กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การผ่าตัดทำหมันหญิง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 2 ธ.ค. 2022 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
การผ่าตัดทำหมันหญิง

การทำหมันนั้นเป็นทางเลือกในการคุมกำเนิดในผู้หญิงที่ไม่ต้องการจะมีบุตรอีก ซึ่งทำโดยการตัดหรือผูกท่อนำไข่เพื่อป้องกันไม่ให้ไข่ที่ตกมาจากรังไข่นั้นสามารถเดินทางไปยังมดลูกซึ่งเป็นตำแหน่งที่จะเกิดการปฏิสนธิได้

แม้ว่าการทำหมันนั้นจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ก็ยังมีโอกาสเล็กน้อยที่หมันอาจจะหลุดและทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

การทำหมันนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก ซึ่งเป็นภาวะที่ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วนั้นเกิดการฝังตัวที่ท่อนำไข่แทนที่จะมาฝังตัวที่มดลูก ภาวะนี้สามารถเป็นภาวะฉุกเฉินได้ ดังนั้นจึงต้องคอยสังเกตอาการที่เกิดขึ้น

โอกาสในการตั้งครรภ์หลังจากทำหมัน

เวลาที่แพทย์ทำหมันนั้นจะทำการผูก ตัด ปิดท่อนำไข่ แต่หากหลังจากนั้นท่อนำไข่ทั้ง 2 ด้านนั้นเกิดการเชื่อมกันใหม่ก็อาจจะทำให้ตั้งครรภ์ได้

ผู้หญิงที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดหมันหลุดนั้นมักจะเป็นผู้หญิงที่มีอายุน้อยในขณะที่ทำหมัน อัตราการตั้งครรภ์หลังจากทำหมันแล้วคือ

  • 5% ในผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 28 ปี
  • 2% ในผู้หญิงที่อายุระหว่าง 28-33 ปี
  • 1% ในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 34 ปี

หลังจากทำหมัน ผู้หญิงคนนั้นอาจจะเพิ่งพบว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ได้หากมีไข่ที่ได้รับการผสมแล้วฝังตัวในมดลูกก่อนที่จะทำหมัน ดังนั้นผู้หญิงที่เลือกทำหมันส่วนใหญ่นั้นจึงมักจะเลือกทำหมันหลังจากที่เพิ่งคลอดบุตรหรือเพิ่งมีประจำเดือนซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีโอกาสในการตั้งครรภ์ต่ำ

อาการของการตั้งครรภ์

หากหมันหลุด คุณก็อาจจะตั้งครรภ์ตามปกติได้ มีผู้หญิงหลายคนที่มาทำการต่อหมันหลังจากที่ทำไปแล้ว ซึ่งเป็นการทำให้ท่อนำไข่นั้นกลับมาติดกันอีกครั้ง วิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยทุกคนที่ต้องการตั้งครรภ์แต่ก็จะเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้

อาการที่เกิดร่วมกับการตั้งครรภ์เช่น

  • คัดตึงที่เต้านม
  • อยากอาหารบางชนิด
  • รู้สึกป่วยเวลาคิดถึงอาหารบางชนิด
  • ประจำเดือนขาด
  • คลื่นไส้ โดยเฉพาะในตอนเช้า
  • อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ

หากคุณคิดว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ สามารถซื้อชุดทดสอบที่บ้านได้ ชุดทดสอบนี้ไม่ได้เชื่อถือได้ 100% โดยเฉพาะในการตั้งครรภ์ระยะแรก แพทย์สามารถตรวจเลือดหรือตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อยืนยันการตั้งครรภ์

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

อาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูก

การที่มีประวัติผ่าตัดในอุ้งเชิงกรานหรือทำหมันนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก รวมถึงการใช้ห่วงคุมกำเนิด

อาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นมักจะมีลักษณะคล้ายกับการตั้งครรภ์ในระยะแรก เช่นหากตรวจการตั้งครรภ์จะพบว่าเป็นบวก แต่ไข่ที่ผสมนั้นไม่ได้ฝังตัวอยู่ในบริเวณที่สามารถโตได้ ทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์จนครบกำหนดได้

นอกเหนือจากอาการของการตั้งครรภ์ทั่วไปแล้ว

อาการที่อาจจะพบในภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูกประกอบด้วย

  • ปวดท้อง
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย
  • ปวดท้องน้อย
  • รู้สึกแน่นในท้องน้อยโดยเฉพาะในระหว่างที่ขับถ่าย

หากมีอาการเหล่านี้ไม่ควรละเลย เพราะการตั้งครรภ์นอกมดลูกอาจทำให้ท่อนำไข่แตกและทำให้เลือดออกภายในซึ่งอาจทำให้หมดสติและความดันโลหิตต่ำได้

ควรไปพบแพทย์ทันทีหากมีอาการต่อไปนี้

  • รู้สึกเวียนหัวอย่างรุนแรงหรือจะเป็นลม
  • ปวดท้องหรือท้องน้อยอย่างรุนแรง
  • เลือดออกทางช่องคลอดปริมาณมาก
  • เจ็บหัวไหล่

หากแพทย์พบว่ามีการตั้งครรภ์นอกมดลูกในระยะเริ่มต้น อาจจะใช้ยาที่ชื่อว่า methotrexate ซึ่งจะหยุดการเจริญเติบโตของไข่และป้องกันไม่ให้มีเลือดออก แพทย์จะทำการตรวจติดตามระดับฮอร์โมน human chorionic gonadotropin (hCG) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่พบในระหว่างที่ตั้งครรภ์

แพทย์จะรักษาท่อนำไข่ที่แตกด้วยการผ่าตัดซ่อมแซมหรือจัดออก หากมีการเสียเลือดมากอาจจะต้องมีการให้เลือด แพทย์ยังจะต้องติดตามอาการของการติดเชื้อเช่นไข้หรือการมีความดันโลหิตที่ควบคุมให้เป็นปกติได้ยาก

แม้ว่าการทำหมันนั้นจะเป็นวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ก็ไม่ได้ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% และไม่ได้ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากคุณและคู่นอนของคุณนั้นมีคู่นอนหลายคน อย่าลืมใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ควรปรึกษาแพทย์หากคุณกังวลว่าหมันอาจจะหลุด หากคุณเคยทำหมันในขณะที่อายุน้อยหรือผ่านมานานหลายปีแล้ว คุณอาจจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในการตั้งครรภ์ คุณและคู่ของคุณอาจจะเลือกใช้วิธีการคุมกำเนิดอย่างอื่นร่วมด้วยเพื่อช่วยลดความเสี่ยงเช่นการใช้ถุงยางอนามัยหรือการทำหมันผู้ชาย


15 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
ทำหมันหญิง มีกี่แบบ แต่ละแบบเป็นยังไง? รวมข้อควรรู้ก่อนทำหมันหญิงที่นี่, (https://hdmall.co.th/c/female-sterilization).
What Is Female Sterilization and How Does It Work?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/birth-control-female-sterilization)
Pregnancy After Tubal Ligation: What Are the Signs?. Healthline. (https://www.healthline.com/health/pregnancy/tubal-ligation)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)