ฟลูออไรด์

เผยแพร่ครั้งแรก 26 เม.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
ฟลูออไรด์

ฟลูออไรด์เป็นแร่ธาตุตามธรรมชาติที่พบในน้ำ ซึ่งจะมีปริมาณจะแตกต่างกันไปตามสถานที่ ฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุ จึงทำให้ยาสีฟันหลายยี่ห้อใช้ฟลูออไรด์เป็นส่วนผสม

ฟันผุ

ฟันผุเป็นปัญหาทางช่องปากที่ทั่วโลกรู้จักกันเป็นอย่างดี แม้ว่ามันสามารถเลี่ยงได้ แต่ในทุกวันนี้มันก็ยังเป็นปัญหาทางช่องปากหลักที่เด็ก ๆ ต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

ฟันผุคือการผุกร่อนของเนื้อเยื่อฟันที่เกิดมาจากกรดที่สร้างมาจากแบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์ในช่องปาก โดยคราบจุลินทรีย์คือแผ่นเหนียว ๆ ที่ก่อตัวบนพื้นผิวฟัน โดยแต่ละครั้งที่คุณทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล แบคทีเรียในคราบจุลินทรีย์จะเปลี่ยนน้ำตาลที่ได้รับมาเป็นกรดที่ไปโจมตีฟัน

หากคุณเป็นผู้ชื่นชอบอาหารและเครื่องดื่มหวาน ๆ จนทานของหวานตลอดทั้งวัน คุณจะมีกรดในช่องปากมากกว่าปกติ ซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อภาวะฟันผุมากขึ้น หรือเสี่ยงที่จะมีโพรงและการติดเชื้อเกิดขึ้นบนเนื้อฟัน หากมีภาวะดังกล่าวรุนแรงอาจต้องทำการถอนฟันซี่ที่มีปัญหาออก

ยาสีฟันฟลูออไรด์

การแปรงฟันให้สะอาดทุกซี่ด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันฟันผุ โดยตามร้านค้าทั่วไปจะมียาสีฟันที่มีปริมาณฟลูออไรด์หลายระดับอยู่มากมาย ซึ่งรายละเอียดของปริมาณของแต่ละยี่ห้อจะระบุอยู่ข้างหลอดยาสีฟัน และมักมาในหน่วยส่วนในล้านส่วน (ppm)

ยาสีฟันที่มีปริมาณฟลูออไรด์ 1350 – 1500 ppm จัดว่ามีประสิทธิภาพที่สุด โดยทันตแพทย์อาจแนะนำให้คุณใช้ยาสีฟันที่มีความเข้มข้นสูงสุดหากคุณหรือลูกของคุณมีความเสี่ยงจะเป็นฟันผุ

เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 3 ปีต้องทำการแปรงฟันสองครั้งต่อวัน ด้วยการป้ายยาสีฟันที่มีปริมาณฟลูออไรด์ไม่น้อยไปกว่า 1000 ppm

เด็กที่อายุระหว่าง 3 ถึง 6 ปีต้องแปรงฟันอย่างน้อยสองครั้งต่อวัน โดยใช้ยาสีฟันที่มีปริมาณฟลูออไรด์มากกว่า 1000 ppm ด้วยขนาดเท่าเม็ดถั่ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจสุขภาพฟันวันนี้ ที่คลินิกใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 100%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

สำหรับผู้ใหญ่ควรแปรงฟันสองครั้งต่อวันด้วยยาสีฟันที่มีปริมาณฟลูออไรด์ 1350 – 1500 ppm ไม่ควรใช้น้ำยาบ้วนปากเวลาเดียวกับตอนแปรงฟัน แต่ควรบ้วนปากอีกเวลาแทน เนื่องจากน้ำยาจะไปชะล้างฟลูออไรด์จากยาสีฟันออก

ฟลูออไรด์กับทันตกรรม

น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์

น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์สามารถจ่ายให้กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่อายุมากกว่า 8 ปีที่มีปัญหาฟันผุได้ โดยต้องทำการบ้วนปากทุกวัน และการแปรงฟันในแต่ละครั้ง (สองครั้งต่อวัน) ต้องใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์อย่างน้อย 1350 ppm

น้ำยาบ้วนปากควรใช้นอกเหนือจากเวลาแปรงฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำยากำจัดฟลูออไรด์ตกค้างจากฟันของคุณไป

การเคลือบฟลูออไรด์

สารเคลือบฟลูออไรด์สามารถใช้เคลือบได้ทั้งฟันของเด็กและผู้ใหญ่ กระบวนการนี้จะเป็นการละเลงสารเคลือบที่มีปริมาณฟลูออไรด์สูงลงบนพื้นผิวของฟันทุก ๆ 6 เดือนเพื่อป้องกันฟันผุ โดยการเคลือบสารนี้จะช่วยเสริมความแข็งแรงแก่ชั้นเคลือบฟันทำให้เกิดการฟันผุยากขึ้น

เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปควรทำการเคลือบฟลูออไรด์อย่างน้อยสองครั้งต่อปี เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงที่จะเป็นฟันผุลง

ฟลูออไรด์ปลอดภัยหรือไม่?

เคยมีข้อมูลกล่าวว่าฟลูออไรด์เกี่ยวข้องกับปัญหาทางสุขภาพหลายอย่าง แต่หลังจากทำงานวิจัยตรวจทานความเสี่ยงต่าง ๆ ก็ไม่พบหลักฐานใด ๆ มาสนับสนุนทฤษฎีนี้ อย่างไรก็ตาม หากฟันของเด็กต้องกับฟลูออไรด์มากเกินไปจะทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าฟันตกกระขึ้น โดยฟันตกกระที่ไม่รุนแรงมากจะทำให้เกิดเส้นหรือกระสีขาวนวลบนพื้นผิวของฟัน ส่วนภาวะฟันตกกระรุนแรงจะทำให้ชั้นเคลือบฟันเป็นหลุมหรือมีสีเพี้ยนไป


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Fluoride and Water (for Parents). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/en/parents/fluoride-water.html)
Fluoride. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/fluoride/)
Inadequate or excess fluoride. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/ipcs/assessment/public_health/fluoride/en/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
เรื่องหลอกลวงของ oil pulling
เรื่องหลอกลวงของ oil pulling

ทำไมกระแสล่าสุดสำหรับสุขภาพช่องปากจึงเป็นแค่เรื่องเสียเวลาเท่านั้น

อ่านเพิ่ม