การติดตามและการดูแลตนเองหลังการรักษา

เผยแพร่ครั้งแรก 29 ก.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การติดตามและการดูแลตนเองหลังการรักษา

การเริ่มต้นการฟื้นฟูสภาพร่างกาย

เมื่อการรักษาโรคมะเร็งดำเนินมาจนถึงจุดสิ้นสุดการรักษาแล้ว จะเป็นประโยชน์อย่างมากหากคุณเริ่มพูดคุยกับทีมแพทย์ที่ทำการรักษา โดยทีมแพทย์จะให้คำแนะนำถึงสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นภายหลังการรักษาสิ้นสุด และคุณสามารถถามคำถามที่สงสัยได้ในช่วงเวลานี้

ในการอภิปรายร่วมกันระหว่างคุณและทีมแพทย์บางครั้งอาจเรียกว่า การประเมินความต้องการแบบองค์รวม หรือ การประเมินภายหลังการรักษาสิ้นสุดลง และอาจเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดูแลรักษาคุณ อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกโรงพยาบาลที่จะทำเช่นนี้ หากคุณมีแผนการดูแลรักษาตัวคุณเองแล้ว อย่าลืมที่จะพกไปให้แพทย์ดูทุกครั้งที่ไปพบแพทย์ตามนัด

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถือเป็นเรื่องที่ดีที่คุณควรรู้ว่าสิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้นหลังการรักษาสิ้นสุดลงคืออะไรบ้าง และคุณอาจจำเป็นต้องถามคำถามเกี่ยวกับบางสิ่งบางอย่างต่อไปนี้:

  • คุณจะต้องตรวจสุขภาพบ่อยแค่ไหน?
  • คุณจำเป็นต้องตรวจสแกนหรือรับการตรวจใดๆ เป็นประจำหรือไม่
  • อาการและอาการแสดงอะไรบ้างที่ต้องสังเกต
  • คุณสามารถลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งซ้ำได้อย่างไร
  • ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นล่าช้ามีอะไรบ้าง และคุณสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว
  • ทำอย่างไรจึงจะมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเสมอ

ทีมแพทย์ที่ดูแลรักษาคุณอาจมีใครคนใดคนหนึ่งที่ให้เบอร์โทรศัพท์ไว้สำหรับติดต่อในกรณีที่คุณมีข้อกังวลใดๆ เช่น พยาบาลเฉพาะทางโรคมะเร็ง เป็นต้น

การดูแลตนเองหลังการรักษามะเร็งสิ้นสุด

สิ่งที่จะเกิดขึ้นภายหลังการรักษามะเร็งสิ้นสุดลงจะขึ้นกับชนิดของโรคมะเร็งที่คุณเป็นและชนิดของการรักษาที่คุณได้รับ และคุณมีแนวโน้มที่จะต้องตรวจร่างกายเพื่อติดตามอาการโดยแพทย์ในช่วงระยะเวลา 1 ปีแรกหลังการรักษา ซึ่งอาจติดตามโดยการเดินทางมาโรงพยาบาล หรือติดตามทางโทรศัพท์โดยพยาบาลเฉพาะทางโรงมะเร็ง

คุณอาจจำเป็นต้องรับการตรวจและการสแกนต่างๆ นอกจากนี้คุณยังจะได้ข้อมูลเกี่ยวกับวิธีในการสังเกตอาการเฉพาะและผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการรักษาโรคมะเร็ง ทีมแพทย์ที่ดูแลคุณนอกจากดูแลรักษาโรคมะเร็งให้กับคุณแล้ว ยังให้คำปรึกษาและให้การสนับสนุนด้านอารมณ์ให้กับคุณด้วย

เมื่อคุณมาพบแพทย์ตามนัด มันจะเป็นการดีกว่าถ้าคุณสามารถพาบุคคลอื่นมาพร้อมกับคุณได้ เช่น เพื่อน หรือญาติ และแนะนำให้จดคำถามที่ต้องการถามไว้ในกระดาษและจดคำตอบที่ได้จากแพทย์ลงไว้เพื่อให้กลับไปอ่านอีกครั้งที่บ้านได้ เมื่อคุณมาพบแพทย์คุณสามารถพูดกับแพทย์อย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณและอาการใดๆ ก็ตามที่คุณอาจมีระหว่างรอมาพบแพทย์

การนัดหมายเข้าพบแพทย์หลังการรักษาสิ้นสุดลงถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะแพทย์จะช่วยดูแลสุขภาพโดยรวมของคุณและให้การสนับสนุนด้านอารมณ์และให้คำแนะนำในการฟื้นฟูร่างกายและวิธีการทำให้ร่างกายแข็งแรงสุขภาพดี 


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
[Postoperative treatment and follow-up]. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/8644098)
Postoperative Care: Definition and Patient Education. Healthline. (https://www.healthline.com/health/postoperative-care)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป