การขจัด และการควบคุม ป้องกันโรค จากหนู ภายในบ้าน

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 11 ก.พ. 2020 เวลาอ่านประมาณ 4 นาที

สัตว์และแมลงมีหลายชนิดที่อาศัยอยู่ในบ้านที่เป็นตัวนำโรคติดต่อที่พบบ่อย เช่น หนู แมลงวัน แมลงสาบ แมลงหวี่ และยุง บ้านเรือนใดที่รักษาความสะอาด เก็บกวาดขยะและเศษอาหาร และทิ้งให้มิดชิด จะทำให้สัตว์ และแมลงหมดไปหรือมีไม่มากในบ้าน การนำโรคมาสู่คนในบ้านก็จะไม่มี ทำให้สุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจสมบูรณ์ดี

เรื่องหนู

a20.gif หนูมีหลายชนิด ทำความสกปรก และเชื้อโรคมาสู่อาหาร หรือหมัดของหนูนำเชื้อโรคได้คือ กาฬโรค ที่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ในปัจจุบันโรคนี้ได้ควบคุมป้องกันได้ผลจึงไม่มีเชื้อของโรค หนูที่พบอยู่ตามบ้านเรือนเรามีอยู่ 4 ชนิดคือ

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  1. หนูสีน้ำตาล หรือหนูนอรเว ขนหยาบ หลังมีขนสีน้ำตาลปนเทา ท้องสีเทา หางสั้น จมูกทู่ ใบหูเล็ก ตาเล็ก ตัวอ้วน ขนาดโตกว่าหนูชนิดอื่น ขนาดความยาวของหัว และลำตัวประมาณ 15-20 ซม. กินอาหารได้ทุกชนิด ทั้งเนื้อ ผัก แป้ง และเมล็ดพืชต่าง ๆ ชอบอาศัยตามใต้ถุนบ้าน กองขยะ รางระบายน้ำโสโครก บางทีชอบอาศัยตามรู
  2. หนูท้องขาว หรือหนูหลังคา เป็นหนูขนาดกลาง ขนาดความยาวของหัวและลำตัวประมาณ 14-15 ซม. หางยาวสีดำ และมีเกล็ดละเอียด ขนด้านหลังมีสีน้ำตาล ด้านท้องมีสีขาว ปีนป่ายเก่ง ชอบอาศัยตามช่องลม หน้าต่างบ้าน ตามซอกมุมบ้าน และต้นไม้ กินอาหารทุกชนิด รวมทั้งพืชผักและเมล็ดพืช
  3. หนูหริ่ง หรือหนูผี เป็นหนูที่ตัวเล็กที่สุด หัวและลำตัวยาวประมาณ 6-10 ซม. ขนอ่อนขนด้านหลังสีเทา ด้านท้องสีขาว หางด้านบนดำ ด้านล่างสีจางกว่า ชอบอาศัยอยู่ตามช่อง หรือโพรงตามฝาผนัง กำแพง ซอกเครื่องเรือน ซอกตู้ และชอบกินอาหารทุกชนิด ชอบมาก คือ เมล็ดพืช
  4. หนูจิ๊ด เป็นหนูขนาดเล็ก แต่โตกว่าหนูหริ่งเล็กน้อย ขนาดหัวและลำตัวยาวประมาณ 10-13 ซม. ขนอ่อนนุ่ม และขนแข็งแซมเล็กน้อย ขนด้านหลังมีสีน้ำตาล ด้านท้องมีสีเทา หางสีดำ อาศัยอยู่ตามบ้าน ซอกหลังคา เพดาน และกลางคืนจะได้ยินเสียงร้องจิ๊ด ๆ กินอาหารทุกชนิด

การเป็นอยู่ของหนู

a20.gif หนูมีการเจริญเติบโตเร็ว เมื่อโตประมาณ 3-4 เดือน ก็ผสมพันธุ์ได้ หนูตัวเมียผสมพันธุ์แล้วตั้งท้องราว 20 วัน คลอดออกเป็นตัวไม่มีขน ตาปิด หูไม่ได้ยิน ขาเล็ก ออกลูกปีละ 4-5 ครอก ๆ ละ 6-12 ตัวแล้วแต่ชนิด จำนวนของหนูที่คลอดจะตายไปเกือบครึ่ง ลูกหนูจะกินนมแม่ประมาณ 3 อาทิตย์ ก้ออกหากินเองได้ หนูตัวหนึ่ง ๆ อายุประมาณ 1 ปี การหากินมักเป็นรัศมีไกลถึง 150 ฟุต แต่หนูหริ่งรัศมีออกหากินไม่ไกลนักประมาณ 10-30 ฟุต

การควบคุม และป้องกัน

a20.gif เนื่องจากหนูเป็นสัตว์แทะ มักจะพบว่าชอบกัดทำลายสิ่งของเครื่องใช้ เช่น ลิ้นชักตู้ ที่นอน ตู้เสื้อผ้า หนูมีที่อยู่อาศัยที่สกปรกจึงเป็นพาหะนำเชื้อโรคร้ายแรงหลายชนิด เช่น โรคอหิวาตกโรค บิด ท้องเสีย นอกจากนี้ยังทำลายเศรษฐกิจ เช่น ผัก พืช เมล็ดพืชที่เก็บในบ้านจะถูกกัด แทะ เสียหายมาก ดังนั้นหนูจึงเป็นสัตว์ที่ต้องขจัด หรือควบคุมไม่ให้เข้ามาอาศัยในบ้านโดยวิธีป้องกันดังนี้

  • กันไม่ให้หนูเข้ามาอยู่ในบ้านเรือน บ้านชั้นอยู่บนดินควรใช้วัสดุแข็ง หรือทำคานคอนกรีตรอบกันหนูประเภทหนูนนอรเว ซึ่งขุดรูอยู่ลึก 10-18 นิ้ว จะขุดรูเล็ดลอดเข้ามาได้
  • ประตูไม้ และมุมขอบหน้าต่างช่วงล่างควรใช้โลหะ เช่น สังกะสีหนาปิดทางเข้าหรือช่องเปิดควรปิดด้วยลวดตาข่าย เสาบ้านชั้นเก็บอาหารควรใช้สังกะสีแผ่นเรียบหุ้มไว้รอบ เพื่อป้องกันการไต่ขึ้นบ้าน
  • ขยะทั้งเปียก และแห้ง เป็นที่อยู่อาศัยอย่างดี ควรเก็บในถังมิดชิด แยกถังขยะเปียก และขยะแห้ง เต็มแล้นำไปเผา หรือฝังเศษอาหารควรเทในถังที่ปิดมิดชิดเช่นกัน มิฉะนั้นจะเป็นอาหารของหนู
  • ห้องเก็บอาหารแห้ง, เมล็ดพืช ควรทำกำแพงหนา หรือเรือนบุด้วยโละหะ ที่หนูกันไม่ได้ ทาด้วยสีขาวสว่าง โต๊ะ หรือชั้นวางของควรสูงจากพื้นห้องราว 12 นิ้ว เพื่อตรวจดู และกำจัดรังหนูได้ง่าย

การทำลายหนู มี 2 วิธีใหญ่ ๆ

  1. ใช้กับดัก มีชนิดกับดัก และกับกรง โดยมีอาหารเป็นเหยื่อล่อ การวางกับดักให้วางที่เป็นทางเดินของหนู หรือวางซ่อนตามกองขยะและอาหาร
  2. ใช้ยาเบื่อหนู มีทั้งชนิดมีผลฉับพลัน หนูกินจะตายทันที และชนิดมีผลทำลายช้า หนูต้องกินซ้ำกันบ่อย ๆ สะสมในร่างกายทีละน้อยจะตายในระยะหลัง

ข้อควรระวังในการใช้ยาเบื่อหนู ดังนี้

  1. ยาเบื่อที่ควรเก็บมิดชิด ใส่กุญแจ ห่างจากเด็กที่จะเอื้อมถึง
  2. ขนาดของเหยื่อไม่ควรโต หากโตมากหนูลากไปกินไม่หมดและเรี่ยราด เด็ก ๆ ไม่รู้จะเก็บใส่ปากจะอันตรายมาก
  3. ก่อนจะวางยาเบื่อฆ่าหนู ควรเก็บขยะเศษอาหารทิ้ง โดยเผา และฝังให้หมด ตู้กับข้าวปิดมิดชิด การวางต้องวางตามทางเดินของหนู และใกล้กองขยะที่หนูเคยมากินเศษอาหาร
  4. สัตว์เลี้ยงอื่นควรมัดหรือใส่กรงขังด้วย

ข้อควรปฏิบัติในการใช้กับดักหนู

  1. กับที่ใช้ดักหนูได้แล้ว ต้องล้างให้สะอาดไม่ให้กลิ่นเดิมติดอยู่ หากได้กลิ่นตาย มักจะไม่เข้ามากินอีก
  2. กับดักพยายามไม่จับต้อง ให้ได้กลิ่นมือคน หนูได้กลิ่นก็จะไม่มากินเหยื่อ

a20.gif อีกวิธีหนึ่งโดยเลี้ยงแมวไว้ในบ้านสัก 1-2 ตัว เพื่อคอยไล่จับหนู หนูได้กลิ่น และเห็นแมวก็จะหนี ซึ่งผู้เป็นเจ้าของบ้านต้องเป็นผู้รักสัตว์ รักแมวด้วย


1 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Diseases directly transmitted by rodents | Rodents. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/rodents/diseases/direct.html)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
ใบบัวบก เครื่องดื่มสีเขียวเปี่ยมด้วยประโยชน์
ใบบัวบก เครื่องดื่มสีเขียวเปี่ยมด้วยประโยชน์

ทานสดๆ ก็ได้ คั้นน้ำดื่มก็ดี หรือจะใช้ภายนอกก็เจ๋ง ไม่เบา

อ่านเพิ่ม