การนับระยะปลอดภัย Fertility Awareness

เผยแพร่ครั้งแรก 9 พ.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การนับระยะปลอดภัย Fertility Awareness

ก่อนที่จะตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์คุณจำเป็นต้องรู้จักวิธีการดูแลและป้องกันตัวเอง ข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยให้คุณทราบถึงวิธีการคุมกำเนิดและทราบถึงเหตุผลว่าทำไมวิธีการเหล่านี้จึงไม่เหมาะสำหรับวัยรุ่น

การนับระยะปลอดภัยเป็นอย่างไร

การนับระยะปลอดภัย คือ วิธีการป้องกันการตั้งครรภ์วิธีหนึ่งโดยการเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาไข่ตก สำหรับคู่รักที่ต้องการมีบุตรสามารถใช้วิธีนี้โดยการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไข่ตกได้เช่นกัน การนับระยะปลอดภัยยังสามารถใช้ร่วมกับวิธีการคุมกำเนิดอื่นๆ ได้ด้วย เช่น การคุมกำเนิดโดยวิธีธรรมชาติ การงดมีเพศสัมพันธ์แบบชั่วคราว และการงดมีเพศสัมพันธ์ในช่วงไข่ตก เป็นต้น

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

วิธีการนับระยะปลอดภัย

หากคู่รักไม่ได้มีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาไข่ตก โดยส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงจะไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ เคล็ดลับคือ คุณจำเป็นต้องรู้ช่วงเวลาไข่ตกของคุณสาวๆ นั่นเอง คู่รักบางคู่ใช้วิธีการบันทึกลงในปฏิทิน ใช้ปรอทวัดอุณหภูมิร่างกาย การสังเกตดูความหนาของเมือกบริเวณช่องคลอด หรือการใช้ชุดทดสอบการตกไข่ เป็นต้น สำหรับชุดทดสอบการตกไข่นั้นถือว่ามีประโยชน์มากสำหรับคู่รักที่ต้องการมีบุตร ระยะปลอดภัยในช่วงไข่ตกจะกินเวลาประมาณ 6-9 วัน และในช่วงเวลานี้คู่รักที่ไม่ต้องการมีบุตรจะงดการมีเพศสัมพันธ์เพื่อการคุมกำเนิด

ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด

การนับระยะปลอดภัยเป็นการคุมกำเนิดที่เชื่อถือได้น้อยที่สุดโดยเฉพาะสำหรับวัยรุ่น จากสถิติพบว่าคู่รักที่ใช้วิธีการคุมกำเนิดนี้มีโอกาสตั้งครรภ์มากถึง 25 คู่จาก 100 คู่ ซึ่งผลจากสถิติดังกล่าวเป็นเพียงผลเฉลี่ยทางตัวเลข ดังนั้นโอกาสเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์นั้นขึ้นอยู่กับความถูกต้องของการนับระยะปลอดภัยและการใช้วิธีการคุมกำเนิดอื่นร่วมด้วยในช่วงเวลาไข่ตก

โดยทั่วไปแล้ว ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดแต่ละประเภทนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัญหาทางสุขภาพซึ่งอาจมีการใช้ยารักษาโรคที่ส่งผลต่อการคุมกำเนิด ความสะดวกในการใช้ หรือการใช้ที่ถูกต้องเหมาะสมและใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น ในกรณีของการนับระยะปลอดภัยนั้น ประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดจะขึ้นอยู่กับรอบการตกไข่ที่คงที่ และคู่รักที่ต้องการใช้วิธีนี้จะต้องนับวันไข่ตกให้ถูกต้องด้วย อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าคุณควรงดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ตกจึงจะปลอดภัยที่สุด

การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การนับระยะปลอดภัยไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ แนะนำให้มีการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์เพื่อป้องกันการติดโรค ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการตั้งครรภ์และการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็คือ การงดมีเพศสัมพันธ์ (abstinence) นั่นเอง

วิธีการนับระยะปลอดภัยเหมาะกับใครบ้าง

การนับระยะปลอดภัยเป็นการคุมกำเนิดที่เชื่อถือได้น้อยที่สุดโดยเฉพาะสำหรับวัยรุ่น เพราะมันยากเหลือเกินที่จะบอกวันไข่ตกได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเด็กสาววัยรุ่นที่มักมีรอบเดือนมาไม่สม่ำเสมอ แม้หญิงที่มีรอบเดือนมาอย่างสม่ำเสมอในเดือนที่ผ่านมาก็อาจเกิดความคลาดเคลื่อนของช่วงเวลาไข่ตกได้หากเกิดภาวะความเครียดหรือเจ็บป่วยไม่สบาย ดังนั้น การนับระยะปลอดภัยจึงต้องอาศัยการสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายในแต่ละวันด้วย แนะนำให้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงเวลาไข่ตกจึงจะปลอดภัยที่สุด

แล้วจะใช้วิธีการนี้ได้อย่างไร

คู่รักที่สนใจการคุมกำเนิดวิธีนี้ แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์หรือสาธารณสุขที่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการคุมกำเนิดมาแล้วเพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องเหมาะสม

ค่าใช้จ่ายสำหรับการคุมกำเนิดวิธีนี้

อาจจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์ช่วย เช่น ชุดทดสอบการตกไข่หรือปรอทวัดไข้ ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป แต่อาจมีราคาสูง ดังนั้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำที่ถูกต้องสำหรับการคุมกำเนิดวิธีนี้

ที่มาของข้อมูล http://kidshealth.org/en/teens/contraception-rhythm.html

 


8 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Which family planning methods are fertility awareness-based methods?. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/rhem/didyouknow/rhi/family_planning_methods/en/)
Fertility Awareness–Based Methods - USMEC - Reproductive Health. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/reproductivehealth/contraception/mmwr/mec/appendixf.html)
Fertility awareness-based methods for contraception. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/15495128)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?
มีเพศสัมพันธ์แล้วเลือดออกเพราะอะไร? แบบไหนถึงอันตราย?

เลือดออกอาจไม่ได้หมายความว่า "คุณคือคนแรกของเธอ" แต่อาจร้ายแรงยิ่งกว่านั้น หาสาเหตุ และวิธีแก้ไขก่อนจะรุนแรงไปกว่านี้

อ่านเพิ่ม
การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน
การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน

การมีเพศสัมพันธ์ในช่วงมีประจำเดือน ไม่ใช่เรื่องที่ผิดปกติแต่อย่างใด หากคู่นอนของคุณมีความเข้าใจ และรู้จักวิธีป้องกันอย่างถูกต้อง

อ่านเพิ่ม
อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia)
อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ (Dyspareunia)

อาการเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ สามารถเกิดขึ้นทั้งจากภาวะทางกายภาพ และภาวะทางจิตใจ สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาหรือการบำบัดจิตใจ

อ่านเพิ่ม