กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี
ตรวจสอบความถูกต้องโดย
พญ.วรรณวนัช เสถียรธรรมมณี

หลั่งนอกท้องหรือไม่?

อสุจิไม่ได้หลั่งเฉพาะช่วงถึงจุดสุดยอดเท่านั้น ดังนั้นไม่ว่าจะหลั่งใน หรือหลั่งนอก หากไม่ใส่ถุงยางอนามัยก็เสี่ยงตั้งครรภ์อยู่ดี
เผยแพร่ครั้งแรก 22 พ.ย. 2017 อัปเดตล่าสุด 24 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 14 เม.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
หลั่งนอกท้องหรือไม่?

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • การหลั่งนอกคือ การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัย เมื่อฝ่ายชายใกล้ถึงจุดสุดยอดจะถอนอวัยวะเพศออกมาและหลั่งน้ำอสุจิภายนอกช่องคลอดของฝ่ายหญิง
  • หลายคนเข้าใจผิดว่า การหลั่งนอกสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ ซึ่งนั่นไม่ใช่ความจริง เพราะไม่ว่าจะหลั่งนอก หรือหลั่งใน หากมีการสอดใส่โดยไม่ใส่ถุงยางอนามัยก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้ทั้งสิ้น
  • อสุจิไม่ได้หลั่งออกมาเฉพาะช่วงที่ฝ่ายชายถึงจุดสุดยอดเท่านั้น แต่จะหลั่งออกมากับน้ำหล่อลื่น หรือเมือกระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ด้วย
  • ควรใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเอดส์ โรคเริม โรคหิด โรคหูดหงอนไก่
  • หากเคยมีเพศสัมพันธ์โดยการหลั่งนอกมาก่อน หรือไม่มั่นใจว่า ตนเองเสี่ยงเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองโรค (ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ที่นี่)

อีกหนึ่งปัญหาคาใจของการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างคู่รักชาย-หญิงก็คือ “การหลั่งนอกมีสิทธิ์ท้องหรือไม่”

ใครหลายคนคิดว่า "อสุจิ” จะมาพร้อมกับน้ำอสุจิที่เกิดขึ้นในช่วงที่ฝ่ายชายถึงจุดสุดยอด หากฝ่ายชายถอนอวัยวะเพศออกมาหลั่งน้ำอสุจิข้างนอกช่องคลอด หรือนิยมเรียกกันว่า หลั่งนอก นั่นก็น่าจะเพียงพอต่อการป้องกันการตั้งครรภ์แล้ว

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แต่แท้จริงแล้วการหลั่งนอกจะสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้จริงๆ เหรอ เราจะพาไปหาคำตอบ

ความหมายของการหลั่งนอก

การหลั่งนอกเป็นที่นิยมมากในหมู่คู่รักวัยรุ่น เนื่องจากหลายคู่มองข้ามการใช้ถุงยางอนามัยเพราะอาย ไม่กล้าซื้อ บ้างก็ลืม หรือไม่ได้เตรียมตัว แม้แต่บางคนก็ตั้งใจไม่ใช้ถุงยางอนามัยเพราะเกรงว่าจะเสียเพศรสไปจึงเลือกป้องกันการตั้งครรภ์ด้วยการหลั่งนอกแทน

การหลั่งนอกจึงหมายถึง การมีเพศสัมพันธ์โดยที่ฝ่ายชายไม่ได้สวมใส่ถุงยางอนามัย เมื่อฝ่ายชายรู้สึกใกล้ถึงจุดสุดยอดจะถอนอวัยวะเพศออกจากช่องคลอด เพื่อหลั่งน้ำอสุจิภายนอกแทน

วิธีนี้ถึงแม้จะดูว่า ปลอดภัย เพราะอสุจิไม่ได้สัมผัสกับไข่โดยตรง แต่จริงๆ แล้ว “ถ้ามีการสอดใส่ ไม่ว่าจะหลั่งใน หรือหลั่งนอกก็มีโอกาสตั้งครรภ์ได้”

ข้อเท็จจริงของสเปิร์ม เหตุผลที่หลั่งนอกก็ท้องได้

หลายคนเชื่อว่า การหลั่งนอกจะไม่ทำให้ตั้งครรภ์ เพราะมั่นใจว่า สามารถถอนอวัยวะเพศออกมาทันก่อนที่อสุจิจะเข้าไปผสมกับไข่ แต่จริงๆ แล้วก็ยังเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์อยู่ดี ด้วยข้อเท็จจริงต่อไนี้

  • การหลั่งนอก เป็นวิธีป้องกันการตั้งครรภ์ที่มีโอกาสล้มเหลวสูง เพราะระหว่างมีเพศสัมพันธ์จะมีอสุจิหลั่งออกมาบ้าง เพียงแต่ปริมาณไม่มากเท่าตอนถึงจุดสุดยอด

  • อสุจิไม่ได้มีอยู่ในช่วงถึงจุดสุดยอดเท่านั้น เพราะในระหว่างที่เล้าโลม หากสังเกตดีๆ อวัยวะเพศฝ่ายชายจะมีน้ำเมือก หรือน้ำหล่อลื่นออกมา หลายคนคิดว่า เป็นเพียงน้ำหล่อลื่นธรรมดา แต่จริงๆ แล้วของเหลวเหล่านี้มีอสุจิรวมอยู่ด้วยราว 30 ล้านตัวเลยทีเดียว

  • หากหลั่งนอกใกล้ช่องคลอดมากเกินไป อสุจิยังสามารถว่ายเข้าไปในช่องคลอดเพื่อเข้าไปผสมกับไข่ได้ เนื่องจากฝ่ายหญิงเองก็มีน้ำหล่อลื่นที่เป็นตัวช่วยการเคลื่อนไหวของอสุจิ

  • หากมีเพศสัมพันธ์ติดต่อกันด้วยระยะเวลาไม่ห่างกันมาก จะมีโอกาสตั้งครรภ์ได้หลายเท่าตัว แม้มั่นใจว่า ทำความสะอาดอวัยวะเพศดีแล้วก็ตาม

  • หากฝ่ายชายถอนอวัยวะเพศออกจากช่องคลอดไม่ทัน ก็มีโอกาสที่อสุจิจะว่ายเข้าไปผสมกับไข่ได้อยู่ดี

อ่านมาถึงตรงนี้ก็คงเข้าใจแล้วว่า การหลั่งนอกมีโอกาสสูงที่ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ได้เช่นกัน ดังนั้นหากไม่ประสงค์จะตั้งครรภ์ควรใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธีทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์

นอกจากนี้การใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกวิธียังมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ เช่น โรคเอดส์ โรคหนองใน โรคเริมที่อวัยวะเพศ โรคหิด โรคหูดหงอนไก่ 

ทั้งนี้โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางโรคเมื่อเป็นแล้ว หากไม่รับการรักษาอย่างถูกวิธีก็อาจลุกลาม รุนแรง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อน จนเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ดูแพ็กเกจตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


7 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Zieman M. Overview of contraception (http://www.uptodate.com/home), 5 March 2020.
WebMD, Pull Out Method (Withdrawal) (https://www.webmd.com/sex/birth-control/pull-out-withdrawal), 5 March 2020.
Mayo Clinic Staff, Withdrawal method (coitus interruptus) (https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/withdrawal-method/about/pac-20395283), 21 March 2020.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
"หลั่งนอก จะท้องไหม" เปรียบเทียบการหลั่งนอก และถุงยางอนามัย
"หลั่งนอก จะท้องไหม" เปรียบเทียบการหลั่งนอก และถุงยางอนามัย

การหลั่งนอกนอกจากจะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์แล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกด้วย จึงควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งก่อนมีเพศสัมพันธ์

อ่านเพิ่ม