กองบรรณาธิการ HD
เขียนโดย
กองบรรณาธิการ HD

การดื่มชา กับผลที่เกิดต่อร่างกายของเรา

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
การดื่มชา กับผลที่เกิดต่อร่างกายของเรา

พูดถึงเครื่องดื่มที่คนไทยเรานิยมดื่มกันในทุกๆวัน ไม่ว่าจะเป็นตอนเช้าหรือตอนไหนก็หนีไม่พ้นกับการดื่มชา เราเริ่มต้นจากการที่ดื่มชาร้อนมาจากตามสไตล์ของคนจีนที่มาตั้งรกรากในประเทศไทยตั้งแต่สมัยโบราณ จนกระทั่งในภายหลังก็เริ่มที่จะเข้าสู่ยุคของการที่ ชาเขียว ซึ่งเป็นชาสูตรต้นตำรับจากประเทศญี่ปุ่น เข้ามาตีตลาดในเมืองไทยแล้วก็ได้รับความนิยมอย่างมากทั้งในลักษณะของชาร้อนและชาเย็นเลยนั่นเอง แต่ว่าการที่เราดื่มน้ำชานั้น มันจะมีผลอย่างไรบ้างต่อร่างกายของคนเรา

ประโยชน์ที่ได้จากสารอาหารของชาที่ดื่ม

น้ำชานั้นจัดว่าเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อสุขภาพอย่างมากเช่นกัน เพราะว่าส่วนประกอบของน้ำชานั้นจัดว่ามีประโยชน์อย่างมากเลยทีเดียว อย่างเช่น การที่น้ำชานั้นอัดแน่นไปด้วยวิตามินประเภท วิตามิน B C และ E เข้าขั้นเกือบครบเครื่องเลยนั่นเอง และนอกจากนี้ คนที่มีปัญหาเรื่องผิวพรรณ มีสิว ฝ้า ถ้าหากว่าได้ดื่มน้ำชาก็จะช่วยได้อย่างมากกับการบำรุงผิว เพราะในน้ำชานั้นมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่ อย่างเช่น คาเทชิน ที่มีส่วนสำคัญในการใช้ในการดื่มเพื่อลดความอ้วนได้ ผสมอยู่ในใบชา มันจะสามารถช่วยในเรื่องการย่อยสลายไขมัน ลดไขมันได้เป็นอย่างดี หรือจะเป็น อีพิกัลโลคาเทชินกัลป์เลต ที่เป็นฟันเฟืองสำคัญในการทำให้ร่างกายของคุณแข็งแรงและปราศจากอาการป่วยอีกด้วย ยิ่งถ้าดื่มตอนเป็นชาร้อนจะยิ่งช่วยได้มากอีกด้วย

ดื่มชามากไปก็เป็นโรคนิ่วได้

เรื่องแบบนี้หลายคนที่ดื่มชาอาจจะไม่เชื่อเช่นกัน แต่มันเป็นเรื่องจริง เพราะว่าในใบชานั้น มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า อ๊อกซาเลต มาก และมันสามารถที่จะเข้าไปอุดตันอยู่ภายในไตของเราได้ ซึ่งถ้าหากกินเข้าไปบ่อยๆ การจะเกิดโรคนิ่วก็ไม่ใช่เรื่องแปลก และนอกจากนี้แล้ว มันไม่ได้เกิดขึ้นแค่การดื่มชาเขียว แต่การดื่มชานม ชาไข่มุก มันสามารถทำให้คุณเป็นนิ่วได้ หรือกระทั่งการที่คุณจะกลายเป็นโรคอ้วน เพราะปริมาณน้ำตาลภายในชาเขียวหรือชานมที่มีปริมาณมากนั่นเอง

ดื่มชาป้องกันมะเร็งได้จริงหรือไม่?

จากการค้นคว้านั้นระบุไว้ว่า ภายในใบชาเชียวนั้น มีสารชนิดหนึ่งที่เป็นทั้งสารต่อต้านอนุมูลอิสระ และยังเป็นสารที่มีคุณสมบัติในด้านการสกัดการเกิดเชื้อมะเร็งได้อีกด้วย แต่ทว่า สิ่งที่เราต้องคิดตามคือ เราต้องกินชาให้ได้ในระดับไหน ถึงจะสามารถต่อต้านการเกิดโรคมะเร็งได้ จากการคำนวณคร่าวๆนั้น ถ้าหากเป็นชาเขียวญี่ปุ่น เราจะต้องดื่มชาเขียวประมาณวันละ 20 แก้วต่อวัน ซึ่งแน่นอนว่าการดื่มชาเขียวให้ได้ระดับนั้น เป็นไปได้ยากอย่างแน่นอน เราจึงกินให้ได้ในปริมาณที่พอเหมาะก็พอแล้ว

ทำไมดื่มชาแล้วใจสั่น?

เป็นคำถามที่น่าแปลกใจมากเช่นกันสำหรับคนที่ดื่มชาเข้าไปแล้วรู้สึกเหมือนตัวเองใจสั่น ทั้งๆที่ไม่ได้ดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มชูกำลัง ทำไมเป็นเช่นนั้น ก็เพราะว่าในใบชานั้นก็เป็นอีกหนึ่งเครื่องดื่มที่มีปริมาณของ คาเฟอีนอัดแน่นอยู่ภายในอีกด้วยนั่นเอง จากการคำนวณแล้วนั้นในใบชามีคาเฟอีนที่มีปริมาณค่อนข้างสูงกว่ากาแฟเสียด้วยซ้ำ ยิ่งไปกว่านั้น คนที่ดื่มชาแล้วมีอาการเครียดหรือกังวล วิตกในเรื่องอะไรบางอย่างอยู่นั้น ถ้าจะใจสั่นหนักกว่าเดิมก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะคุณกำลังโดนคาเฟอีนจากชาเขียวนั้นเล่นงานคุณอยู่นั่นเอง

แล้วนี่ก็คือข้อเท็จจริงว่าคุณดื่มชาเข้าไปแล้วจะเป็นอย่างไรกับร่างกายคุณ ดื่มให้พอเหมาะกับร่างกายก็เพียงพอที่สุดแล้ว


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Black tea: Benefits, nutrition, diet, and risks. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/292160)
Tea and Health: Studies in Humans. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4055352/)
Side Effects of Tea: 9 Reasons Not to Drink Too Much. Healthline. (https://www.healthline.com/nutrition/side-effects-of-tea)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป