โรค epididymal hypertension

โรค epididymal hypertension
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
โรค epididymal hypertension

โรค epididymal hypertension นั้นเป็นภาวะที่เกิดในเพศชาย โรคนี้ไม่ใช่โรคที่รุนแรงแต่สามารถทำให้เกิดอาการปวดที่บริเวณอัณฑะหลังจากที่เพิ่งหลั่งโดยที่ไม่ถึงจุดสุดยอดได้ และมักทำให้อัณฑะนั้นเกิดรอยช้ำหรือเปลี่ยนเป็นสีคล้ำได้ โรคนี้พบได้ไม่บ่อยนัก

อาการที่พบ

อาการที่ส่งผลต่ออัณฑะประกิบด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • ปวด
  • ไม่สบายตัว
  • รู้สึกหนักๆ
  • และอาจจะเห็นถุงอัณฑะเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำได้

สาเหตุ

เวลาที่อวัยวะเพศชายนั้นถูกกระตุ้น เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงองคชาติและอัณฑะนั้นก็จะขายตัวทำให้เลือดไหลเวียนได้มากขึ้น เมื่อเวลาผ่านไปเลือดเหล่านี้ก็จะทำให้องคชาตินั้นขยายตัวและแข็งทำให้เกิดการแข็งตัว อัณฑะนั้นก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นเช่นกันและทำให้รู้สึกหนักขึ้น

โดยทั่วไปเลือดเหล่านี้จะถูกปล่อยออกหลังจากจุดสุดยอดหรือหลังจากที่ลดการกระตุ้นทางกาย การที่มีเลือดค้างอยู่ในบริเวณดังกล่าวในบางคนที่เกิดการกระตุ้นเป็นเวลานานโดยที่ไม่ได้หลั่ง จะทำให้เกิดอาการปวดและไม่สบายตัวได้ และทำให้ลูกอัณฑะนั้นเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำขึ้นจากการที่มีเลือดมากและมีความดันเพิ่มขึ้น

คุณจะมีแนวโน้มเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นหากคุณถูกกระตุ้นได้ง่าย เทคนิคการช่วยตัวเองที่ทำให้ถึงจุดสุดยอดช้าลงนั้นก็จะเพิ่มโอกาสในการเกิดภาวะนี้เช่นกัน

อาการปวดที่อัณฑะ

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดที่อัณฑะ

หากคุณมีอาการปวดที่อัณฑะเฉพาะเวลาที่มีอารมณ์ทางเพศ แสดงว่าน่าจะเกิดจากภาวะนี้ แต่หากคุณมีอาการปวดตลอดเวลาแม้แต่เวลาที่ไม่ได้มีอารมณ์ก็อาจจะเกิดจากโรคนี้เช่น

ผลข้างเคียงจากโรคเบาหวานต่อเส้นประสาทที่บริเวณขาหนีบ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

  • อัณฑะอักเสบ
  • มีการติดเชื้อซึ่งมักมีการอักเสบตามมา
  • นิ่วในไต
  • เป็นโรคคางทูม
  • อัณฑะอักเสบ
  • มะเร็งอัณฑะ
  • ใส่กางเกงที่รัดแน่น

นอกจากนั้นยังอาจเป็นอาการของภาวะที่อัณฑะบิดตัวอย่างรวดเร็วและทำให้เกิดอาการปวดและบวมได้ ซึ่งภาวะนี้มักจะต้องได้รับการผ่าตัดฉุกเฉิน

เมื่อไหร่ถึงควรไปพบแพทย์

โดยทั่วไปหากคุณเป็นโรค epididymal hypertension คุณไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ แต่ถ้าหากมีอาการปวดรุนแรงเป็นประจำ หรือส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ควรไปพบแพทย์

หากคุณมีอาการปวดเรื้อรังและรุนแรงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการมีเพศสัมพันธ์ ควรไปพบแพทย์เช่นกันเพื่อตรวจหาโรคอื่นที่ทำให้เกิดอาการปวดได้

คุณควรไปพบแพทย์หากคุณมีอาการปวดร่วมกับอาการต่อไปนี้

  • คลำได้ก้อนที่อัณฑะหรืออัณฑะบวม
  • ปวดตื้อๆ บริเวณขาหนีบ
  • ปวดที่หลังส่วนล่าง

อาการเหล่านี้อาจจะแสดงว่าเป็นโรคอื่นๆ ที่ร้ายแรงเช่นโรคมะเร็งอัณฑะได้

การรักษา

โรคนี้ไม่ได้มีการรักษาอย่างละเอียดนักและไม่ได้มีการระบุวิธีการรักษาอย่างเป็นทางการ มีรายงานที่กล่าวว่าวิธีการรักษาที่ง่ายและเร็วที่สุดก็คือการหลั่งในระหว่างที่ถึงจุดสุดยอดด้วยการช่วยตัวเองหรือการมีเพศสัมพันธ์ หลังจากเข้าสู่จุดสุดยอดแล้ว อาการปวดนั้นก็จะค่อยๆ หายไปเองอย่างช้าๆ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

อีกวิธีหนึ่งก็คือการไม่ลดอารมณ์ทางเพศ

คุณสามารถทำได้หลายวิธีเช่น

  • การอาบน้ำเย็น
  • คิดเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องเพศ
  • หันเหความสนใจไปที่สิ่งอื่นเช่นดนตรี
  • ทำงานหรือทำกิจกรรมอย่างอื่นเพื่อให้ตัวเองยุ่ง

การออกกำลังกายนั้นอาจจะช่วยได้เพราะทำให้เลือดไหลออกจากอัณฑะไปยังกล้ามเนื้อ การประคบเย็นที่บริเวณดังกล่าวนั้นก็อาจจะช่วยได้เช่นกันเพราะจะช่วยให้หลอดเลือดนั้นตีบตัวและลดเลือดที่จะมายังบริเวณดังกล่าว

สรุป

โรค epididymal hypertension นั้นเป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการปวดหรือรู้สึกหนักๆ จากการที่ถึงจุดสุดยอดช้า โรคนี้พบได้ไม่บ่อย และไม่ใช่โรคร้ายแรง หากโรคนี้ทำให้คุณมีอาการปวดอย่างรุนแรงหรือส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ควรไปพบแพทย์ อาการปวดเรื้อรังที่อัณฑะโดยเฉพาะหากไม่เกี่ยวกับเวลาที่ถูกกระตุ้นทางเพศนั้นอาจจะเป็นอาการของโรคอื่นที่รุนแรงได้หากมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Blue Balls: Epididymal Hypertension Myth or Fact?. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/understanding-blue-balls-1298225)
Blue balls (epididymal hypertension): Myths and facts. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/324870)
Blue Balls: Understanding Epididymal Hypertension. Healthline. (https://www.healthline.com/health/mens-health/blue-balls)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป