โรคต่างๆ ที่เกิดกับรังไข่ ผู้หญิงต้องระวัง

เผยแพร่ครั้งแรก 28 มี.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
โรคต่างๆ ที่เกิดกับรังไข่ ผู้หญิงต้องระวัง

ผู้หญิงนั้นมีซึ่งหนึ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากนั่นก็คือ ระบบในร่างกายอย่าง รังไข่เพราะเป็นส่วนที่สำคัญมากเพราะจะใช้ในการสืบพันธุ์ ดังนั้นแน่นอนเลยว่าต้องเป็นส่วนที่ผู้หญิงนั้นจะต้องดูแลบำรุงและรักษาให้เป็นอย่างดีที่สุด เพราะถ้าหากว่าเกิดความผิดปกติเพียงเล็กน้อยนั้นแน่นอนว่าจะส่งผลเป็นอย่างมาก และไม่ใช่เพียงแค่ระบบเดียวกันนั้น แต่ยังมีการส่งผลกันไปถึงระบบอวัยวะอื่นๆในร่างกาย เพราะฉะนั้นเราจึงควรจะรู้กันสำหรับผู้หญิงว่ามีโรคร้ายใดบ้างที่อาจจะแอบแฝงมากับความผิดปกติของรังไข่

ดังนั้นที่เราจะมานำเสนนั้นจะเป็นโรคที่เกิดได้จากรังไข่ พร้อมกับอาการต่างๆที่จะเกิดขึ้น และควรที่จะสังเกตเมื่อมีความรู้สึกถึงความผิดปกติภายในร่างกาย และสำหรับอย่าสุดท้ายเลยนั้นก็จะเป็นเรื่องของวิธีการดูแลรักษาโรคที่เกิดขึ้นนั่นเอง ซึ่งโรคร้ายเหล่านั้น มีดังนี้

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ถุงน้ำในรังไข่

โรค PCOS อาจจะไม่ค่อยได้ยินกันบ่อยๆ แต่ถ้าพูดถึงโรคถุงน้ำหลายๆคนอาจะรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่อาจจะยังไม่ทราบว่าเป็นยังไง ซึ่งสำหรับโรคนี้สามารถที่จะตรวจพบได้แค่การตรวจเลือดเท่านั้น เนื่องจากโรคนี้นั้นจะเกิดจากภาวะของการดื้ออินซูลิน แต่ใช่ว่าจะมีเพียงสาเหตุนี้เพราะยังรวมไปถึงการใช้ยาคุมกำเนิด การเสียหายของฮอร์โมน หรือจะเป็นการที่ร่างกายนั้นขาดวิตามินดี และยังสามารถที่จะเกิดจากเหล่าแบคทีเรียที่อยู่ในลำไส้ที่ส่งผลไปถึงโปรตีนของฮอร์โมนนั่นเอง โดยอาการก็จะมีดังนี้

อาการของโรค

เป็นอาการที่ไม่รุนแรง หรือจะบอกว่าเป็นอาการทั่วๆไป ถ้าหากว่าไม่ใช่คนช่างสังเกตจริงๆก็จะไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้ อาการทั่วไปก็คือการที่มีขนขึ้นบริเวณใบหน้าและมีสิวขึ้นบริเวณใบหน้ามากกว่าปกติ และยังมีอาการผมร่วง รอบเดือนมาผิดปกติด้วยนั่นเอง โดยอาการเหล่านี้จะเห็นได้บ้างในครั้งที่เป็นรอบเดือน แต่ไม่สามารถที่จะรักษาอาการให้หายขาดได้

การรักษา

ทำได้จากการใช้ยาปรับระดับฮอร์โมน เพื่อที่จะทำการปรับระดับฮอร์โมนให้มีการกลับคืนสู่ภาวะปกติแต่คุณจะต้องมีการควบคุมน้ำหนักและหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อป้องกันการเกิดซ้ำของโรค และคุณควรจะคบคุมในการทาอาหารจำพวกแป้งและไขมัน

ซีสต์ในรังไข่

อาจจะเป็นส่วนที่น่ากลัวกันสักเล็กน้อยในเรื่องของซีสต์รังไข่ เพราะซีสต์นั้นจะเป็นถุงน้ำที่มีส่วนประกอบของเส้นขน เส้นผมหรืออาจจะเป็นไขมันก็ได้ ซึ่งจะไม่กลายเป็นมะเร็งอย่างแน่นอน สามารถที่จะตรวจพบได้จากการไปอัลตราซาวด์เท่านั้น ซึ่งก็จะมีซีสต์แบบธรรมดาและช็อคโกแล็ตซีสต์

