"หลั่งนอก จะท้องไหม" เปรียบเทียบการหลั่งนอก และถุงยางอนามัย

การหลั่งนอกนอกจากจะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์แล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย จึงควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์
เผยแพร่ครั้งแรก 12 มิ.ย. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
"หลั่งนอก จะท้องไหม" เปรียบเทียบการหลั่งนอก และถุงยางอนามัย

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การหลั่งนอก จะมีโอกาสตั้งครรภ์ 4-22% เนื่องจากขณะมีเพศสัมพันธ์ ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำหล่อลื่น ซึ่งมีส่วนผสมของอสุจิออกมาด้วย
  • การใช้ถุงยางอนามัย หากใช้อย่างถูกวิธี ไม่เกิดการฉีกขาด จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 2% เท่านั้น
  • หากแพ้ถุงยางอนามัยจากธรรมชาติ (พบได้น้อย) สามารถใช้ถุงยางที่ทำจากยางสังเคราะห์ เช่น วัสดุโพลียูรีเทน (Polyurethane) แทนได้
  • ควรเปลี่ยนถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์รอบใหม่ และหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์รุนแรง หรือนานเกินไป เพราะอาจทำให้ถุงยางอนามัยฉีกขาดได้
  • การหลั่งนอก แม้ว่าจะสะดวก ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูง เพื่อการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย จึงควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง (ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที่นี่)

"หลั่งนอกจะท้องไหม" เป็นหนึ่งในคำถามที่คู่รักหลายคู่ต่างสงสัย ถึงแม้จะมีการเปิดเผยข้อมูลเรื่องการหลั่งนอกไม่ใช่วิธีคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ และเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์ได้มากก็ตาม

รูปแบบการคุมกำเนิดแบบหลั่งนอก

การคุมกำเนิดแบบหลั่งนอก มี 2 รูปแบบ ดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • สอดใส่ไปก่อน แล้วถอนอวัยวะเพศออกมาจากช่องคลอดก่อนหลั่งน้ำอสุจิ
  • สวมถุงยางก่อนสอดใส่ สามารถหลั่งในได้ หลั่งแล้วจึงถอนอวัยวะเพศออกมา หรือบางคนอาจออกมาหลั่งข้างนอก

ซึ่งการคุมกำเนิดทั้ง 2 วิธีนี้ ถือเป็นวิธีที่รบกวนจังหวะในการมีเพศสัมพันธ์ของคู่รัก ทำให้อารมณ์สะดุด ค้างคา หรือไม่ถึงจุดสุดยอดได้ คู่รักหลายคู่จึงเลือกที่จะใช้วิธีการหลั่งในแทน 

นอกจากนี้ยังมีคู่รักบางคู่ที่ไม่พึงพอใจต่อการใช้ถุงยางอนามัย เนื่องจากรู้สึกว่ามีสิ่งแปลกปลอมขัดขวางการสัมผัสตามธรรมชาติ ทำให้ไม่ใช้ถุงยางอนามัย แต่เลือกวิธีการหลั่งนอก หรือหลั่งในแทน ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดทั้งคู่ 

อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องถุงยางอนามัยสามารถแก้ไขได้ด้วยการเลือกถุงยางรุ่นที่บางเป็นพิเศษ หรืออาจใช้ถุงยางชนิดผิวไม่เรียบ เพื่อเพิ่มผิวสัมผัสให้รู้สึกแตกต่างจากความเรียบลื่นเวลาใช้ถุงยางปกติได้

การที่เราใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์นั้น นอกจากจะช่วยป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมแล้ว ยังช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย

ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดแบบหลั่งนอก

  • การหลั่งนอกโดยไม่สวมถุงยางอนามัย มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 4-22% เนื่องจากน้ำหล่อลื่นของผู้ชายที่ออกมาเพียงเล็กน้อยระหว่างมีเพศสัมพันธ์ก็มีอสุจิผสมอยู่ด้วย

  • การสวมถุงยางนามัย มีโอกาสตั้งครรภ์ 2-18% เนื่องจากบางคนอาจใช้ถุงยางอนามัยผิดวิธี หรือปล่อยคาไว้นานหลังจากหลั่ง ทำให้อาจมีการปนเปื้อนได้ แต่หากใช้ถูกวิธี และถุงยางอนามัยไม่ฉีกขาด จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียง 2% เท่านั้น

แม้ว่าดูช่วงตัวเลขในด้านบน จะเห็นว่า การใช้วิธีหลั่งนอกมีความเสี่ยงที่จะตั้งครรภ์สูงกว่าการใช้ถุงยางอนามัยไม่มากนัก แต่เนื่องจากในทางปฏิบัติจริง น้อยคนนักที่จะเชี่ยวชาญจนสามารถควบคุมการหลั่งได้อย่างสมบูรณ์แบบ เช่น หลั่งระหว่างสอดใส่ ถอนอวัยวะเพศออกมาไม่ทัน หรือมีเชื้ออสุจิค้างจากรอบที่แล้ว

โดยเฉพาะในวัยรุ่นที่ใจร้อน ตื่นเต้นง่าย หรือขาดประสบการณ์ จึงมีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด และตั้งครรภ์ได้สูง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

