เมื่อคุณเริ่มมีอาการเริ่มต้นของโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ เช่น มืออ่อนแรง จับสิ่งของไม่กระชับ มักไม่ปวด โดยอาการของโรคจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ขอแนะนำให้คุณไปพบแพทย์
ภายหลังการตรวจร่างกายโดยแพทย์ในเบื้องต้นแล้ว คุณอาจถูกส่งต่อไปพบแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านสมองและระบบประสาท (neurologist) เพื่อรับการตรวจเพิ่มเติมที่จำเป็นสำหรับการวินิจฉัยโรค
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
การวินิจฉัยโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการอาจทำได้ยากในช่วงระยะแรกของการเป็นโรค เพราะอาการหลายอาการในระยะแรกของโรคสามารถเกิดจากโรคอื่นๆ ได้เช่นกัน เช่น:
- เส้นประสาทถูกกดทับ- การสึกหรอของกระดูกภายในกระดูกสันหลังบางครั้งอาจเป็นสาเหตุให้เส้นประสาทถูกหนีบหรือถูกกดทับอยู่ภายใต้กระดูกสันหลัง
- ปลายประสาทอักเสบ (peripheral neuropathy)-คือสภาวะที่มีความเสียหายเกิดขึ้นที่ระบบประสาทบางส่วน อันเนื่องมาจากโรคอื่นๆ โดยโรคที่เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยคือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2
การตรวจโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการในระยะเริ่มต้น
โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการมักได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยา โดยอาศัยข้อมูลอาการของผู้ป่วยร่วมกับการตรวจร่างกายโดยแพทย์
ไม่มีการทดสอบเพียงการทดสอบเดียวสำหรับการวินิจฉัยโรคนี้ แต่โดยทั่วไปมักวินิจฉัยโรคนี้ได้จากอาการของผู้ป่วยที่เด่นชัดร่วมกับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
มีการทดสอบอื่นๆ อีกหลายการทดสอบที่จะช่วยแยกโรคอื่นๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของอาการที่ผู้ป่วยเป็น โดยการทดสอบอื่นๆ ได้แก่:
- การตรวจเลือด-การตรวจเลือดมีวัตถุประสงค์หลายอย่าง เช่น ตรวจหน้าที่การทำงานของอวัยวะภายใน เช่น ต่อมไทรอยด์ว่าทำงานปกติหรือไม่ หรือเพื่อตรวจดูสารบ่งชี้อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง (สารชื่อ creatinine kinase)
- การตรวจเอกซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging (MRI) scan)-เป็นการตรวจเพื่อให้ได้ภาพภายในสมองและไขสันหลัง
- การตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (electromyography (EMG))-เป็นการวัดคลื่นไฟฟ้าของกล้ามเนื้อว่าระบบประสาทสั่งการทำหน้าที่ได้ดีตามปกติหรือไม่
- การตรวจการชักนำประสาท (nerve conduction test)-คล้ายกับการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) แต่จะเป็นการวัดความเร็วในการชักนำสัญญาณไฟฟ้าของเส้นประสาท
- การเจาะน้ำไขสันหลัง (lumbar puncture)-คือการเจาะเอาน้ำไขสันหลังไปตรวจว่าเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบของเส้นประสาทหรือไม่
- การนำชิ้นกล้ามเนื้อไปตรวจ (muscle biopsy)-ในบางกรณีที่พบได้น้อย อาจมีการนำตัวอย่างชิ้นเนื้อจากผู้ป่วยไปตรวจดูว่ามีปัญหาเกิดขึ้นภายในกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาทหรือไม่
การยืนยันการวินิจฉัย
มีสาเหตุหลายประการที่อาจมีความล่าช้าในการวินิจฉัยโรคนี้ อาจเป็นไปได้ว่าอาการในระยะแรกอาจไม่ได้ร้ายแรงมาก หรืออาจไม่ได้คิดว่าอาการดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับระบบประสาท ทำให้ไม่ได้ปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาประสาทวิทยาในช่วงแรก
ในบางครั้งสามารถวินิจฉัยโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการได้อย่างชัดเจน โดยไม่ต้องอาศัยการตรวจใดๆ เพิ่มเติม อย่างไรก็ตามในการยืนยันการวินิจฉัยโรคบางครั้งอาจใช้เวลานาน แม้จะทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาก็ตม เพราะต้องใช้เวลาในการสังเกตอาการที่นานพอเพื่อให้เกิดความมั่นใจ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อาการของโรคลุกลามอย่างช้าๆ โรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการสามารถให้การวินิจฉัยได้เฉพาะในกรณีที่อาการของผู้ป่วยแย่ลงอย่างชัดเจน (โรคมีการลุกลามแย่ลง)
ปรึกษาเภสัช สั่งยา ฟรีค่าส่งทั่วประเทศ*
แชทกับเภสัชกรฟรี! 9 โมงเช้าถึงเที่ยงคืน พร้อมรับส่วนลดค่ายา 5% HDmall ออกค่าส่งให้สูงสุด 40 บาท
เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ
การได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการจะทำให้เกิดปัญหาทางอารมณ์ได้ โดยถือเป็นเรื่องที่ยากในช่วงแรกที่ทราบว่าตนเองเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยหลายคนที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคนี้จะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับความเศร้าโศกเสียใจ ได้แก่:
- การปฏิเสธ, ไม่ยอมรับ- คุณอาจไม่เชื่อในการวินิจฉัยของแพทย์ และคิดว่าคุณไม่ได้เป็นอะไรเลย หรือคิดว่าแพทย์ให้การวินิจฉัยผิดพลาด
- รู้สึกโกรธ-คุณอาจรู้สึกโกรธเพื่อน ครอบครัว หรือบุคลาการทางการแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณรู้สึกว่าการวินิจฉัยโรคของคุณช้าเกินควร
- การเจรจาต่อรองกับแพทย์-ในผู้ป่วยระยะท้ายๆ ของโรคอาจพยายามที่จะเจรจากับแพทย์ โดยขอให้แพทย์ให้การรักษาใดๆ ก็ได้เพื่อช่วยยืดอายุของผู้ป่วย
- ซึมเศร้า-คุณอาจรู้สึกขาดความสนใจในชีวิต และรู้สึกว่าสถานการณ์ที่คุณเผชิญอยู่นั้นสิ้นหวัง
- การยอมรับ-หมายถึงคุณยอมรับการวินิจฉัย และได้ผ่านช่วงที่ซึมเศร้าไปแล้ว ซึ่งคุณจะเริ่มต้นวางแผนถึงช่วงชีวิตที่เหลืออยู่ของคุณ
ถ้าคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเสื่อมของเซลล์ประสาทสั่งการ การพูดคุยกับผู้ให้คำปรึกษาหรือจิตแพทย์อาจช่วยให้คุณต่อสู้กับความรู้สึกซึมเศร้าและความรู้สึกวิตกกังวลได้
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่คุณจะมีความคิดเกี่ยวกับการใช้ชีวิตของตัวคุณเองหลังได้รับการวินิจฉัย แม้ว่าผู้ป่วยโรคนี้จำนวนน้อยมากที่จะทำเช่นนี้ และคุณไม่ควรกังวลเกี่ยวกับการพูดคุยปรึกษากับแพทย์ในประเด็นนี้
การรับประทานยาต้านซึมเศร้าหรือยาลดอาการวิตกกังวลอาจมีประโยชน์เพื่อช่วยให้คุณก้าวผ่านช่วงเวลาที่เศร้าโศกเสียใจไปได้ และทีมแพทย์ที่ดูแลคุณจะให้คำแนะนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้