ความเห็นขององค์กรนักกำหนดอาหาร (dietitian) เกี่ยวกับไขมันอิ่มตัว เกลือ และคาร์โบไฮเดรต

องค์กรโภชนาการและการกำหนดอาหารให้ความเห็นเกี่ยวกับแนวทางที่ประกาศในปี 2015
เผยแพร่ครั้งแรก 5 ต.ค. 2017 อัปเดตล่าสุด 17 พ.ย. 2020 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที
ความเห็นขององค์กรนักกำหนดอาหาร (dietitian) เกี่ยวกับไขมันอิ่มตัว เกลือ และคาร์โบไฮเดรต

ในขณะนี้เป็นเดือนพฤษภาคม ปี 2015 และองค์กรหลายแห่งก็ตอบสนองต่อแนวทางโภชนาการฉบับปี 2015 สำหรับชาวอเมริกัน แนวทางดังกล่าวจะควบคุมอาหารที่ให้กับนักเรียนในโรงเรียนและการสอนเกี่ยวกับโภชนาการ เช่นเดียวกับการแนะนำประชาชนในเรื่องการกิน พวกเขาจะปรับปรุงแนวทางดังกล่าวทุกห้าปี

เป็นเรื่องน่าสนใจสำหรับฉันที่จะเรียนรู้ว่าเราทำตามหลักการที่ผู้เขียนและผู้วิจัยเรื่องคาร์โบไฮเดรตต่ำได้พูดถึงไว้นานแล้ว รวมถึงการค้นพบว่าสื่อและองค์กรต่าง ๆ ตอบสนองอย่างไรบ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

ฉันเคยเขียนถึงการเปลี่ยนแปลงที่ประกาศเกี่ยวกับคอเลสเตอรอล (ไม่มีข้อจำกัดอีกต่อไป ! ) และน้ำตาล (แนะนำให้มีการจำกัด แต่ไม่มากเท่ากับที่ทาง AHA และ WHO แนะนำไว้)

องค์กรโภชนาการและการกำหนดอาหาร (ที่ฉันจะเรียกแค่ “องค์กร”) เป็นองค์กรผู้เชี่ยวชาญหลักของนักกำหนดอาหารและผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ คำแนะนำของพวกเขามักจะเป็นไปตามแนวทางที่กำหนดโดยองค์กรแนะนำทางโภชนาการ (Dietary Guidelines Advisory Committee-DGAC) พวกเขาจะไม่แนะนำนอกเหนือไปจากหลักฐานที่เห็นได้ชัด และยังมีข้อวิจารณ์ที่น่าสนใจเกี่ยวกับแนวทางที่ได้ประกาศออกมาแล้ว ฉันจะไม่พูดถึงข้อวิจารณ์ทั้งหมด แต่คุณสามารถหาอ่านได้เองหากสนใจ ฉันจะกล่าวถึงแค่บางหัวข้อที่ทำให้ฉันสนใจเพราะว่าค่อนข้างน่าประหลาดใจสำหรับองค์กรหลักทางโภชนาการ แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ฉันและผู้เขียนที่สนับสนุนเรื่องคาร์โบไฮเดรตต่ำได้พูดมาหลายปีแล้ว

แน่นอนว่ารายงานดังกล่าวมีการชื่นชม DGAC เช่นกัน ไม่มีประโยชน์ที่จะไปกีดกันพวกเขาหรอก

ไขมันอิ่มตัวและคาร์โบไฮเดรต

การประชุมเรื่องแนวทางใหม่ของคอเลสเตอรอลของ DGAC (ที่ไม่จำกัดปริมาณคอเลสเตอรอลในอาหาร) “ได้รับการยกย่อง” และแนะนำการปรับปรุงที่คล้าย ๆ กันสำหรับแนวทางของไขมันอิ่มตัว

