แต่วิธีที่อาจจะพบได้บ่อยเมื่อเข้ารับบริการที่คลินิกกายภาพบำบัดคือ Golfer’s elbow test สามารถทำได้ทั้งในท่าทั่งและท่านอนหงาย นักกายภาพบำบัดจะขอให้ผู้ป่วยคว่ำมือและงอข้อศอกประมาณ 90 องศา ก่อนจะค่อยๆ หงายมือ กระดกข้อมือขึ้น และเหยียดข้อศอกออก หากผู้ป่วยรายงานว่าท่านี้กระตุ้นให้เกิดอาการปวด ก็จะยืนยันได้ว่ามีการบาดเจ็บของเอ็นกล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกจริง
นอกจากวิธีการตรวจร่างกายที่แนะนำไว้เบื้อต้น หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีอาการชา การตรวจกำลังของกล้ามเนื้อและตรวจการทำงานของเส้นประสาทก็มีความจำเป็น ตามลำดับ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
วิธีฟื้นฟูทางกายภาพบำบัดสำหรับผู้มีภาวะปวดข้อศอกด้านใน
มีรายงานยืนยันชัดเจนว่าผู้ป่วยภาวะปวดข้อศอกถึง 95% สามารถหายขาดได้ด้วยการรักษาตามวิธีทางกายภาพบำบัด ภาวะปวดข้อศอกสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 ระยะใหญ่ๆ คือ ระยะที่มีอาการอักเสบอยู่มาก (Inflammatory phase) และระยะฟื้นฟู (Rehabilitation phase) ซึ่งการรักษาหลักก็จะถูกออกแบบให้กับระยะของอาการ เช่น
- ระยะที่ยังมีการอักเสบอยู่ รอบๆ ข้อศอกจะมีอาการ ปวด บวม แดง ร้อน โดยอาการปวดจะเป็นอาการสำคัญที่สุด นักกายภาพบำบัดจึงจะมุ่งเน้นไปที่การลดความเจ็บปวดลงด้วยวิธีการต่างๆ เช่น
- การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด (Physical modalities) เพื่อลดอาการปวด และเสริมสร้างการซ่อมแซมตัวเองของเนื้อเยื่อผ่านกระบวนการต่างๆ เช่น เครื่องอัลตราซาวนด์ เลเซอร์ การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อลดปวดการประคบร้อนหรือเย็น
- การรักษาด้วยมือ (Manual therapy) นักกายภาพบำบัดอาจจะใช้มือ ลูบ ดัด ดึง หรือขยับข้อต่อเบาๆ เพื่อหวังผลต่างๆ เช่น ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ลดอาการบวม ซึ่งเทคนิคที่เลือกใช้ได้ก็ขึ้นกับอาการและความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย
- การใช้อุปกรณ์พยุงข้อศอก (Elbow support) เพื่อจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อศอกป้องกันการบาดเจ็บเพิ่มเติมของเนื้อเยื่อและสนับสนุนให้เกระบวนการซ่อมแซมตัวเองเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและสมบูรณ์ขึ้น
- การให้คำแนะนำเรื่องการหลีกเลี่ยงท่าทางที่กระตุ้นให้เกิดอาการ หรือทำให้มีการบาดเจ็บเพิ่ม (Education) เช่น การยกของหนักๆ การใช้ข้อมือและข้อศอกในทิศทางซ้ำๆ เช่น ถูบ้าน ผัดอาหาร สับหมู
- ระยะฟื้นฟู เป็นระยะที่อาการปวดลดลงจนเหมาะสมต่อการรักษาเพื่อเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และส่งเสริมให้ผู้ป่วยกลับไปประกอบกิจวัตรประจำวันได้อย่างปกติ รวมถึงป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ นักกายภาพบำบัดจะให้ความสำคัญแก่การเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ
ตัวอย่างการรักษา เช่น การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening exercise) การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Stretching exercise) การเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ (Endurance training exercise) เป็นต้น
นอกจากนี้ในผู้ป่วยที่ยังมีอาการปวดเหลืออยู่นักกายภาพบำบัดอาจจะให้การรักษาด้วยเครื่องมือทางกายภาพบำบัดควบคู่ไปด้วยก็ได้
หากผลการรักษาทางกายภาพบำบัดไม่เป็นที่น่าพอใจนักกายภาพบำบัดอาจจะส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์เพื่อรักษาด้วยการรับประทานยา การฉีดยาสเตียรอยด์ไปยังจุดที่มีอาการปวดมากที่สุด หรือการผ่าตัด ต่อไป
วิธีการดูแลตนเองที่บ้าน เพื่อบรรเทาอาการปวดข้อศอกด้านใน
ในระยะที่มีการอักเสบอยู่มาก ยังไม่แนะนำให้ออกกำลังกาย ให้ดูแลเหมือนการอักเสบทั่วไปด้วยหลักการ POLICE
P - Protection (พักการใช้งาน) คือควรหยุดการใช้งานโครงสร้างที่ได้รับการบาดเจ็บทันที เพื่อป้องกันการบาดเจ็บที่เพิ่มขึ้น อาจจะพยุงด้วยการพันผ้ายืด ติดเทปหรือใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงต่างๆ รวมถึงการใช้เครื่องช่วยเดินต่างๆ เช่น ไม้ค้ำรักแร้ ไม้เท้า ร่วมด้วย
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
O L - Optimum Loading (ขยับเท่าที่ทำได้) สำหรับข้อเท้าพลิก สามารถทำได้ด้วยการขยับข้อเท้าเท่าที่ทำได้ เดินลงน้ำหนักเท่าที่ไหว โดยระวังไม่ให้มีอาการปวดมากขึ้น
I - Ice (ประคบด้วยความเย็น) เพื่อลดกระบวนการอักเสบของเนื้อเยื่อที่ได้รับการบาดเจ็บ
C - Compression (ให้แรงกดเบาๆ ขณะประคบเย็น) ขณะประคบเย็นอาจจะใช้ผ้ายืดรัด โดยรัดแน่นที่ส่วนปลายเท้า และค่อยๆ ผ่อนแรงตึงของผ้าลงเรื่อยๆ เมื่อเข้าใกล้ส่วนลำตัว เป็นเวลา 15-20 นาที ก่อนจะแกะออก และทำซ้ำใหม่ทุกๆ 2 ชั่วโมง หรืออาจะเลือกติดเทปที่ผลิตเพื่อการนี้โดยเฉพาะ ซึ่งสามารถให้ความเย็นและไม่แฉะด้วย
E - Elevation (ยกข้อเท้าให้สูงกว่าระดับหัวใจ) ทำได้โดยการนอนหงาย ใช้หมอนรองใช้ข้อเท้าข้างที่มีอาการให้สูงกว่าระดับหัวใจเล็กน้อย เพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือดจากปลายเท้ากลับสู่หัวใจ ซึ่งช่วยลดอาการบวมได้ ทั้งนี้อาจกระดกข้อเท้าเบาๆ ร่วมด้วย จะช่วยให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
สำหรับผู้ป่วยในระยะฟื้นฟูคำแนะนำสำหรับการออกกำลังกายมีดังนี้
- การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
- กล้ามเนื้อกระดกข้อมือ (Wrist flexor muscles) หงายฝ่ามือวางท่อนแทนบนโต๊ะให้ข้อมือพ้นขอบโต๊ะ กำมือ ค่อยๆ กระดกข้อมือขึ้น-ลงจนสุดการเคลื่อนไหว เมื่อทำได้ดีไม่มีอาการปวด สามารถเพิ่มความยาก ด้วยการเปลี่ยนจากกำมือเป็นถือขวดน้ำหรือดัมเบลขนาดเล็ก ค่อยๆ เติมน้ำหรือเพิ่มน้ำหนักของดัมเบลทีละเล็กน้อย
- กล้ามเนื้อที่ใช้ในการคว่ำข้อมือ (Pronator muscles) ใช้ท่าเริ่มต้นเหมือนข้อ a. เปลี่ยนจากกระดกข้อมือขึ้นลงเป็นหมุนข้อศอกให้ข้อมือหงาย-คว่ำแทน เพิ่มความยากด้วยวิธีเดียวกัน
- กล้ามเนื้อที่ใช้ในการกำและแบมือ (Finger flexor and extensor muscles) ทำได้โดยการกำและแบมือเปล่า ถ้าไม่มีอาการปวดแล้วอาจจะเพิ่มความยากด้วยการกำลูกบอลยางหรือดินน้ำมัน
- กล้ามเนื้อที่ใช้ในการหุบและกางนิ้ว (Lumbricals muscles) ทำได้โดยการแบมือ เหยียดข้อนิ้วทุกข้อรวบปลายนิ้วทุกนิ้วชนกัน ก่อนจะค่อยๆ กางออก เพิ่มความยากด้วยการคล้องหนังยางไว้ที่ปลายนิ้ว ก่อนจะหุบและกางเหมือนเดิม ทำให้ยากขึ้นด้วยการเพิ่มจำนวนหนังยาง
การออกกำลังกายในข้อ a-d ทำซ้ำ 10-15 ครั้ง 2-3 เซตต่อวัน วันละ1-2 รอบ ควรเริ่มจากทำช้าๆ ถ้ามีอาการปวดมากขึ้นควรหยุดออกกำลังกายทันที
- การออกกำลังกายด้วยการยืดกล้ามเนื้อ เหยียดข้อศอดขนานกับพื้นในท่าหงายฝ่ามือขึ้น กระดกข้อมือลงให้ปลายนิ้วชี้ลงพื้น จนรู้สึกตึงบริเวณข้อศอกด้านใน ถ้าไม่มีอาการเจ็บอาจจะใช้มืออีกข้างดึงปลายนิ้วเข้าหาตัว ค้างไว้ 30 วินาที ทำ 3 เซ็ต วันละ 1-2 รอบ
- การออกำลังกายเพื่อเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ ทำด้วยวิธีเดียวกับการเพิ่มความแข็งแรง แต่ใช้น้ำหนักที่น้อยลง และเพิ่มจำนวนครั้งเป็น 30-100 ครั้ง ทำ 3 เซ็ต วันละ1-2 รอบ
ทำไม่ ต้องอ้วนลงพุ่งค่ะ