โรคท้องร่วงเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุด โรคหนึ่งเป็นโรคที่คร่าชีวิตผู้ป่วยเด็กไปมากที่สุด ท้องร่วมอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้
- อาหารเป็นพิษ (Food poisoning)
- โรคไวรัส (Virus)
- โรคบักทีเรีย (Bacteria)
- โรคปาราสิต (Parasite)
อาหารเป็นพิษ
อาจเกิดจากเชื้อโรคหรือท๊อกซิน (สารพิษ) ที่สร้างโดยเชื้อโรคปะปนกับอาหาร หรืออาจเกิดจากตัวอาหารเองเป็นพิษ เช่น เห็ดพิษหรือเกิดจากการแพ้อาหารบางชนิดก็ได้ ทำให้เกิดอาการท้องร่วง ผู้ป่วยมักไม่มีไข้หรือมีไข้ต่ำ ๆ มีอาการคลื่นไส้ปวดมวนท้องและถ่ายเหลวเป็นน้ำ เป็นอยู่ราว 1-3 วัน และอาการจะค่อย ๆ หายเอง
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคไวรัส
จัดเป็นกลุ่มสาเหตุสำคัญของท้องร่วงเฉียบพลัน มักจะนำด้วยอาการไข้ต่ำ ๆ ไม่สบายเหมือนเป็นไข้หวัด และตามด้วยอาการท้องร่วงซึ่งมักจะร่วงอยู่ราว 48 ชม. และอาการจะค่อย ๆ ทุเลาจนหาย
บักทีเรีย
บักทีเรียหลายชนิดทำให้เกิดอาการท้องร่วงที่รุนแรงที่สุดได้แก่ เชื้ออหิวาตกโรคซึ่งทำให้เกิดการท้องร่วงอย่างมากจนร่างกายขาดน้ำเกิดอาการช๊อคและตายได้
โรคปาราสิต (พยาธิ) ของลำไส้
โรคปาราสิต เช่น พยาธิไส้เดือนกลม พยาธิปากขอ พยาธิแส้ม้า พยาธิเส้นด้าย ตลอดจนพยาธิตัวแบนเช่น พยาธิตืดวัว และตืดหมู ทำให้เกิดอาการปั่นป่วนในลำไส้และท้องร่วงได้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดท้องและถ่ายเหลวบ่อย ๆ ไม่มีไข้
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
โรคท้องร่วงที่ไม่รุนแรง จะมีอาการท้องร่วงไม่มากและการเสียน้ำจากร่างกายจะไม่มาก ร่างกายสามารถปรับตัวโดยดึงเอาน้ำจากเนื้อเยื่อเข้าไปชดเชยได้ จะไม่มีอาการแสดงอะไรมากนัก นอกจากโรคท้องร่วงที่เกิดในเด็กเล็กหรือในผู้ชรามากๆ ที่ไม่ทนต่อการขาดน้ำ ซึ่งแม้จะมีอาการท้องร่วงไม่มากนักก็อาจมีอาการแสดงมากจนถึงตายได้ โรคท้องร่วงที่อาการรุนแรงจะมีอาการแสดงตามจำนวนน้ำที่เสียออกไป เช่น การเสียน้ำไม่เกินร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัว อาการอาจยังปกติอยู่ การเสียน้ำร้อยละ 6-8 ของน้ำหนักตัวจะมีชีพจรเร็วเบาแรงดันเลือดต่ำ ผิวหนังเหี่ยวและผู้ป่วยยังคงนั่งได้ การเสียน้ำร้อยละ 10-12 ของน้ำหนักตัวผู้ป่วยจะนั่งไม่ไหวต้องนอน แรงดันเลือดต่ำมากจนวัดไม่ค่อยได้ ชีพจรเร็วมาก ผิวหนังเย็นชื้นและเหี่ยวมาก หายใจเร็ว ตาลึกโบ๋
การวินิจฉัยโรค มักจะได้จากประวัติของอาการและอาการแสดง ฤดูกาลและระยะระบาดของบางโรค การตรวจอุจจาระด้วยกล้องจุลทรรศน์และการเพาะเชื้อหาสาเหตุของโรค
การรักษา โรคท้องร่วงที่อาการไม่รุนแรงมากอาจหายเองได้ แต่ในรายที่รุนแรงหรือโรคท้องร่วง ในเด็กเล็กหรือผู้ชราสมควรจะต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อย่างไรก็ตามเมื่อเราทราบแล้วว่าอาการแสดงและอันตรายในผู้ป่วยท้องร่วงเกิดจากการเสียน้ำและเกลือแร่ไป การรักษาขั้นต้นจึงมีความสำคัญมาก การให้น้ำดื่มเกลือแร่แก่ผู้ป่วย เพื่อช่วยลดการขาดน้ำจะสามารถประทังชีวิตของผู้ป่วยไว้ได้ (โปรดศึกษาเรื่องการดื่มสารละลายเกลือแร่ในโรคท้องร่วง)
การป้องกัน เนื่องจากโรคท้องร่วงเป็นโรคที่เกิดจากการกิน การปรุงอาหาร การเก็บอาหารและลักษณะของการกินอาหารจึงมีความสำคัญมาก การช่วยกันจัดหาแหล่งน้ำสะอาดและป้องกันมลพิษของแหล่งน้ำจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่ยป้องกันการเกิดโรคได้
บทความที่เกี่ยวข้อง
วัคซีนโรตาไวรัส (Rotavirus vaccine)