การประชุมนี้พูดถึงเรื่องที่ว่า “diet-heart hypothesis” ไม่มีหลักฐานสนับสนุน ทางองค์กรยังแสดงให้เห็นอีกว่าแทนที่จะสร้างคำแนะนำเรื่องไขมันอิ่มตัวในอาหาร ควรจะแทนที่ด้วยไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่งมากกว่า “หลักฐานที่สรุปโดยทาง DGAC แนะนำว่าคำแนะนำที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดโรคหลอดเลือดหัวใจควรเป็นการลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่กินในแต่ละวัน โดยแทนที่ด้วยไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง” เพราะ”คาร์โบไฮเดรตทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าไขมันอิ่มตัว” ใช่ คุณอ่านถูกแล้ว ! นักกำหนดอาหารกำลังพูดว่าคาร์โบไฮเดรตแย่กว่าไขมันอิ่มตัวในการทำให้เกิดโรคหัวใจ !

เกลือ

ทางองค์กรต่อต้านคำแนะนำทั่วไปที่ว่าทุกคนควรกินอาหารที่มีเกลือต่ำ โดยพวกเขากล่าวว่ามีการแสดงให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นในคนที่มีสุขภาพปกติ อีกแง่หนึ่งคือเพียงแค่การลดปริมาณเกลือที่กินต่อวันลงนั้นดีต่อบางคน ไม่ได้หมายความว่าจะดีต่อทุกคน ซึ่งทาง American Association of Family physicians ก็เห็นด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*

แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท

คำแนะนำเพิ่มเติม

ทางองค์กรพยายามเน้นความสำคัญของคำแนะนำเรื่องรูปแบบการกินอาหาร สำหรับคนที่กินอาหารในกลุ่มนี้ (อาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำถูกพาดพิงเป็นพิเศษ) ก็ยังไม่มีคำแนะนำที่ชัดเจน และคนกลุ่มนี้ก็มักจะต้องคาดเดาด้วยตัวเองว่าอาหารใดที่ดีที่สุดสำหรับการจำกัดชนิดการกินอาหารของตนเอง ฉันคิดว่านี่อาจจะเห็นได้ชัดที่สุดในกลุ่มคนเป็นเบาหวาน นานมาแล้วที่คนเป็นเบาหวานได้รับการสนับสนุนให้กินอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แต่หากพวกเขาพบว่าจะควบคุมน้ำตาลได้ดีที่สุดโดยการกินอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำ พวกเขาก็มักจะต้องคาดเดาเอาเองว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง

ความคิดเห็น

ฉันไม่คิดว่าทาง DGAC จะยอมรับคำแนะนำของทางองค์กรโภชนาการและการกำหนดอาหาร อย่างน้อยก็ในช่วงเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ฉันรู้สึกว่ามีกำลังใจมากขึ้นจากพัฒนาการที่ว่า หากทางองค์กรสำหรับนักกำหนดอาหารที่ได้ลงทะเบียนไว้แล้ว* ตรวจสอบคำแนะนำอย่างรอบคอบ และเริ่มเห็นข้อดีของอาหารคาร์โบไฮเดรตต่ำและไขมันอิ่มตัว มันก็อาจจะเป็นลางดีสำหรับนักเรียนที่ศึกษาหัวข้อนี้ในรุ่นต่อไป เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วกลุ่มนักกำหนดอาหารดังกล่าวเป็นผู้สร้างรายการอาหารสำหรับโรงเรียน โรงพยาบาล และเรือนจำ เราสามารถเห็นพัฒนาการของอาหารที่คนกลุ่มนี้ได้รับในอนาคต นอกจากนี้ จะยังทำให้การแพร่กระจายข้อมูลเหล่านี้ของสื่อกว้างขวางขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อแนวทางการกินของประชาชนได้

ฉันหวังว่าสิ่งนี้จะเกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้


4 แหล่งข้อมูล
กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่
Food labels. NHS (National Health Service). (https://www.nhs.uk/live-well/eat-well/how-to-read-food-labels/)
Healthy diet. World Health Organization (WHO). (https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/healthy-diet)
Dietary fats explained. MedlinePlus. (https://medlineplus.gov/ency/patientinstructions/000104.htm)

บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

บทความต่อไป