อีโบลา เป็นโรคติดต่อร้ายแรงที่เกิดจากเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola virus) โดย 25-90% ของคนที่ติดเชื้ออีโบลาจะเสียชีวิตด้วยโรคนี้ในที่สุด ตามข้อมูลขององค์กรอนามัยโลก
ไวรัสอีโบลาเป็นหนึ่งในไวรัสกลุ่ม Filoviridae ส่วนไวรัสอีกชนิดที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันคือไวรัสมาร์บูร์ก (Marburg) ไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้ทำให้เกิดโรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นสภาวะร้ายแรงที่เส้นเลือดรั่วไหล นำไปสู่การตกเลือดหรือการมีเลือดออกอย่างหนัก ทำให้เกิดอาการช็อคและเสียชีวิตได้ เนื่องจากอวัยวะในร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
ไวรัสอีโบลามีทั้งหมด 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ไทฟอเรส (Tai Forest) ซูดาน (Sudan) ซาร์อี (Zaire) เรสตัน (Reston) และบันดิบูเกียว (Bundibugyo) และมีแค่สายพันธุ์เรสตันเท่านั้นที่ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคร้ายแรงในมนุษย์ได้
เชื้ออีโบลาจะอาศัยสัตว์เป็นพาหะนำโรค เช่น ค้างคาว และลิงในแอฟริกา เชื้อสามารถกระโดดไปสู่คนได้เป็นครั้งคราว ซึ่งเกิดขึ้นได้อย่างไรนั้นก็ยังไม่เป็นที่รู้จักแน่ชัด
อาการของโรคอีโบลา
อาการของโรคติดเชื้ออีโบลาจะเริ่มจากส่วนไหนก็ได้ภายหลังการติดเชื้อไวรัสเป็นเวลา 2-21 วัน โดยส่วนใหญ่จะเริ่มมีอาการภายในวันที่ 5-10 สัญญาณและอาการแรกเริ่มของอีโบลาอาจไม่รุนแรงและไม่เฉพาะเจาะจง สังเกตได้ดังนี้
- มีไข้ต่ำ
- เมื่อยล้า
- อึดอัดหรือรู้สึกเหมือนจะป่วย ไม่สบาย
อาการเหล่านี้ค่อนข้างคลุมเครือและอาจบ่งชี้ถึงอาการของโรคต่างๆ มากมาย อาการของอีโบลาจึงมักจะถูกวินิจฉัยผิดว่าเป็นอาการของโรคอื่น
เมื่อไวรัสเริ่มสร้างตัวหรือเพิ่มจำนวนขึ้นในร่างกายผู้ติดเชื้อ จะทำให้เส้นเลือดเกิดการรั่วไหล และมีอาการที่รุนแรงขึ้นเหล่านี้บังตามมา
- มีไข้สูง
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
- ปวดหัว
- อาเจียน
- ท้องร่วง
- เลือดออกตามไรฟัน จมูก ทวารหนัก และอวัยวะภายใน
- ความดันโลหิตต่ำ
- คลุ้มคลั่งหรือมึนเมา
- อาการโคม่า หมดสติ
แพทย์จะบอกได้ว่าเป็นการติดเชื้ออีโบลาหรือไม่จากการสังเกตอาการและประวัติที่เพิ่งผ่านมาของผู้ป่วย เช่น การสัมผัสกับผู้ติดเชื้อ และประวัติการเดินทาง รวมถึงการทดสอบเลือดเพื่อดูการติดเชื้อและชนิดของเชื้อที่ทำให้เกิดโรค
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!
จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง
การแพร่เชื้อของไวรัสอีโบลา
ตราบใดที่ผู้ป่วยยังไม่แสดงอาการ จะไม่มีการแพร่เชื้อโรคไปสู่ผู้อื่น แต่เมื่อใดที่เริ่มแสดงอาการ จะเป็นช่วงที่ไวรัสอีโบลาแพร่จากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งผ่านการสัมผัสกับของเหลวและสารคัดหลั่งจากร่างกายผู้ติดเชื้อได้ เช่น เลือด อาเจียน อุจจาระ และการสัมผัสเชื้อจากของใช้ที่มีของเหลวจากผู้ติดเชื้อปนเปื้อนอยู่ ส่วนการแพร่กระจายเชื้อทางอากาศ เช่น การไอหรือการจามนั้นไม่พบว่าเป็นสาเหตุให้เกิดการแพร่เชื้ออีโบลาในคน
สมาชิกครอบครัวของคนที่ติดเชื้ออีโบลาและแพทย์ผู้ให้การรักษามีความเสี่ยงสูงต่อการติดโรคนี้ เพราะมีการสัมผัสกับผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่ต้องจัดการเลือดและตัวอย่างอื่นๆ จากผู้ติดเชื้อ
มาตรการที่สามารถป้องกันไม่ให้อีโบลาแพร่กระจาย มีดังนี้
- แยกผู้ป่วยที่ติดเชื้อออกจากคนที่ไม่ติดเชื้ออีโบลาทุกคน
- ในขณะที่ดูแลผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำการรักษาต้องสวมชุดป้องกัน โดยใส่ถุงมือ หน้ากาก แว่นตา ชุดคลุม (กาวน์) และเครื่องแต่งกายอื่นๆ
- กำจัดสิ่งปนเปื้อนหรือทิ้งอุปกรณ์ใดๆ ก็ตามที่ผู้ป่วยได้สัมผัสในถุงที่มิดชิด รวมทั้งเข็มฉีดยา เข็ม และอุปกรณ์ทางการแพทย์อื่นๆ
- ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยน้ำยาฆ่าเชื้ออย่างคลอรีน ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อไวรัสอีโบลาได้
- สนับสนุนให้ผู้รอดชีวิตจากอีโบลาที่เชื่อว่าพ้นขีดอันตรายจากเชื้อที่เคยได้รับแล้ว ให้ช่วยดูแลผู้ที่เจ็บป่วยจากอีโบลาหรือช่วยฝังศพคนที่เสียชีวิต
- ติดตามผลของทุกคนที่ได้สัมผัสผู้ป่วยที่ติดเชื้ออีโบลา
ตามหลักการแล้ว คนที่มีการติดต่อสัมผัสผู้ป่วยอีโบลา ไม่ว่าในหรือนอกโรงพยาบาลจะถูกติดตามอาการการติดเชื้อเป็นเวลาอย่างน้อย 21 วันหลังการสัมผัสครั้งสุดท้าย และในบางกรณีผู้ที่คลุกคลีอย่างใกล้ชิดจะถูกกักตัวจนกว่าจะผ่านระยะฟักตัวภายใน 21 วันไป เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่แพร่เชื้อไวรัสไปสู่ผู้อื่น เพราะคนอื่นๆ จะยังคงติดเชื้อได้ ตราบใดที่ไวรัสยังคงอยู่ในเลือดหรือของเหลวในร่างกาย ซึ่งรวมไปถึงอสุจิและน้ำนมด้วย
อ้างอิงจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ผู้ชายที่ฟื้นตัวจากอีโบลาสามารถแพร่เชื้อไวรัสนี้ผ่านทางน้ำอสุจิเป็นเวลาหลายเดือนภายหลังการฟื้นตัวได้ ในปี ค.ศ. 2015 แพทย์ผู้ติดเชื้ออีโบลาซึ่งได้รับการรักษาแล้วถูกตรวจพบว่าเขายังมีเชื้อไวรัสอยู่ที่ตา ซึ่งเป็นเวลาหลายเดือนหลังจากที่ตรวจพบว่าเขาไม่มีเชื้อไวรัสแล้ว จึงต้องทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้และผลกระทบในระยะยาวอื่นๆ จากการติดเชื้ออีโบลาและ "กลุ่มอาการโรคหลังเป็นโรคอีโบลา" (Post-Ebola syndrome) ต่อไปจนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน
การบำบัดและรักษาโรคอีโบลา
ปัจจุบันยังไม่มีการรักษาอีโบลาที่เป็นที่เฉพาะเจาะจง โดยคนบางส่วนรอดชีวิตจากอีโบลาและเป็นที่เข้าใจว่ามีภูมิคุ้มกันจากการที่เคยติดเชื้อแล้ว แต่ภูมิคุ้มกันนี้จะอยู่ได้นานแค่ไหนก็ยังไม่อาจรู้ได้ และไม่มีวัคซีนป้องกันเชื้ออีโบลา แม้ว่าปัจจุบันจะมีการทดสอบวัคซีนที่มีประสิทธิภาพ 2 วัคซีนก็ตาม
การรักษาโรคอีโบลาเน้นการดูแลตามอาการ ได้แก่ การจัดการสารน้ำทางหลอดเลือดดำ การถ่ายเม็ดเลือดแดงและผลิตภัณฑ์เลือดอื่นๆ ในกรณีที่จำเป็น และการรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น ผู้ป่วยบางคนจำเป็นต้องฟอกไตและใช้เครื่องช่วยหายใจด้วยหากมีอาการป่วยหนัก
มีการรักษาอยู่ 2 อย่างที่ถูกทดลองนำมาใช้ในช่วงที่อีโบลาระบาดหนัก ในปี ค.ศ. 2014 คือ
- การถ่ายโอนน้ำเลือดหรือพลาสม่า พลาสม่าของู้รอดชีวิตจากอีโบลารายหนึ่งถูกถ่ายโอนไปยังผู้ป่วยหลายคน ด้วยความหวังว่าแอนติบอดี้ของผู้รอดชีวิตรายนั้นจะช่วยต่อสู้กับเชื้อไวรัสในคนที่ติดเชื้อเหล่านั้นได้ ในขณะที่ผู้ป่วยที่ได้รับการถ่ายโอนพลาสม่านั้นก็มีชีวิตรอดมาจนถึงเดี๋ยวนี้ ซึ่งก็ไม่รู้เลยว่าพลาสม่าที่ถ่ายโอนนั้นไปทำหน้าที่อะไรกันแน่ แนวคิดที่ใช้พลาสม่าของผู้รอดชีวิตจากเชื้ออีโบลาเพื่อรักษาผู้ป่วยรายอื่นไม่ใช่แนวคิดใหม่และแนวคิดนี้ก็ถูกใช้มาแล้วกับกลุ่มผู้ป่วยจำนวนเล็กๆ จากการระบาดในคราวก่อน ซึ่งก็ให้ผลดีอย่างเห็นได้ชัด
- ZMapp ชาวอเมริกันสองคนที่รอดชีวิตได้รับการรักษาด้วยยาทดลองที่ชื่อ ZMapp ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท แมปป์ ไบโอฟามาซูติคัล (Mapp Biopharmaceutical, Inc) ตัวยาเป็นการผสมกันของโมโนโคลนอลแอนติบอดีสามชนิดที่ผูกกับโปรตีนของเชื้อไวรัสอีโบลา ZMapp แต่ยังไม่ได้รับการทดสอบกับมนุษย์ว่าปลอดภัยหรือมีประสิทธิภาพเพียงใด และมียาเหลือเพียงน้อยนิดเท่านั้นในช่วงที่อีโบลาระบาดในปี ค.ศ. 2014