บริจาคอวัยวะหรือบริจาคร่างกายต้องทำอย่างไรบ้าง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
บริจาคอวัยวะหรือบริจาคร่างกายต้องทำอย่างไรบ้าง

การเสียชีวิตเป็นเรื่องธรรมชาติที่มนุษย์ทุกคนไม่สามารถฝืนหรือหลีกเลี่ยงได้ และในชีวิตของมนุษย์ทุกคนก็ไม่สามารถนำอะไรติดตัวไปได้แม้แต่ร่างกายของตนเอง นอกจากการทำความดีสะสมไว้ให้มากที่สุดก่อนเสียชีวิต ดังนั้นการบริจาคอวัยวะและบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษาสำหรับนิสิตหรือนักศึกษาแพทย์ นับว่าเป็นการทำบุญครั้งใหญ่ครั้งสุดท้ายในชีวิต ก่อนที่ร่างกายของเราจะสูญสลายไปจากโลกใบนี้   

 การบริจาคอวัยวะและบริจาคร่างกายติดต่อได้ที่ใดบ้าง

การบริจาคอวัยวะและบริจาคร่างกายสามารถทำได้ทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่ต่างจังหวัดหรือกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยสามารถสอบถามได้ที่

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

  • โรงพยาบาลศิริราช
  • ศาลาทินทัต โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย หรือติดต่อที่ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในวันและเวลาราชการ
  • โรงเรียนการแพทย์ เช่น ม.เชียงใหม่ ม.ขอนแก่น ม.สงขลานครินทร์

 การบริจาคอวัยวะต้องทำอย่างไร

  • คุณสมบัติผู้ที่ต้องการบริจาคอวัยวะ (ของสภากาชาดไทย)
  • ขั้นตอนการบริจาคอวัยวะ
  • เอกสารที่ใช้สมัคร (เฉพาะที่สภากาชาดไทย)
  • ต้องมีอายุไม่เกิน 60 ปี
  • เสียชีวิตจากสภาวะสมองตายด้วยสาเหตุต่างๆ
  • ไม่เป็นโรคติดเชื้อ โรคมะเร็ง และโรคเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต โรคความดันโลหิตสูง โรคตับ และการติดสุราเรื้อรัง
  • อวัยวะที่จะนำไปปลูกถ่ายต้องทำงานได้ดี
  • ปราศจากเชื้อโรคที่สามารถถ่ายทอดได้ทางการปลูกถ่ายอวัยวะอย่างเช่นโรคไวรัสตับอักเสบบีและโรคเอดส์ เป็นต้น

กรอกข้อมูลแสดงความจำนงให้ครบถ้วนและส่งไปรษณีย์ไปยังศูนย์ที่รับบริจาค เมื่อศูนย์ได้รับใบแสดงความจำนงแล้วจะส่งบัตรประจำตัวสำหรับพกติดตัว พอเราได้รับบัตรแล้วให้กรอกชื่อและรายละเอียดอย่างครบถ้วนและเก็บบัตรพกติดตัวไว้ หากทำหายให้ติดต่อที่ศูนย์รับบริจาค

สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ (ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง)

 การบริจาคร่างกายต้องทำอย่างไร

  • คุณสมบัติผู้ที่ต้องการบริจาคร่างกาย (เฉพาะที่สภากาชาดไทย)
  • ขั้นตอนการบริจาคร่างกาย
  • เอกสารที่ใช้สมัคร (เฉพาะที่สภากาชาดไทย)
  • การส่งมอบศพของผู้บริจาคร่างกายให้กับโรงพยาบาลที่รับบริจาค (เฉพาะที่สภากาชาดไทย)
  • ไม่เป็นโรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคเอดส์ โรคไวรัสตับอักเสบบี โรควัณโรค โรคพิษสุนัขบ้า
  • ไม่เป็นผู้พิการแขนหรือขาลีบ คด งอจนเสียรูป
  • ไม่เคยผ่าตัดจนสูญเสียอวัยวะสำคัญไป
  • ไม่เจ็บป่วยที่เกิดมาจากอุบัติเหตุ
  • ไม่มีคดีติดตัวหรือเกี่ยวข้องกับคดี
  • หากมีอายุต่ำกว่า 17 ปี จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ปกครองเป็นลายลักษณ์อักษร จึงจะสามารถเป็นผู้บริจาคได้

ให้ติดต่อโรงพยาบาลที่ต้องการบริจาคร่างกายเพื่อขอแบบฟอร์ม เมื่อกรอกแบบฟอร์มเรียบร้อยแล้ว ให้ส่งไปตามที่อยู่ของโรงพยาบาลได้เลย เวลากรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการบริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา จะต้องกรอกด้วยตัวบรรจง ระบุเบอร์โทรที่ติดต่อได้สะดวกให้เรียบร้อย

เมื่อทางโรงพยาบาลที่รับบริจาคได้รับเอกสารเรียบร้อยแล้ว ก็จะออกบัตรประจำตัวให้ผู้ที่ต้องการบริจาคร่างกายสำหรับเก็บไว้เป็นหลักฐาน พอผู้บริจาคร่างกายเสียชีวิตแล้ว ทางทายาทยังสามารถคัดค้านการมอบศพให้แก่โรงพยาบาลที่รับบริจาค และสามารถนำศพไปประกอบพิธีทางศาสนาได้โดยไม่มีความผิดทางกฎหมาย อีกทั้งทางโรงพยาบาลก็ไม่สามารถเรียกร้องใดๆ จากร่างกายผู้บริจาคได้ทั้งสิ้น

สำเนาบัตรประชาชน 1 ใบ (ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้อง)

เมื่อผู้บริจาคร่างกายเสียชีวิตแล้ว โรงพยาบาลจะจัดเจ้าหน้าที่ไปรับร่างผู้เสียชีวิต เฉพาะผู้บริจาคร่างกายที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลคือ นนทบุรี สมุทรปราการ ปทุมธานี สมุทรสาคร และนครปฐม (บางอำเภอ) เท่านั้น

แต่ถ้าผู้บริจาคร่างกายอยู่ต่างจังหวัด ต้องให้ทางทายาทผู้บริจาคนำศพบรรจุในหีบเย็นและใช้ถุงน้ำแข็งอย่างน้อย 2 ถุง วางไว้บนหน้าท้องของศพผู้ที่บริจาคร่างกายด้วย แล้วนำมาส่งที่ฝ่ายกายวิภาคศาสตร์ ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่มาตรวจดู หากร่างกายของผู้บริจาคไม่สามาถนำมาใช้ศึกษาตามวัตถุประสงค์ได้ ทางโรงพยาบาลก็จะให้ทางญาตินำกลับไปประกอบพิธีทางศาสนาตามปกติ

 การบริจาคอวัยวะและบริจาคร่างกายนับว่าเป็นการทำบุญที่ให้ประโยชน์กับผู้ได้รับเป็นอย่างสูง ซึ่งเป็นการต่อชีวิตให้กับผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ รวมทั้งให้ความรู้แก่นักศึกษาแพทย์ที่จะจบออกมาสร้างประโยชน์ให้กับบุคคลทั่วไปและประเทศชาติ จึงเป็นการทำบุญที่ได้บุญใหญ่อย่างมากมายจนประเมินค่าไม่ได้เลยทีเดียว


2 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Organ donation: Don't let these myths confuse you. Mayo Clinic. (https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/consumer-health/in-depth/organ-donation/art-20047529)
How to Donate Your Organs or Body to Science. Verywell Health. (https://www.verywellhealth.com/donate-organs-tissue-or-body-2615086)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)