กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
ทีมแพทย์ HonestDocs
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
ทีมแพทย์ HonestDocs

มาทำความรู้จักกับ “ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส” ให้มากขึ้นกันเถอะ

ครีมทาหน้าขาว ผลิตภัณฑ์ช่วยให้ผิวกระจ่าง ใช้แล้วดีจริงไหม มาอ่านทำความเข้าใจกันเถอะ
เผยแพร่ครั้งแรก 8 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 ตรวจสอบความถูกต้อง 5 มิ.ย. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
มาทำความรู้จักกับ “ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใส” ให้มากขึ้นกันเถอะ

คงปฏิเสธไม่ได้ว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่อยากมีผิวขาวกระจ่างใส ด้วยเหตุนี้จึงมีผลิตภัณฑ์ความงามออกมาให้ผู้บริโภคอย่างเราเลือกสรรนับไม่ถ้วน และหนึ่งในนั้นก็คือ ครีมทาผิวขาว ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวขาวกระจ่างใสนั่นเอง 

ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทำงานโดยไปลดเม็ดสีที่เรียกว่า “เมลานิน” ในผิว ซึ่งเป็นตัวที่กำหนดสีผิวของเรา ทั้งนี้เมลานินเป็นเม็ดสีที่ผลิตโดยเซลล์พิเศษที่เรียกว่า “เมลาโนไซต์” บริเวณหนังกำพร้า ซึ่งคนที่มีผิวสีเข้มจะมีเมลานินมากกว่าคนทั่วไป 

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อย่างไรก็ตาม ปริมาณของเมลานินในผิวนั้นขึ้นอยู่กับพันธุกรรม การสัมผัสกับแสงแดด และการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมน เช่น จากการตั้งครรภ์หรือการรับประทานยาคุมกำเนิด ความเสียหายของผิว และการสัมผัสกับสารเคมีบางชนิด เช่น สเตียรอยด์ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลต่อการผลิตเมลานินทั้งสิ้น

เราพบสารชนิดใดในผลิตภัณฑ์ที่ช่วยทำให้ผิวกระจ่างใส?

ส่วนผสมที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เพิ่มความกระจ่างใสให้ผิวที่นิยมใช้ในประเทศสหรัฐอเมริกา คือ ไฮโดรควิโนน ซึ่ง Food and Drug Administration (FDA) หรือองค์กรอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาได้ควบคุมการใช้สารไฮโดรควิโนน โดยห้ามใส่ไฮโดรควิโนนลงในผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวกระจ่างใสที่ขายตามร้านทั่วไป 

ในขณะที่แพทย์ผิวหนังสามารถสั่งจ่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวขาวที่มีส่วนผสมของไฮโดรควิโนนไม่เกิน 2% ในการรักษาฝ้า ทั้งนี้การตรวจสอบกับแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารไฮโดรควิโน และการใช้ตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดก็เป็นเรื่องสำคัญ เนื่องจากการใช้เป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเนื้อเยื่อภายในผิวหนังทำให้เกิดเป็นฝ้าถาวรสีน้ำเงินอมดำได้

นอกจากนั้น ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวขาวยังมีการใส่สเตียรอยด์ และกรดเรติริอิกซึ่งได้มาจากวิตามินเอ รวมถึงอาจมีการใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติ เช่น กรดโคจิก (Kojic acid) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ได้จากเชื้อรา หรืออาร์บูติน ซึ่งเป็นสารประกอบที่พบได้ในพืชหลายชนิด

ความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้ครีมทาผิวขาว

หนึ่งในความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวกระจ่างใส คือ สารปรอท เพราะการสะสมปรอทในผิวหนังและถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ส่งผลให้ตับและไตพิการ เกิดโรคโลหิตจางและโรคมะเร็ง เป็นต้น ซึ่งมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า 1 ใน 4 ของผลิตภัณฑ์ครีมทาผิวขาวที่ผลิตในเอเชีย และขายนอกประเทศสหรัฐอเมริกามีสารปรอท

นอกจากนี้การใช้ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยให้ผิวกระจ่างใสยังทำให้เกิดความเสี่ยงอื่นๆ ดังนี้

  • การใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถทำให้ผิวแก่ก่อนวัย หรืออาจทำให้ความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งผิวหนังเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่เราควรทาครีมกันแดดเมื่อต้องอยู่ท่ามกลางแสงแดด
  • สเตียรอยด์อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ ทำให้ผิวบาง ผดผื่นขึ้นง่าย มลภาวะและสารพิษจากภายนอกเข้าสู่ผิวชั้นหนังแท้ง่ายขึ้น เกิดสิว หรือทำให้แผลหายช้าลง
  • การทาครีมที่มีสารสเตียรอยด์อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เพราะสเตียรอยด์สามารถดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
  • การใช้ครีมที่มีสารไฮโดรควิโนนอาจทำให้เกิดฝ้า
  • สารที่ช่วยฟอกขาวหลายชนิดสามารถทำให้ผิวระคายเคือง หรือทำให้เกิดอาการแพ้

ข้อควรระวังเมื่อใช้ครีมทาผิวขาว

  • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้
  • หลักการสังเกตผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมายเหล่านี้ คือ ฉลากจะไม่ระบุข้อมูล ผู้ผลิต ครั้งที่ผลิต และวันเดือนปีที่ผลิต  ดังนั้น เวลาซื้อเครื่องสำอางควรหลีกเลี่ยงยี่ห้อที่ไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่แสดงผู้ผลิต วันเดือนปีที่ผลิต เป็นดีที่สุด 

    ทั้งนี้หากต้องการรายชื่อเครื่องสำอางที่อย. ประกาศแจ้งเตือนโดยละเอียด สามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย เบอร์โทรศัพท์ : 0 2590 7277 - 8 โทรสาร 0 2591 8468 ในเวลาราชการ และเว็บไซต์หน้าหลัก อย. www.fda.moph.go.th คลิกที่เครื่องสำอาง
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีสารปรอทในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ในบางครั้งสารปรอทอาจถูกใช้เป็นชื่ออื่น เช่น คาโลเมล เมอร์คิวริก เมอร์คิวรัส หรือเมอร์คิวริโอ เป็นต้น
  • ไม่ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารไฮโดรควิโนนเกิน 2% ระวังการระบุว่ามีสารไฮโดรควิโนน แต่ไม่ได้บอกปริมาณ 
  • หากสงสัยว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้อยู่หรือที่ต้องการซื้อ มีสารอันตรายต้องห้ามผสมอยู่หรือไม่ ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบสารต้องห้ามด้วยตนเองได้โดยใช้ชุดทดสอบด้านเครื่องสำอาง (Test Kit-Cosmetic) จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในการประกอบการตัดสินใจ

อย่างไรก็ตาม หากคุณมีคำถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่คุณกำลังจะใช้ ให้คุณลองปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรเพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัย นอกจากการใช้ครีมทาผิวขาวที่ช่วยให้ผิวกระจ่างใสแล้ว แพทย์ผิวหนังก็อาจแนะนำทางเลือกอื่นๆ เช่น การใช้สารเคมีลอกผิว การผลัดเซลล์ผิวด้วยวิธี Microdermabrasion และการทำเลเซอร์ เป็นต้น


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดลฝ่ายเภสัชกรรม, อันตรายจากสารต้องห้ามในเครื่องสำอาง (https://med.mahidol.ac.th/ramapharmacy/th/knowledge/general/04072016-2055-th), 31 พฤษภาคม 2562
ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา, สารทำให้ผิวขาว (http://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_toxic/a_tx_1_001c.asp?info_id=55), 31 พฤษภาคม 2562
Skin Lightening Treatments (https://www.webmd.com/beauty/s...)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
หากผิวหนัง เกิดอาการแพ้เครื่องสำอาง จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง
หากผิวหนัง เกิดอาการแพ้เครื่องสำอาง จะมีวิธีป้องกันได้อย่างไรบ้าง

เครื่องสำอางกับเวชสำอางต่างกันอย่างไร เมื่อใช้แล้วเกิดอาการแพ้ ผื่นคัน ผิวแห้งลอก ต้องทำอย่างไร

อ่านเพิ่ม
สารอะไรในเครื่องสำอางที่ทำให้แพ้ได้
สารอะไรในเครื่องสำอางที่ทำให้แพ้ได้

เช็กกันหรือยัง ในเครื่องสำอางที่คุณใช้ มีสารต้องห้ามประกอบอยู่หรือเปล่า

อ่านเพิ่ม