ความสำคัญของการมีระบบย่อยอาหารที่ดีในเด็ก

เผยแพร่ครั้งแรก 21 ม.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความสำคัญของการมีระบบย่อยอาหารที่ดีในเด็ก

การมีระบบย่อยอาหารที่ดีเป็นสิ่งที่จำเป็นในการมีสุขภาพที่ดี อาหารที่เรารับประทานเข้าไปจะถูกย่อยออกเป็นชิ้นเล็กๆ และสารอาหารหลายชนิดภายในอาหารเหล่านั้นจะถูกร่างกายดูดซึม ทุกๆ การทำงานของร่างกายต้องการคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินเกลือแร่และสารอาหารอื่นๆ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างราบรื่นและเหมาะสม ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ทั้งหมดล้วนมาจากอาหารที่กินและถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายผ่านทางระบบย่อยอาหาร

กระบวนการย่อยอาหารในเด็ก


กระบวนการย่อยอาหารเป็นกระบวนการที่ขึ้นแร่ธาตุ วิตามินและเอนไซม์ย่อยอาหารหลายชนิด หากไม่ได้รับสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสมตามความต้องการของร่างกายก็จะทำให้ระบบการทำงานของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้เกิดอาการไม่สบายท้องหรือมีสุขภาพไม่แข็งแรงเท่าที่ควรได้ในทุกช่วงอายุ หากร่างกายมีระบบอาหารที่ไม่ดีและไม่สามารถดูดซึมสารอาหารได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ร่างกายที่กำลังเจริญเติบโตของเด็กยิ่งจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารมากกว่าผู้ใหญ่โดยทั่วไป โดยหากไม่ได้รับโปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุในปริมาณที่เหมาะสมแล้วนั้น อาจทำให้ร่างกายของเด็กเจริญเติบโตได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งส่วนที่ไม่สามารถเจริญได้เต็มที่นี้อาจกลายเป็นจุดอ่อนของเด็กได้ต่อไป เช่น หากกระดูกของเด็กไม่แข็งแรงเท่าที่ควรเป็นอาจเกิดการหักหรือแตกได้ง่ายกว่าเด็กคนอื่นที่กระดูกแข็งแรงกว่า หรือหากระบบประสาททำงานได้ไม่เต็มที่ อาจทำให้พวกเขามีปัญหาเกี่ยวกับสมาธิ การอ่านหรือปัญหาทางอารมณ์อื่นๆ

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้จากการที่ร่างกายที่กำลังเจริญเติบโตไม่สามารถย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการทำงานมีได้มากมายนับไม่ถ้วน

การที่ระบบย่อยอาหารไม่ดีอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัว เด็กโตอาจสังเกตได้ว่าอาการดังกล่าวเกิดจากที่ไหนและสามารถบอกเล่าให้คนอื่นฟังและขอความช่วยเหลือได้ แต่ในเด็กเล็กอาจจะเพียงแค่รู้สึกแต่ไม่รู้วิธีการที่จะกับผู้อื่นได้เข้าใจว่าอะไรกำลังรบกวนพวกเขาอยู่ ความรู้สึกไม่สบายเหล่านี้อาจส่งผลต่อกิจวัตรประจำวันและอารมณ์และอาจขัดขวางการมีชีวิตที่ดีของพวกเขาได้อย่างรุนแรง

ร่างกายของเรามีการหลั่งสารที่เรียกว่าสารสื่อประสาทซึ่งทำให้มีอารมณ์ที่ดีและมีความสุข สารสื่อประสาทเหล่านี้ส่วนใหญ่สร้างขึ้นที่ทางเดินอาหาร ดังนั้นหากระบบย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดี ร่างกายก็ไม่สามารถสร้างสารสื่อประสาทเหล่านี้ได้ดีเท่าที่ควรและอาจทำให้เกิดความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น โรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้าได้ มีงานวิจัยที่นำโดย Eduardo Vianna ที่ศึกษาการตอบสนองทางอารมณ์ในกลุ่มคนที่มีปัญหาทางระบบย่อยอาหารและพบว่าการตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ไม่ดีนั้นเพิ่มขึ้นในผู้ที่มีอาการของระบบทางเดินอาหารกำเริบขึ้น

มีการประมาณว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายประมาณ 50-80% มาจากทางเดินอาหาร การที่ระบบย่อยอาหารของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ทำให้ร่างกายมีแนวโน้มในการเกิดการติดเชื้อจากแบคทีเรีย ไวรัส เชื้อราหรือปรสิตที่ทำให้ป่วยหรือขัดขวางการทำงานของร่างกายได้มากขึ้น การที่มีทางเดินอาหารที่ดีจะป้องกันการเป็นหวัด ไข้หวัดใหญ่และการเจ็บป่วยจากเชื้อจุลชีพอื่นๆ

มีแบคทีเรียชนิดที่ดีหลายสายพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในทางเดินอาหารและจุลชีพเหล่านี้จำเป็นต่อระบบภูมิคุ้มกัน การให้ยาปฏิชีวนะจะช่วยให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อแบคทีเรียได้ แต่ยาเหล่านี้ส่วนใหญ่ก็ทำให้เกิดการทำลายแบคทีเรียชนิดที่ดีซึ่งจำเป็นต่อระบบภูมิคุ้มกันที่อยู่ภายในระบบย่อยอาหารเช่นกัน ยาปฏิชีวนะที่อยู่ในอาหารยังอาจทำให้เกิดการเสียสมดุลของชุลชีพภายในทางเดินอาหารอีกด้วย ในปัจจุบันมีการศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดีเหล่านี้และมีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เริ่มใส่ใจป้องันแบคทีเรียสายพันธุ์ที่ดีภายในทางเดินอาหารทั้งของตนและของเด็ก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ดีขึ้น

หากมีระบบย่อยอาหารเกิดความบกพร่องควรมองหาแนวทางการรักษาอื่นเพื่อให้หายได้เร็วขึ้น โดยขั้นตอนแรกในการช่วยให้ทางเดินอาหารมีการหายเริ่มจากการช่วยลดการอักเสบของเนื้อเยื่อบุในทางเดินอาหาร มักเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของ okra ที่จะช่วยเคลือบและลดการระคายเคืองของเนื้อเยื่อและเริ่มกระบวนการหายของเนื้อเยื่อภายในทางเดินอาหาร ขั้นตอนต่อไปมักเป็นการใช้เอนไซม์ในการย่อยอาหาร วิตามิน B และ E ร่วมกับแร่ธาตุ กระบวนการหายที่อาจต้องใช้เวลา แต่การมีระบบย่อยอาหารที่ดีนั้นก็จำเป็นต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีและคุ้มค่ากับความพยายาม


3 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
health.harvard.edu, Digestive Health (https://www.health.harvard.edu/topics/digestive-health)
Jennifer Warner, Mom, My Belly Hurts: Common Digestive Issues in Children (https://www.everydayhealth.com/digestive-health/mom-my-belly-hurts-common-digestive-issues-in-children.aspx)
Jessica Timmons, 7 of the Best Probiotics That Are Safe for Kids (https://www.healthline.com/health/food-nutrition/probiotics-for-kids) 16 April 2019

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)