เราจึงพบว่า คู่รักส่วนใหญ่ที่ใช้วิธีหลั่งนอก มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ 22% หรือเปรียบเทียบง่ายๆ ก็คือ ใน 4–5 ครั้งที่มีเพศสัมพันธ์แล้วป้องกันด้วยการหลั่งนอก จะมี 1 ครั้งที่พลาด และเกิดการตั้งครรภ์

 ในขณะที่การใช้ถุงยางอนามัย หากใช้อย่างถูกต้อง และไม่เกิดปัญหารั่วซึม หรือฉีกขาด จะมีโอกาสตั้งครรภ์เพียงแค่ 2%

ดังนั้น สิ่งที่ควรระวังก็คือ การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง และเหมาะสม ไม่ใช้ถุงยางอนามัยหมดอายุ เก็บในที่แห้ง ไม่ร้อน ไม่ตากแดด และไม่เก็บในกระเป๋ากางเกงเพราะอาจเกิดรอยพับและฉีกขาดของถุงยางอนามัยจากการนั่งทับ หรือเปลี่ยนท่าได้ 

วิธีการใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้อง

  • ใช้มือฉีกซองถุงยางอนามัยอย่างระมัดระวัง อย่าใช้ฟันฉีกกัด เพราะเสี่ยงที่ถุงยางจะมีรอยฉีกขาด

  • สวมถุงยางอนามัยในขณะที่อวัยวะเพศแข็งตัวเต็มที่ เพื่อให้กระชับ และไม่เลื่อนหลุดง่าย จับถุงยางอนามัยให้ถูกด้าน

  • หากใช้สารหล่อลื่นร่วมด้วยต้องมั่นใจว่า ไม่กระทบต่อประสิทธิภาพของถุงยางอนามัย

  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง หรือนานเกินไป เพราะเสี่ยงที่ถุงยางอนามัยจะฉีกขาด

  • เมื่อหลั่งน้ำอสุจิแล้ว ให้รีบถอนอวัยวะออกก่อนอ่อนตัว ไม่อย่างนั้นจะเสี่ยงที่ถุงยางอนามัยจะเลื่อนหลุด และตกค้างอยู่ในช่องคลอดได้

  • เปลี่ยนถุงยางอนามัยชิ้นใหม่ เมื่อจะมีกิจกรรมรอบใหม่ ไม่ใช้อันเดิมต่อ และไม่นำถุงยางอนามัยกลับมาใช้ซ้ำ

ผลข้างเคียงของวิธีคุมกำเนิดแบบหลั่งนอก

  • หากไม่สวมถุงยางอนามัย ระหว่างที่มีเพศสัมพันธ์ อาจมีโอกาสติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
  • หากสวมถุงยางอนามัย บางคนอาจมีอาการแพ้ถุงยางอนามัยที่ทำจากยางธรรมชาติ

แพ้ถุงยางอนามัยที่ทำจากยางธรรมชาติต้องทำอย่างไร?

บางคนอาจมีปัญหาการแพ้ถุงยางที่เป็นลาเท็กซ์ (Latex) หรือยางธรรมชาติ หรือบางคนก็อาจแพ้สารหล่อลื่น หรือสารฆ่าเชื้ออสุจิ โดยสามารถเกิดขึ้นได้กับทั้งชายและหญิง จึงอาจมีการคัน หรือแสบร้อนที่อวัยวะเพศที่มีการสัมผัสกับถุงยางอนามัย หรือสารดังกล่าว

หากมีอาการแพ้ยางธรรมชาติ แนะนำให้เลือกใช้ถุงยางอนามัยที่ทำจากวัสดุโพลียูรีเทน (Polyurethane) แทน ส่วนผู้ที่แพ้สารหล่อลื่น หรือสารฆ่าเชื้ออสุจิ ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวร่วมด้วย หรือเลือกใช้ถุงยางอนามัยที่ไม่มีการเคลือบด้วยสารเหล่านี้

แม้การหลั่งนอกโดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยจะเป็นวิธีที่สะดวก ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ก็เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์สูง และมีโอกาสที่จะเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เพื่อการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย จึงควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์ และไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ

หากไม่มั่นใจว่าตนเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือเป็นผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ควรไปตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ อย่าปล่อยทิ้งไว้ เพราะการรู้เร็ว รักษาเร็ว จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษามากยิ่งขึ้น

ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจเหล่านี้ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


12 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
What If the Condom Slipped Off During Sex? (for Teens). Nemours KidsHealth. (https://kidshealth.org/WillisKnighton/en/teens/lost-condom.html)
Pull and pray or extra protection? Contraceptive strategies involving withdrawal among US adult women. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4254803/)
Condoms. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/conditions/contraception/male-condoms/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
หลั่งนอกท้องหรือไม่?
หลั่งนอกท้องหรือไม่?

อสุจิไม่ได้หลั่งเฉพาะช่วงถึงจุดสุดยอดเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าจะหลั่งใน หรือหลั่งนอก หากไม่ใส่ถุงยางอนามัยก็เสี่ยงตั้งครรภ์อยู่ดี

อ่านเพิ่ม