อาการของโรค

ในส่วนของอาการนั้นมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่จะออกอาการมาให้เห็น แต่แน่นอนว่าจะไม่มีอาการอะไรมากมายย่างเช่นการปวดหน่วงๆ ปัสสาวะบ่อยๆ หรือการที่รอบเดือนนั้นมาผิดปกติ

การรักษา

ในส่วนของการรักษานั้นอาจจะไม่จำเป็นเพราะไม่ได้อันตรายอะไรมากมาย จึงไม่จำเป็นที่จะต้องรักษา แต่ถ้าขนาดของซีสต์นั้นเมื่อปรึกษากับหมอแล้วว่ามีขนาดที่ใหญ่ไป หมอจะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อที่จะเอาออกนั่นเอง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
หมดปัญหาเหงื่อออกมากที่มืออย่างถาวร รักษาแล้วมือแห้ง ชีวิตง่ายขึ้น!

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / เบิกประกันได้ / ผ่อน 0% ได้ / ปรึกษาหมอก่อนผ่าตัดได้ไม่จำกัดครั้ง

มะเร็งรังไข่

เป็นโรคที่มักจะพบได้เป็นอันดับต้นๆของผู้หญิงไทย แต่มักจะเกิดกับผู้หญิงที่มายุ 55 ปีขึ้นไป สำหรับผู้หญิงที่มีความเสี่ยงนั้นก็จะเป็นผู้หญิงที่มีประวัติว่าเคยมีครอบครัวมาแล้ว หรือจะเป็นประวัติของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ หรือโรคมะเร็งเต้านม และแน่นอนว่าสำหรับผู้หญิงที่เป็นโรคอ้วนนั้นก็มีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน สามารถที่จะตรวจพบได้จากการที่อัลตราซาวด์และการทำซีทีแสกน

อาการของโรค

โดยอาการจะเริ่มจากการเบื่ออาหาร มีน้ำหนักตัวที่ลดลง อีกทั้งยังมีการท้องอืดเป็นประจำ และเมื่อไหร่ที่ก้อนเนื้อนั้นเริ่มใหญ่ขึ้นนั่นก็จะไปเบียดกับกระเพาะปัสสาวะจนทำให้มีอีกหนึ่งอาการนั่นก็คือการที่ปวดปัสสาวะบ่อยๆ และถ้าอยู่ในส่วนของการแพร่กระจายนั้นก็จะทำให้ดูอ้วนมากยิ่งขึ้น จนรวมไปถึงการที่ร่างกายมีการผลิตฮอร์โมนที่ผิดปกติมาก อย่างการที่จะมีหนวดหรือจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ชายมากยิ่งขึ้นนั่นเอง แต่สำหรับบางรายนั้นอาจจะไม่มีอาการใดๆเหล่านี้เกิดขึ้นเลยก็ได้

การรักษา

โดยการรักษานั้นจะขึ้นอยู่กับระยะของมะเร็งที่เกิดขึ้น ซึ่งก็จะมีการผ่าตัด การฉายรังสี และการทำเคมีบำบัด โดยสำหรับการผ่าตัดแล้วนั้นก็จะต้องมีการทำเคมีบำบัดควบคู่กันไปด้วย ดังนั้นเพื่อควบคุมการกระจายตัวที่ดีที่สุดนั้นก็คือจะต้องมีการติดตามผลอาการที่จะเกิดขึ้นของอาการอย่างใกล้ชิด

ดังนั้นก่อนที่จะเป็นโรคที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนั้น ผู้หญิงจะต้องมีการหมั่นดูแลสุขภาพร่างกายต่างๆให้แข็งแรง และรักษาสุขอนามัยต่างๆนั้นอย่างดี โดยการที่หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยไม่มีการขาดตกบกพร่องแต่อย่างใด และควรที่จะรับประทานอาหารให้ครบห้าหมู่ และคัดสรรอาหารที่มีประโยชน์กับร่างกาย และจะพลาดไม่ได้สำหรับการดูแลจุดซ่อนเร้น ซึ่งต้องดูแลและเลือกสิ่งต่างๆให้เหมาะสม และแน่นอนว่าที่ผิดพลาดไม่ได้นั้นก็คือการคอยสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตัวเอง


5 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Ovary pain: 7 causes. Medical News Today. (https://www.medicalnewstoday.com/articles/320408)
Common Reproductive Health Concerns for Women. Centers for Disease Control and Prevention (CDC). (https://www.cdc.gov/reproductivehealth/womensrh/healthconcerns.html)
Long term health consequences of polycystic ovarian syndrome: a review analysis. National Center for Biotechnology Information. (https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2683463/)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป