แม่ที่กำลังให้นมลูกควรดื่มน้ำมากแค่ไหน ?

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 2 นาที
แม่ที่กำลังให้นมลูกควรดื่มน้ำมากแค่ไหน ?

คำถาม: การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยให้แม่ผลิตน้ำนมได้มากขึ้นหรือ ?  ฉันสงสัยว่าแม่ที่กำลังให้นมลูกควรดื่มน้ำมากแค่ไหน การดื่มน้ำอย่างเพียงพอจะทำให้สร้างน้ำนมได้มากขึ้นหรือไม่ ?
คำตอบ: การแน่ใจว่าแม่ที่กำลังให้นมลูกดูแลตัวเองได้ดีนั้นเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งรวมถึงการดื่มน้ำอย่างเพียงพอด้วย ปัญหาคือโดยทั่วไปแม่มักจะยุ่งจนพวกเธอก็ลืมไปว่ากำลังกระหายน้ำ ทำให้ร่างกายเริ่มขาดน้ำ  แน่นอนว่านั่นเป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง

แม่ที่กำลังให้นมลูก (และคนอื่น ๆ ทุกคน) ควรแน่ใจว่าพวกเขาได้รับสารน้ำอย่างเพียงพอโดยการดื่มน้ำเป็นประจำ สัญญาณเตือนเบื้องต้นของการขาดน้ำมีทั้งอาการปากแห้ง ปัสสาวะสีเข้ม ท้องผูก มึนงง ปวดหัว และกล้ามเนื้ออ่อนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงการขาดน้ำ ฉันสนับสนุนให้แม่พกขวดน้ำติดตัว ใส่ไว้ในกระเป๋าผ้าอ้อมเมื่อคุณออกไปข้างนอก และพยายามอย่างดีที่สุดที่จะรับรู้ระดับความกระหายน้ำของตนเอง ฉันยังสร้างเป็นกฎว่าให้ตั้งน้ำไว้หนึ่งแก้วก่อนที่จะนั่งลงให้นมลูก เพื่อให้มีน้ำอยู่ใกล้ ๆ และการขอให้คู่ของคุณช่วยให้คุณได้รับน้ำอย่างเพียงพอก็เป็นความคิดที่ดี

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

แม่ที่กำลังให้นมลูกควรดื่มน้ำในปริมาณเท่าไหร่ ?

โชคดีที่คำตอบนี้ง่าย คุณไม่จำเป็นต้องการอะไรเป็นพิเศษในฐานะแม่ที่กำลังให้นมลูกเลย ตราบใดก็ตามที่คุณได้รับน้ำอย่างเพียงพอ โดยพื้นฐานแล้วหากคุณไม่รู้สึกกระหายน้ำ ก็ถือเป็นเรื่องดี และแน่นอน ให้ความสนใจกับปัสสาวะของคุณในฐานะตัวติดตามที่ดีของระดับน้ำในร่างกายของคุณ ยิ่งเจือจางมากเท่าใดคือมีน้ำในร่างกายมากกว่า การทบทวนศึกษาเรื่องสารน้ำและการให้นมบุตรในปี 2014 พบว่า ไม่จำเป็นที่แม่ที่กำลังให้นมลูกจะต้องดื่มอะไรก็ตามที่นอกเหนือไปกว่าสิ่งที่ “เพียงพอในทางชีววิทยา” สำหรับพวกเขา

การดื่มน้ำเพิ่มขึ้นจะช่วยเพิ่มน้ำนมหรือไม่ ?

บางครั้งคุณอาจได้ยินผู้คนพูดว่า แม่ที่กำลังให้นมลูกต้องดื่มน้ำมากเป็นพิเศษเพื่อเพิ่มหรือรักษาระดับน้ำนมไว้

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้หญิงสุขภาพดีส่วนใหญ่ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องดื่มน้ำเพิ่มเป็นพิเศษ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นไม่ได้มีผลต่อการสร้างน้ำนมเลย (ถึงแม้ว่าการได้รับน้ำไม่เพียงพอจะลดการสร้างน้ำนมก็ตาม) อย่างไรก็ตาม หากคุณกังวลเรื่องน้ำนมของคุณ อย่าเพิ่งวิตกไป เนื่องจากมีหลายทางที่คุณสามารถทำได้เพื่อกระตุ้นการสร้างน้ำนม

สารน้ำชนิดอื่น ๆ จะส่งผลต่อน้ำนมแม่หรือไม่ ?

สรุป: น้ำเปล่าดีต่อคุณ มันไม่มีน้ำตาล คาเฟอีน หรือแคลอรี่เพิ่มเติม มีมากเพียงพอและหาได้ง่ายอีกด้วย สามารถดื่มอุ่น ๆ หรือเย็นก็ได้ และไม่ทำให้เกิดคราบเปื้อนเมื่อหก ยังไม่ต้องกล่าวว่าขวดน้ำใหม่ ๆ ทำให้คุณดูทันกระแสอีกด้วยนะ

เห็นได้อย่างชัดเจนว่าน้ำเป็นทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ แต่สำหรับผู้หญิงสุขภาพดี แนวคิดที่ว่าต้องเป็นน้ำเท่านั้น และไม่มีอะไรอย่างอื่นอีกนั้นไม่จริง ยังมีทางเลือกอื่น ๆ ของของเหลวอีกพอควร ตั้งแต่น้ำผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการจนถึงชาที่ทำให้คุณผ่อนคลาย สิ่งเหล่านี้จะทำให้คุณได้รับน้ำเช่นกัน

แล้วแอลกอฮอล์กับการให้นมลูกล่ะ ?

มีความเข้าใจผิดมากมายเกี่ยวกับการดื่มแอลกอฮอล์ แม้ว่าการดื่มเบียร์เป็นครั้งคราวหรือไวน์หนึ่งแก้วจะเป็นสิ่งดี แต่ที่ค้านกับเรื่องเล่าของหมอตำแยเก่า ๆ คือ การดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้เร่งน้ำนม แต่ยังไปยับยั้งกลไกการตอบสนองของการหลั่งน้ำนม (letdown reflex) ด้วยซ้ำ ดังนั้น หากแม่เป็นกังวลเรื่องน้ำนม การหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์จึงเป็นเรื่องที่ดีที่สุด


10 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Why can’t we give water to a breastfeeding baby before the 6 months, even when it is hot?. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/features/qa/breastfeeding/en/)
How to Stay Hydrated When You Are Breastfeeding. Verywell Family. (https://www.verywellfamily.com/does-drinking-more-water-affect-breastfeeding-284285)
Alcohol and breast-feeding: Is it safe and how does it affect baby?. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/322631)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)