เอดส์ อาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร?

รู้ความแตกต่างของ “ผู้ติดเชื้อ HIV” กับ “ผู้ป่วยเอดส์” เข้าใจวิธีสังเกตอาการเริ่มต้นของเอดส์ และตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจหาเชื้อหากมีพฤติกรรมเสี่ยง
เผยแพร่ครั้งแรก 30 ก.ย. 2019 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
เอดส์ อาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร?

โรคเอดส์” เป็นโรคที่คุ้นหูมานานเกือบ 30-40 ปี คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า โรคเอดส์ คือโรคร้ายที่เป็นแล้วไม่มีทางรักษาได้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตอย่างทุกข์ทรมานทุกราย แต่ความจริงแล้ว การรู้เท่าทันอาการของโรคในวันที่สุขภาพยังแข็งแรง ผู้ป่วยจะสามารถดูแลตนเองและใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขได้ใกล้เคียงกับคนทั่วไป

ผู้ติดเชื้อ HIV กับผู้ป่วยเอดส์ แตกต่างกัน

ในทางการแพทย์และการสาธารณสุข “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี” มีความหมายแตกต่างจาก “ผู้ป่วยเอดส์” แม้ว่าผู้ป่วยทั้งสองแบบจะมีการติดเชื้อโรคชนิดเดียวกัน คือ เชื้อไวรัส Human Immunodeficiency Virus หรือ เรียกสั้นๆ ว่า เชื้อเอชไอวี (HIV)

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ตรวจ STD วันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 97 บาท ลดสูงสุด 76%

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

  • “ผู้ติดเชื้อเอชไอวี” หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย และเชื้อดังกล่าวเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคอื่นๆ ที่เข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยอาจไม่ปรากฏอาการผิดปกติใดๆ ผู้ป่วยบางรายตรวจพบว่ามีเชื้อเอชไอวีในร่างกายจากการตรวจคัดกรองสุขภาพด้วยเหตุผลอื่นๆ เช่น ตรวจเลือดก่อนรับการผ่าตัดอื่น ตรวจเลือดก่อนแต่งงาน ตรวจสุขภาพเพื่อเข้าทำงาน เป็นต้น
  • “ผู้ป่วยเอดส์” หมายถึง ผู้อยู่ในภาวะที่เซลล์เม็ดเลือดขาวจำนวนมากถูกทำลายด้วยเชื้อไวรัสเอชไอวี จนส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดต่ำลง ทำให้เกิดการติดเชื้อโรคอื่นๆ แทรกได้ง่าย

ระยะเวลาตั้งแต่เริ่มรับเชื้อไวรัสเอชไอวีไปจนถึงแสดงอาการของโรคเอดส์ของผู้ป่วยแต่ละคนแตกต่างกัน บางรายอาจแสดงอาการโรคเอดส์หลังการติดเชื้อไวรัสเอชไอวีนานถึง 10 ปี อาการเริ่มต้นของคนสองกลุ่มนี้จะมีความแตกต่างกัน และขึ้นอยู่กับระดับภูมิคุ้มกันของร่างกายและแบบแผนการใช้ชีวิต ว่ามีโอกาสได้รับเชื้อฉวยโอกาส (Opportunistic infections) มากเพียงใด แต่ไม่มีความแตกต่างกันของอาการแสดงระหว่างเพศชายกับเพศหญิง 

อาการของผู้ติดเชื้อ HIV กับผู้ป่วยโรคเอดส์ต่างกันอย่างไร?

กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่รับเชื้อไวรัสเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย จะปรากฎสัญญาณเตือนในระยะเริ่มแรก แต่อาการดังกล่าวจะคล้ายกับอาการไข้หวัด ได้แก่ ไข้ เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต บางรายอาจมีคลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักลด อาการเหล่านี้จะมีอยู่เพียง 2-3 วัน ไปจนถึง 10 สัปดาห์ จากนั้นจะหายไป ซึ่งเป็นระยะที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานมาทดแทน อาจทำให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าเป็นอาการไข้หวัด แม้จะไปพบแพทย์ก็จะไม่ได้รับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี ส่งผลให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยและรับยาต้านไวรัสล่าช้า นอกจากนี้ผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อเอชไอวีบางรายก็ไม่ปรากฎอาการใดๆ ให้เห็น

หากมีอาการแสดงเหล่านี้ ควรพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา แต่สำหรับดังนั้น บุคคลที่พิจารณาตนเองและพบว่ามีความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อเอชไอวี เช่น มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ปลอดภัย ฉีดยาเสพติด มีสามี ภรรยา หรือคู่นอนที่มีพฤติกรรมเสี่ยง เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ควรให้ข้อมูลเรื่องประวัติความเสี่ยงแก่แพทย์ เนื่องจากเป็นข้อมูลสำคัญประกอบการพิจารณาเพื่อเจาะเลือดตรวจหาเชื้อไวรัสเอชไอวีอย่างแม่นยำ

ส่วนอาการเริ่มต้นของกลุ่มผู้ป่วยโรคเอดส์ มักพบว่ามีการติดเชื้อฉวยโอกาส เช่น เชื้อวัณโรค เชื้อราในสมอง นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเหงื่อออกมากตอนกลางคืน ไข้สูงเรื้อรังติดต่อกันหลายสัปดาห์ ไอเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง น้ำหนักลด ปวดศีรษะอย่างรุนแรง ปวดท้อง เป็นต้น

การติดเชื้อ HIV หากรู้เร็ว ก็จะสามารถเริ่มดูแลตนเองตั้งแต่เมื่อตอนที่สุขภาพยังแข็งแรง แม้ปัจจุบันแม้ว่ายังไม่มีรักษาใดที่สามารถกำจัดเชื้อเอชไอวีให้หมดจากร่างกายผู้ติดเชื้อ แต่วิวัฒนาการของยาต้านไวรัสได้ก้าวหน้าไปมาก ส่งผลให้สามารถหยุดการแพร่กระจายของเชื้อเอชไอวีในร่างกาย และป้องกันการดำเนินโรคไปสู่ระยะโรคเอดส์ได้


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
มูลนิธิหมอชาวบ้าน, เอดส์-โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (https://www.doctor.or.th/article/detail/10236), 21 กันยายน 2562.
แพทย์หญิงกฤตพร พรไพ, ความรู้สำหรับประชาชน โรคเอดส์สำหรับเด็กและวัยรุ่น (http://www.pidst.or.th/A731.mobile), 21 กันยายน 2562.
กรมควบคุมโรค. แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2560. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป
รายชื่อโรคติดต่อ
รายชื่อโรคติดต่อ

ค้นหารายชื่อโรคติดต่อได้ง่ายๆ ในลิ้งค์เดียว ไม่ต้องนั่งหาทีละโรค พร้อมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคติดต่อ รวมมาตอบไว้แล้วที่นี่

อ่านเพิ่ม
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้
โรคเอดส์ การติดต่อ และการป้องกันที่ทุกคนควรรู้

ตอบชัดเจน คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคเอดส์ เชื้อ HIV ติดได้อย่างไร ทำแบบไหนติดบ้าง และจะป้องกันอย่างไร?

อ่านเพิ่ม